ประเพณีชักพระบาท ประเพณีอันงดงามของจันทบุรี

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ของชุมชนโบราณ

ประเพณีชักพระบาท เป็นประเพณีของชาวจันทบุรี ในตำบลตะปอน ซึ่งถือเป็นชุมชนเก่าแก่ของอำเภอขลึง ในอดีตผู้คนแถบนี้ประกอบอาชีพทำนาและประมง ต่อมาก็หันมาปลูกพืชผักผลไม้ แต่ยังคงรักษาสภาพความเป็นอยู่แบบเก่า โดยสังเกตได้จากตัวอาคารบ้านเรือนที่ยังคงรักษารูปแบบโบราณไว้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นชุมชนเก่าแก่จึงไม่แปลกที่ตำบลตะปอนจะมีประเพณี วัฒธรรม และการละเล่นแบบโบราณที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านในตำบลตะปอนจะมีการแห่พระบาท มีงานบุญที่ทำร่วมกันที่วัด เมื่อเสร็จงานบุญ ทุกคนก็จะร่วมกันเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท 

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าที่มาพร้อมกับความเชื่อ

ประเพณีชักพระบาท ความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ตามความเชื่อของคนในสมัยก่อนเชื่อว่า “รอยพระบาท” สามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ระบาดในหมู่บ้านได้ ซึ่งในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร ปีใดมีโรคระบาดก็จะทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ชาวบ้านก็จะนำพระบาทจำลองออกแห่ ในการแห่นี้จะม้วนผ้าให้กลมแล้วเอาผ้าห่อข้างนอกอีกหลายชั้นหลังจากนั้นก็นำไปใส่ไว้บนเกวียน พร้อมทั้งประดับเกวียนที่บรรทุกพระบาทจำลองให้สวยงาม และจะมีคนตีกลองนั่งอยู่บนเกวียนนั้นด้วย การแห่พระบาทจะแห่ไปตามที่ต่างๆ ที่สามารถนำเกวียนไปได้ ถ้าบ้านใดมีผู้คนเจ็บป่วยมากก็จะอัญเชิญพระบาทจำลองนี้ขึ้นไปบนบ้าน มีพระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ไปทั่วๆ โรคภัยไข้เจ็บนั้นก็จะหายหรือเบาบางลง ต่อมาเมื่อการแพทย์เริ่มเจริญขึ้น โรคระบาดน้อยลง การแห่พระบาทจำลองก็เปลี่ยนแปลงไป คือเปลี่ยนจากแห่มาเป็นชักกะเย่อแทน จึงถือว่า ประเพณีชักพระบาท มาจากการแห่พระบาทในสมัยก่อน โดย ประเพณีชักพระบาท ถือเอาวันสำคัญหลังสงกรานต์ ประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ในการชักกะเย่อนี้จะให้ชายและหญิงอยู่คนละข้าง โดยผูกเชือกติดอยู่กับเกวียน ขณะที่ทั้งสองฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองที่อยู่บนเกวียนจะตีกลองรัว จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายชนะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเพราะสามารถลากพระบาทได้ 

ฝ่ายแพ้ก็จะขอแก้ลำใหม่ เพื่อต้องการชนะบ้าง ถือเป็นเรื่องสนุกสนาน หลังจากวันสงกรานต์ชาวบ้านจะนำรอยพระบาทไปบำเพ็ญตามแยกทางเข้าหมู่บ้านต่างๆ แห่งละ 1-2 วัน นับตั้งแต่หมูบ้านตะปอนน้อยไปจนถึงหมู่บ้านหนองเสม็ด เพื่อเป็นการฉลองรอยพระบาท หลังสวดพุทธมนต์ ประชาชนจะนำเกวียนที่มีรอยพระบาทนั้นมาชักเย่อ เช้าวันรุ่งขึ้นจะมีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นอันเสร็จพิธี ระยะเวลาที่ชาวบ้านนำรอยพระบาทไปทำพิธีตามสถานที่ต่างๆในตำบลตะปอน ใช้เวลาร่วม 1 เดือน ถือได้ว่ารอยพระบาทจำลองนี้เป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลของชาวตบ้านตำบลตะปอน

การเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทเป็นการเล่นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ ดังนี้

  • ลักษณะการเล่นที่แข่งชักเย่อตัวเกวียน ซึ่งเป็นยานพาหนะสำคัญที่ใช้ในสมัยโบราณ ไม่พบเห็นในประเทศอื่น ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย
  • การบรรทุกผ้าพระบาท ที่มีรอยพระพุทธบาทจำลองของพระพุทธเจ้าไว้บนเกวียน ขณะทำการเล่นเป็นกีฬาที่พัฒนามาจากพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ แฝงด้วยความเชื่อและค่านิยม ที่ส่งเสริมการทำความดีตามหลักพุทธศาสนา มีความหมายและความสำคัญยิ่งค่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
  • การเล่นที่มีการตีกลองเร่งเร้าให้จังหวะประกอบการเล่น สร้างความสนุกสนาน คึกคัก เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้ทั้งผู้เล่น และผู้ชม ถือเป็นลักษณะการเล่นที่โดดเด่นเฉพาะท้องถิ่น

ประเพณีชักพระบาท ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ เพราะสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล สามารถเดินทางได้ถึงจังหวัดทางภาคใต้ได้ไม่ยากนัก แต่ลักษณะการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันน่าจะมาจากสภาพลักษณะภูมิประเทศ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ และวิถีชีวิต สังเกตได้จากทางใต้นั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพทำการประมง จึงใช้เรือเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง การประกอบอาชีพ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ส่วนจังหวัดจันทบุรีนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตมีการนำเกวียนมาบรรทุกพืชผลทางการเกษตร และเป็นพาหนะในการเดินทาง จึงได้นำเกวียนมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีที่เป็นสิริมงคลต่อชาวบ้าน

การแห่พระพุทธบาทและการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท เป็นความเชื่อความศรัทธาของชาวตำบลตะปอนและตำบลใกล้เคียงมาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี  ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ ที่เป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้าน หากใครได้จูงหรือชักเย่อเกวียนพระบาทได้ปีละ 3 ครั้ง ก็จะประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความโชคดี ไม่มีโรคภัย นอกจากนี้การแห่ผ้าพระบาทตามหมู่บ้านต่างๆ จะไปสิ้นสุดวันสุดท้ายคือ วันที่ 30 เมษายน ที่บ้านป่าคั่น นับว่าเป็นตำบลที่ทำบุญสงกรานต์ยาวนานที่สุดในประเทศ ดังนั้น ประเพณีชักพระบาท ถือเป็นประเพณีที่ชาวตำบลตะปอนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เป็นประเพณีที่หนึ่งปีมีครั้งเดียว ถือเป็นสิริมงคลต่อชีวิตของชาวบ้านในตำบลเป็นอย่างมาก

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

hilospec.com แค่สมัครสมาชิกกับเว็บไฮโลของเรา แบบไม่ต้องฝาก โปรโมชั่นเติมเงิน โปรโมชั่นถอนเงิน ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ หรือจะเป็นโบนัสเงินรางวัลจากการเล่น ยิ่งเล่นเยอะยิ่งได้เงินเยอะ แถมเรายังมีโปรโมชั่นสำหรับคนที่เชิญเพื่อนยิ่งเชิญเพื่อนเยอะยิ่งได้เงินจากการเล่นเดิมพันเยอะ