ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีในเทศกาลออกพรรษา

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอยพระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน ที่สำคัญ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า ประเพณีไหลเรือไฟ บางที่เรียกว่า ” ล่องเรือไฟ ” ” ลอยเรือไฟ ” หรือ”ปล่อยเรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษา ประเพณีไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาอย่างช้านาน 

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่มาพร้อมกับหลากหลายความเชื่อ

ไหลเรือไฟ ประเพณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเชื่อที่หลากหลายจากคนในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกนอกจาก ประเพณีไหลเรือไฟ บูชาพระพุทธเจ้า ยังมีความเชื่ออีกมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ประเพณีไหลเรือไฟ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์  
  • ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ได้ทรงตัดพระเกศแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระอินทร์ได้นำเอาผอบมารับไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ จะได้อานิสงส์ไปเกิดร่วมพระศาสนากับพระศรีอริยะเมตไตย 
  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน

เชื่อว่า ประเพณีไหลเรือไฟจะทำให้ฝนในปีต่อไปดี เพราะการไหลเรือไฟเป็นการปล่อยไฟลงในแม่น้ำ ทำให้พญานาคที่อยู่ในน้ำได้รับความร้อนแล้วหอบน้ำหนีขึ้นไปอยู่บนฟ้า  พอถึงเดือน ๖ น้ำในโลกมนุษย์จะแห้ง ผู้คนเดือดร้อน จึงพากันจุดบั้งไฟขึ้นไป พญาแถนจะสั่งให้พญานาคนำน้ำที่หอบขึ้นมา ไปคืนให้โลกมนุษย์ โดยตกลงมาเป็นฝน

  • ด้านความเชื่อในการเอาไฟเผาความทุกข์

 เชื่อว่า เมื่อชาวบ้านมีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้น จะมีการบูชาไฟ แล้วเอาไฟเผาความทุกข์นั้นให้ลอยไปตามน้ำ และน้ำจะพาเอาความทุกข์ที่ถูกเผานั้นให้จากไปได้ การไหลเรือไฟจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาไฟด้วย   

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา  

เชื่อว่า การรู้จักบุญคุณ และการตอบแทนคุณ เป็นเครื่องหมายของคนดี ประเพณีไหลเรือไฟ  กระทำเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของน้ำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เพราะเราได้อาศัยน้ำ จากพระแม่คงคา ทั้งกินทั้งใช้มาตลอดปี ยิ่งกว่านั้นยังถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย เท่ากับขาดความคารวะแม่คงคา จึงสมควรขอขมาลาโทษต่อท่าน  

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้า   

 มีตำนานเล่าขานกันว่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 คือ บันไดทอง  อยู่เบื้องขวาเป็นที่ลงแห่งเหล่าเทพยดา  บันไดเงิน เบื้องซ้ายเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม  และบันไดแก้ว ตรงกลาง เป็นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า  หัวบันไดอยู่ยอดเขาพระสิเนรุราช เชิงบันไดอยู่เมืองสังกัสสะนคร ทรงแสดงโลกนิวรณ์ปฏิหาริย์ คือ เปิดโลกโดยทอดพระเนตรไปเบื้องบนถึงพรหมโลก  เบื้องต่ำถึงอเวจีนรก  ทำให้ทิศต่าง ๆ ทั้ง 8 ทิศ ในโลกธาตุแห่งหมื่นจักรวาล  แลเห็นเป็นลานอันเดียวกัน  จึงเรียกวันนี้ว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” มนุษย์ทั้งหลายได้รับเสด็จด้วยเครื่องสักการะมโหฬาร

  • ด้านความเชื่อในการสักการะท้าวพกาพรหม เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ โดยมีนิทานชาวบ้านเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มีกาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่บนต้นไม้ป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บินจากรังไปหากิน เผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ก็บินหายไป กาตัวเมียซึ่งกำลังกกไข่อยู่ 5 ฟอง คอยผัวไม่เห็นกลับก็กระวนกระวายใจ จนอยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุใหญ่พัดรังกาพัง ฟองไข่ก็ตกลงไปในน้ำ ส่วนแม่กาถูกน้ำพัดไปทางหนึ่ง ครั้งลมสงบ  แม่กากลับมารังไม่เห็นฟองไข่ก็เสียใจ ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดใหม่ บนพรหมโลก ชื่อ ท้าวพกาพรหม ส่วนไข่ทั้ง 5  ฟอง ถูกลมพัดลอยไปตามแม่น้ำ และถูกคลื่นซัดขึ้นตลิ่งแต่ไม่แตกและไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน ครั้นแล้วฟองไข่ทั้ง 5 นี้ก็มีผู้นำไปรักษาไว้ คือ ฟองที่ 1 แม่ไก่เอาไป  ฟองที่ 2 แม่นาคเอาไป  ฟองที่ 3 แม่เต่าเอาไป  ฟองที่ 4  แม่โคเอาไป  ส่วนฟองที่ 5 แม่ราชสีห์เอาไป  ครั้งฟองไข่ทั้ง 5 ถึงกำหนดฟักแตกออกมาไม่เป็นลูกกา แต่เป็นมนุษย์ ครั้งเติบโตขึ้นและเห็นโทษของความเป็นฆราวาสและเห็นอานิสงส์แห่งบรรพชา จึงลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 ได้พบกัน จึงไต่ถามเรื่องราวของกันและกัน ฤาษีทั้ง ๕ จึงพร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา ด้วยแรงอธิษฐาน จึงร้อนไปถึงท้าวพกาพรหม ท้าวพกาพรหมเสด็จจากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือกบินมาเกาะบนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง 5  แล้วเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง แล้วกล่าวต่อไปว่า “ถ้าคิดถึงมารดา เมื่อวันเพ็ญเดือน 11 และเดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชา  ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่า “คิดถึงมารดา” บอกเสร็จ ท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป ตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็พากันลอยกระทง ไหลเรือไฟ เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีอันเก่าแก่ที่ประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่

ถึงแม้ ประเพณีไหลเรือไฟ จะเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน แต่ในปัจจุบัน ประเพณีไหลเรือไฟ มีการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่มากขึ้น วิธีทำเรือไฟมีการนำเอาเทคโนโลยีแนวใหม่ๆ  เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริงๆ  แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันดีเซล แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น โดยการประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะ ประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

สมัครบาคาร่า sa-game.bet เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เราคือ คาสิโนออนไลน์ ตัวแทนโดยตรงจาก SA gaming ในนามของ SA-Game เรามีบริการหลากหลายในเกมพนัน ไม่ว่าจะเป็น บาคาร่าออนไลน์ , เสือมังกรออนไลน์ , รูเล็ตออนไลน์ ให้ท่านได้เล่นอย่างจุใจผ่านระบบออนไลน์ Live Steam (ไลฟ์สด)