โอท็อป สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าโอท็อป สินค้าเด่นประจำภาคตะวันออก

โอท็อป สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าโอท็อป สินค้าเด่นประจำภาคตะวันออก

โครงการ โอท็อป หรือหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นโครงการที่จะช่วยเสริมสร้างราฐของสังคมให้เข้มแข็ง โดยที่รัฐนั้นมีหน้าที่คอยสนับสนุนให้ความรู้ คอยมอบเทคโนโลยี และเงินทุนที่จะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าของชุมชน จนกลายมาเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองว่ามีประสิทธิภาพตรงตามที่รัฐตั้งไว้ ซึ่งโครงงานนี้นั้นช่วยให้ชาวบ้านนั้นมีอาชีพกันเพิ่มมากขึ้นจากการที่ใช้ของที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นของตนเองมาสร้างให้เป็น สินค้าโอท็อป ที่ได้รับความนิยมตามท้องตลอดในทุกวันนี้

โอท็อป โครงการที่ช่วยยกระดับสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดระดับประเทศ

จากแนวคิด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นแนวคิดหลักของ โอท็อป ซึ่งจะเน้นไปที่การสร้างรายได้ขึ้นมาจากการสร้างผลิตภัณฑ์ ที่เป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาในแต่ละชุมชน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนในชุมชนนั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เพื่อจะสร้างให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องมีการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหารายได้ ดังเช่นในอดีตที่มีความเชื่อว่าเมื่อโตขึ้นต้องเข้ามาหางานในกรุงเทพ โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อล้มล้างแนวคิดนั้นให้หายไปจากชุมชน ซึ่งมีหลักการพื้นฐาน สินค้าโอท็อป ในการดำเนินการดังนี้

ภูมิปัญหาท้องถิ่นสู่สากล เป็นการใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่นและพัฒนาให้ได้รับความยอมรับในระดับสากล พึ่งพาตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นการที่ทำให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการร่วมมือกันของคนในชุมชน สร้างทรัพยากรมนุษย์ สร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในความคิดและทักษะ

วัตถุประสงค์หลักของโครงการ หนี่งตำบล หนึ่งผลิดภัณฑ์

เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในปี 2544 นั้นจึงทำให้ ณ ปัจจุบันนี้อาจมีบางส่วนได้ถูกแก้ไข ตามยุคตามสมัย แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ยังคงไม่เปลี่ยนไปนั้นก็คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ยังคงยึดมั่นในแนวทางเดิมเพื่อนที่จะพัฒนาสินค้าของชุมชนให้สามารถไปได้ไกลจนถึงระดับที่สามารถส่งออกได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการ โอท็อป นี้ ตั้งแต่แรกเริ่มนั้นมีดังนี้

  • ส่งเสริมภูมิปัญหาท้องถิ่น
  • สร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน
  • ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ของคนในชุมชน เพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น 
  • สร้างพื้นฐานความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนให้สามารถคิดเอง ทำเอง ยืนหยัดด้วยตัวเองในชุมชนได้
  • ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรณมนุษย์

สินค้าโอท็อป ที่ขึ้นชื่อจากภาคตะวันออก

อัญมณี จากจันทบุรี

จันทบุรี นั้นขึ้นชื่อเลยว่าเป็นเมืองหลวงของอัญมณี ซึ่งจังหวัดจันทบุรีนั้นเป็นที่ตั้งของเหมืองพลอยขนาดใหญ่ และได้มีการหาพลอยมาตั้งแต่ในอดีตร โดยในปัจจุบันนั้นพลอยในพื้นที่ได้ลดน้อยลงไปมากแล้วตามกาลเวลานั้นจึงทำให้ได้มีการนำเข้าพลอยจากต่างประเทศมาเพื่อเจียระไนเพื่อมาค้าขายในตลาดพลอย ซึ่งก็ได้รับความต้องการในท้องตลาดเป็นอย่างมากเพราะพลอยจากเมืองจันฯ นั้นได้รับความร่ำลือไปไกลถึงต่างประเทศ ถึงคุณภาพที่เหนือคำบรรยายของพลอย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ โอท็อป ของจันทบุรี

เครื่องจักสาน จากชลบุรี

ชลบุรีไม่ได้มีดีแค่ข้าวหลามหนองมน อย่างที่คนส่วนมากได้กล่าวขานไว้ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ถูกยกให้เป็นผลิตภัณฑ์ โอท็อป ของชลบุรีที่จริงแล้วนั่นก็คือเครื่องจักรสานนั่นเอง ซึ่งเครื่องจักสานของชนบุรีนั้นที่ขึ้นชื่อที่สุดคงไม้พ้นเครื่องจักสานจาก ชุมชนจักสานพนัสนิคม ที่ตั้งอยู่ที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งเครื่องจักสานของชลบุรีนั้นเป็นภูมิปัญหาที่มีการสืบต่อมารุ่นสู่รุ่น เพื่อดำรงไว้ไม่ให้เสื่อมหายไป ซึ่งในชุมชนแห่งนี้จะมีเครื่องจักสานมากมายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นตะกร้า กะด้ง หมวก ฯลฯ

อาหารทะเลแปรรูป จากรองยอง

ระยองเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย ซึ่งสิ่งที่ขึ้นชื่ออย่างเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือ อาหารทะเลแปรรูป ซึ่งระยองนั้นเป็นจังหวัดที่มีการทำการประมงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และการขายอาหารทะเลก็เป็นวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงที่ได้ทำกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ซึ่งเมื่อมีโครงการ โอท็อป ขึ้นมา ก็เลยมีการประยุกต์เอาอาหารทะเลที่จับได้สด ๆ จากท้องทะเล มาทำการแปรรูปเพื่อเพิ่มคุณค่าให้สามารถนำมาขายออกสู่ตลาดในรูปแบบของ สินค้าโอท็อป ซึ่งระยองก็ทำออกมาได้อย่างดี มีการส่งออกอาหารทะเลจะระยองไปสู่ท้องตลาดทั่วประเทศ

สรุป

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( โอท็อป ) นั้นเป็นโครงการที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้แต่ละชุมชนนั้นมีรายได้ ไม่จำเป็นต้องระหก ระเหินไปทำงานไกลดั่งในอดีตร สามารถทำอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แถมยังสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้