ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี มีประวัติยาวนานหลาย 10 ปี

ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี ที่น่าเข้าร่วม มรดกทางวัฒนธรรมที่คงเหลือไว้ใน “ศรีราชา”

ในจังหวัดชลบุรีนั้นมีประเพณีที่จัดทำขึ้นมากมายแต่ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี  ที่ชาวบ้านเลือกปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน เพื่อให้ ประเพณีกองข้าว อนุรักษ์ไว้ให้อยู่ยืนยาว สืบทอดต่อไปยังลูกหลานต่อไป จะทำกิจกรรมหลังวันสงกรานต์ เลยไปประมาณ 3-4 วัน ชาวบ้านได้ชักชวน นำอาหารคาวและหวานไปที่ชายทะเล แบ่งอาหารคนละเล็กละน้อยใส่กระทงรวมกันไว้ริมหาด จากนั้นจะทำการจุดธูปเทียนแล้วร้องเชิญภูตผีปีศาจที่หิวกระหายมากินอาหารเสร็จแล้วก็ตั้งวงรับประทานอาหารร่วมกัน หลังจากจบพิธีชาวบ้านจะไม่ให้เลือกกลับบ้าน

ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี มีลักษณะการทำกิจกรรมอย่างไร

ซึ่งวัฒนธรรมนี้จะทำกิจกรรมกันที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของจังหวัด เมื่อถึงวันมีงาน ประเพณีกองข้าว ประจำปี คนทำกิจกรรมส่วนมากคือ ผู้หญิงวัยกลางคนที่จะมาร่วมเข้าร่วมกิจกรรม 

  • นำผ้าแดงมาแขวนไว้รอบศาลหลักเมือง จัดเสื่อปูไหว้เจ้าที่ เทพารักษ์ และเจ้าพ่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ประเพณีกองข้าว อนุรักษ์ไว้ให้อยู่ยืนยาว ถือว่าเป็นความเชื่อที่คนพื้นที่ให้การยอมรับ
  • จากนั้นได้นำขันทองเหลืองมา 3-4 ใบ คว่ำลงและวางเรียงกัน พร้อมหมอนที่วางไว้ด้านหลังของขันทองเหลืองแต่ละใบ ห่างกันประมาณ 1 เมตร โดยของไหว้ต่างๆที่นำมาสักการะจะเป็น หัวหมู ขนมต้นขาว ขนมต้นแดง บายศรีปากชาม โดยส่วนประกอบต่างๆ จะนำมาจัดโตกตั้งไว้บนที่ตั้งทางขึ้นบันไดด้านหน้าศาลหลักเมือง 
  • จากนั้นจะการรอรับของสักการะที่ชาวบ้านนำมาถวาย และไปวางไว้ที่ด้านหน้ารูปเจว็ด เวลาที่ร่วมทำประเพณีจะอยู่ที่ 09.30 น บรรดาผู้หญิงวัยกลางคนที่ทำพิธี ประเพณีกองข้าว ของชาวศรีราชา จะมานั่งฝั่งตรงข้ามกับวงพิณพาทย์ แล้วจะทำการตีกรับตามจังหวะทำนองไปด้วย 
  • เมื่อเพลงจบคนต้นบทจะนำร้องใหม่และลูกคู่ก็จะร้องเพลงตามไปด้วย ในเนื้อพลงจะมีการเรียก “พ่อ” มีใจความสำคัญคือเป็นการเชิญเจ้าพร้อมคำเยินยอ เร่งเร้าและตัดพ้อ ส่วนใหญ่เนื้อเพลงจะลงท้ายด้วยคำที่มีสระไอทั้งหมด ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี ถือว่าเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวศรีราชาเป็นอย่างมาก

โดย ประเพณีกองข้าว ประจำเมืองชลบุรี นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่อำนวยพรให้ผู้มีความมีจิตศรัทธา ที่ได้นำอาหารมากราบไว้เป็นของสักการะ ให้มีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายไม่ติดขัด ได้กำไรงาม ถ้าปลูกพืชก็งอกเงยให้มีผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมากๆ ออกทะเลทำประมงหาปลาก็ขอให้จับปลาได้มาก ๆ ปลอดภัยจากอันตรายและสิ่งไม่ดีทั้งปวง ประเพณีกองข้าว ของชาวศรีราชา ชาวบ้านจะทำพิธีเชิญเจ้าเข้าทรงนี้ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน โดยจะทำกิจกรรมกันในช่วงเช้าจนถึงเวลาใกล้เที่ยงของแต่ละวัน