ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเภณีที่สำคัญของจังหวัดสระแก้ว

เป็นประเพณีจากความริเริ่มของผู้นำท้องถิ่น โดยกำนันวรชัย ลบพื้น และนายอุดม โสภี ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลเขาสามสิบ และชาวบ้านตำบลเขาสามสิบ ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวแม่โพสพขึ้นมา ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพของเกษตรกรที่มีความผูกพันธ์กับคนไทยมาช้านาน อีกทั้งเป็นการบำรุงขวัญของเกษตรกรโดยให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมและเกิดความรักความสามัคคี มีกำลังใจพัฒนาอาชีพการทำนาให้มีความเจริญต่อไป ประเพณีนีบายศรีสู่ขวัญข้าวนับว่าเป็นประเพณีดั้งเดิม มาจากฮีต 12 ครอง 14 ที่เป็นจารีตประเพณีทั้ง 12 เดือนของคนลาว ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา ในประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวนั้นในบางท้องถิ่นจะเรียกว่า บุญคูณลาน (แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) บุญกองข้าว (แถบภาคตะวันออก) ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว การทำบายศรีสู่ขวัญข้าวนั้น จังหวัดสระแก้วได้จัดขึ้นทุกปีเพราะเชื่อว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวเป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณีและอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวนาตำบลเขาสามสิบ และอีกทั้งยังเป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว เพื่อความสิริมงคล ทั้งนี้ด้วยวิถีชีวิตในการยังชีพของคนไทยนั้น ต้องบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวจึงผูกพันกับชีวิตคนไทยมานานนับหลายศตวรรษ และคนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่าแม่โพสพ ประจำอยู่ในต้นข้าว คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป โดยกิจกรรมในภายในบายศรีสู่ขวัญข้าวตำบลเขาสามสิบ จะมีขบวนแห่ที่มีการตกแต่งด้วยรวงข้าวอย่างสวยงาม มีทั้งหมดถึง 13 ขบวนด้วยกัน
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา เป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ ซึ่งต่างจังหวัดสระแก้วร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังมีความเชื่อกันว่าจะทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์ตลอดปีและตลอดไป ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว ที่ควรสืบทอด โดยทุกหมู่บ้านจะตกแต่งขบวนรถกันอย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีขบวนเซิ้ง นางรำ เพื่อมาประกวดกันอีกด้วย โดยอัญเชิญรูปหล่อแม่โพสพมาไว้ตรงกลางประจำพิธี เพื่อประกอบพิธีสงฆ์ พิธีบายศรี ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว ตำบลเขาสามสิบ ซึ่งการทำบายศรีสู่ขวัญข้าวนั้น จะทำก่อนนำข้าวเปลือกเก็บใส่ยุ้ง หรือเปิดยุ้ง หรือนำข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเพื่อหุงรับประทาน โดยชาวนาจะนำข้าวที่ได้นวดเสร็จเรียบร้อยแล้ว มากองรวมกันหรือว่านำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่างๆ ให้สวยงาม ประดับเป็นกองข้าวต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว เพื่อความสิริมงคล หลังจากเสร็จพิธีบายศรีข้าวแล้ว ในงามยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่นับว่าเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป แถมยังได้ร่วมรับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกด้วย และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ภายในงานนั้นได้มีการจัดกิจกรรมให้ชาวบ้านได้ร่วมประกวดหลากหลายกิจกรรมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
- การจัดประกวดพันธุ์ข้าว
- การประกวดตกแต่งขบวนรถแห่
- การประกวดทำบายศรี
- การออกร้านแสดงสินค้าพื้นบ้านนวัตกรรม
- ยานยนต์การแสดงสินค้าเครื่องจักร อีกทั้งยังมีการจัดประกวดนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงการจัดการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านให้กชาวบ้านทุกคนได้ร่วมสนุกสนานด้วยกัน ตลอดจนบริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวนับว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นของตำบลเขาสามสิบ ที่ได้มีการจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว สำหรับการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นการบูชาขอขมาและขอบคุณพระแม่โพสพ ที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะกระทำในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวนาจะนำข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกัน หรือนำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่าง ๆ ประดับกองข้าวต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ โดยเชื่อว่าหากไม่ทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนนั้น จะก่อให้เกิดความไม่สบายใจ นาข้าวในฤดูการผลิตต่อไปจะล่ม ผลผลิตจะไม่ดี ดังนั้น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว นับว่าเป็นประเพณีที่จัดกันมาอย่างยาวนานนับหลายสิบปี เป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนาเลยก็ว่าได้ รวมถึงเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวของสระแก้ว ที่ควรสืบทอด ต่อๆ กันไป ซึ่งเราขอบอกเลยว่าเป็นอีกประเพณีที่น่าสนใจและน่าร่วมสนุกด้วยเป็นอย่างมาก