
ในการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แล้วยังมี ประเพณีภาคตะวันออก ที่เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่น่าสนใจต่าง ๆ ซี่งในแต่ละภาคนั้นล้วนแต่มี ประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาคซึ่งจะเป็นการบ่งบอกถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของภูมิภาคนั้น ๆ ซึ่งส่งต่อมาในรูปแบบรุ่นสู่รุ่น เป็นการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยที่บางวัฒนธรรนั้นได้เลือนรางหายไปทางยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านไป ซึ่งการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นไปถึงจุดนั้น แล้วได้มีการอนุรักษณ์สืบทอดเพื่อส่งต่อถึงคนรุ่นหลัง
ประเพณีภาคตะวันออก วิถีชีวิตของคนในอดีตที่ส่งผ่านมาในรูปแบบของ ประเพณี พื้นบ้าน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ประเพณีภาคตะวันออก เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชุมชนนั้น ๆ ที่ได้สืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ซึ่งโดยมากแล้วจะมีการกำหนดเวลาจัดในแต่ละปีที่ค่อนข้างแน่นอน แต่ในปัจจุบันในช่วงที่วิกฤตโควิดกำลังระบาดอยู่นั้น บางเทศกาลก็ได้มีการเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนดอย่างเช่น งานวันไหลของจังหวัดชลบุรี งานเค้าท์ดาวน์ที่จะเกิดขึ้นที่แหลมแท่นบางแสนเพื่อส่งท้ายปี 2020 นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทศกาลที่ได้ถูกยกเลิกปีนี้เป็นปีแรก แต่ตามปกติแล้วมีการจัดงานกิจกรรมนี้อย่างคับคั่ง และ ครึกครื้นมาก
ประเพณีภาคตะวันออก เทศกาลที่โดดเด่นของภาคตะวันออก
เทศกาลวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี
เป็นจังหวัดที่ติดทะเลที่หลายท่านนั้นให้ความนิยมในการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งมีชายหาดที่สวยงามหลายหาด มีถนนคนเดิน มีเกาะสวย ๆ มีชื่อเสียง ถึง 2 เกาะด้วยกัน และยังมี ประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงชลบุรีเพียงเท่านั้นได้แก่ งานวิ่งควาย เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี จัดขึ้นทุกปีช่วงเดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายน โดยสมัยก่อนการเดินทางของคนในอดีตนั้นนิยมใช้ควายเทียมเกวียน จึงได้มีคิดประเพณีนี้ขึ้นมาซึ่งนอกจากนำควายมาวิ่งแล้วยังมีการประกวดสุขภาพควายอีกด้วย และมีการจัดซุ้มขายของการละเล่นต่าง ๆ มากมาย
เทศกาลงานก่อพระเจดีย์ทรายวันไหลที่ชายหาดบางแสนชลบุรี
อีกหนึ่ง ประเพณีภาคตะวันออก ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะจัดในช่วงวันที่ 16 และ 17 เมษายน ในทุก ๆ ปี ซึ่งติดกับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งบางแสนนั้นจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ยาวนานติดต่อกันถึง 5 วัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 13 – 15 ในเทศกาลสงกรานต์ตามปกติ และจะมีวันไหลในวันที่ 16 และ 17 ซึ่งนอกจากการเล่นน้ำแล้ว ยังมีการแข่งขันประกวดเจดีย์พระทรายที่มีความสวยงานอลังการเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ก็จะมีการชกมวยทะเล ที่เป็นการละเล่นในสมัยโบราญ มีการจัดร้านค้านำของกินของใช้มาขายกันอย่างล้นหลาม
เทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธรของจังหวัดฉะเชิงเทรา
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักหลวงพ่อโสธร ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรวิหาร ในจังหวัดฉะเขิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่าแปดริ้ว ซึ่งเป็นการส่งเสริมขนมธรรมเนียมประเพณีโบราญ 1 ปีจะจัดถึงสามครั้งด้วยกัน โดยกำหนดตามการนับวันตามจันทรคติ คือ
- งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
- งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน
- งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน
โดยในงานนั้นจะมีกิจกรรมมากมาย ทั้งการร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธร มีการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา และยังมีการจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อทั้งทั่วฟ้าเมืองไทย มีร้านอาหาร การละเล่นต่าง ๆ มากมาย ถือเป็น ประเพณีภาคตะวันออก ที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทราได้เป็นอย่างดี
สรุป
การท่องเที่ยวในปัจจุบัน นอกจากจะท่องเที่ยวตามเทศกาลตาม ประเพณี ของไทยแล้วยังมี ประเพณีภาคตะวันออก ที่ได้รับการสนใจจากนักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่เทศกาลของภาคตะวันออกนั้นจะจัดงานกันอย่างยิ่งใหญ่อลังการ จนเหมือนว่าเป็นการปิดเมืองเพื่อจัดเทศกาลนั้นไปเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั้นก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี