ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ประเพณีที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

คติความเชื่อของ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ โดยมีหลักฐานความเชื่อเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา มาจากคติความเชื่อเรื่องผีในการขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด จึงเกิดเป็น ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีอันเก่าแก่

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีขอบคุณภูตผี ขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ เป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและเสริมสวัสดิมงคล ความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่ง ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีที่แปลกกว่าประเพณีอื่นๆ โดยจัดนอกวัด ชาวบ้านจะเลือกเอาสถานที่จัดบริเวณลานกว้างในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานด้วยกัน เป็นการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน โดยมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็น การสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกระทงกระบานใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณในการสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี โดย ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน  ดังนี้

  • ตั้งปะรำปูพื้น ขึงผ้าม่าน บางแห่งปูพื้นด้วยแผ่นไม้ บางแห่งใช้เสื่อโดยเลือกสถานที่ที่เป็นที่ว่าง กลางหมู่บ้านหรือกลางท้องนา 
  • การกำหนดสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น บางปีนํ้าท่วมขังก็ย้ายที่ใหม่
  • จัดที่ตั้งพระพุทธ บางแห่งอาจมีการแห่พระพุทธรูปมาประดิษฐานด้วย ที่วางบาตรนํ้ามนต์ บางสถานที่จะจัดตั้งศาลเพียงตา บางแห่งจะใช้เพียงต้นเสา 1 ต้น วางไม้พาดเป็นตัวที เรียกว่า ศาลเทวดา ไว้สำหรับไหว้บรรพบุรุษ หรือเจ้าที่ โดยส่วนใหญ่จะทำนอกปะรำพิธีสงฆ์
  •  ตอนเย็นนิมนต์พระ 9  รูป หรือมากกว่านี้มาสวดมนต์เย็นชาวบ้านจะมาฟังสวดมนต์ ในบางแห่งที่ชุมชนมีเชื้อสายไทย  จะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง หลังจากพระสวดจบ 1 บท แต่ในบางแห่ง เป็นการสวดมนต์ธรรมดาไม่มีการตีฆ้อง สำหรับการละเล่นนั้น หลังเลิกสวดมนต์แล้วบางแห่งก็มีบางแห่งก็ไม่มี การละเล่น ก็คือ หมอลำลิเก รำวง 
  •  เช้าวันรุ่งขึ้น นิมนต์พระมาฉันเช้า ชาวบ้านจะนำอาหารมารวมกันตักแบ่งถวายพระ บางแห่งอาจมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย การเตรียมอาหารแล้วศรัทธาของแต่ละบุคคลบางพื้นที่อาจตกลงกันว่าใครจะทำอะไรก็ได้ 
  • บางพื้นที่อาจะมีการทำกระทงด้วยใบตองใส่ลงไปในกระทงกาบกล้วยที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนสมาชิกในบ้านรวมไปถึง วัว ควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ด้วย บางแห่งไม่ใส่ข้าวขาว มักใส่สตางค์ลงไปด้วยแล้วจุดธูปปักลงในกระทงบางแห่งจุดดอกเดียว บางแห่งก็สุดแล้วแต่จำนวนกระทง เสร็จแล้วนำกระทงนี้ไปวางไว้ทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จแล้ว ท่านจะนำนํ้ามาองค์ละ 1 แก้ว ยืนเป็นวงกลมแล้วราดลงไปในกระทง บางแห่งอุทิศให้คนอยู่บางแห่งอุทิศให้คนตาย เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือโคก 
  • หลังเสร็จพิธี ชาวบ้านจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน โดยจะไต่ถามถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ  ซึ่งกันและกัน บางพื้นที่มีความเชื่อจะต้องรับประทานให้หมด ไม่นำกลับบ้าน เช่น ที่ชุมชนบ้านหน้าพระธาตุ แต่โดยปกติเมื่อเหลือมักตักแบ่งกันไป หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้าน การใส่บาตร จะทำที่วางบาตรไว้โดยใช้ผ้าหรือทำที่ใส่บาตรเฉพาะ โดยนำมาวางเรียงกันไว้เมื่อพระสวดพาหุง 8 ทิศ ชาวบ้านจึงเริ่มใส่บาตรได้ การกำหนดวันจะกระทำกันในราวเดือน 3-6  โดยผู้เฒ่าผู้แก่หรือชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ จะถือเอาวันว่างและสะดวก ชาวชลบุรีมีความเชื่อซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่อธิบายว่า ข้าวดำ ข้าวแดง โบราณว่า เป็นอาหารของผีกิน ข้าวดำ ใช้ข้าวผสมรวมกับก้นกระทะ ข้าวแดง ใช้ข้าวผสมกับปูนกินหมาก หรือขมิ้น ผักพร่าปลายำ ใช้นํ้าพริกอะไรก็ได้หั่นผักบุ้งละเอียด ๆ ผสมรวมกันลงไปใส่ปลาด้วย การหยาดนํ้าของพระสงฆ์ในกระทง หมายถึง เป็นการส่งผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย ขึ้นสวรรค์ ในการกรวดนํ้าพระจะสวดบท ภุมมัสสิง ทิสา ภาเค… การที่กระทำบุญในเดือน ๓ กลางเดือน โบราณว่าเป็นวัน “กบไม่มีปาก นาคไม่มีก้นขี้”หมายความว่า กบร้องที่ไหน คนก็จะตามเสียงร้องนั้นไปและไปจับมากิน พญานาคเมื่อกินอาหารแล้วไม่ถ่ายออกมาก็ไม่หิว อาหารก็จะเหลืออยู่ ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้ทำบุญเดือน 3 กลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์เหลือกินเหลือใช้

ประเพณีบุญกลางบ้าน หลากหลายเชื้อชาติหนึ่งประเพณี

ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานของชาวชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่มีชุมชนที่มาจากเชื้อชาติต่าง ๆ มาอยู่ร่วมกันทั้งคนไทย คนลาว และชาวจีนที่มาอยู่ในคราวซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ประเพณีบุญกลางบ้าน ในแต่ละแห่งจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ยังคงความเป็นประเพณีดั้งเดิมอยู่ เพราะ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ อย่างไรก็ตาม งานบุญกลางบ้านนั้นมีมาแล้วนับร้อยปีและยังคงดำรงสืบทอดต่อๆ กันมาโดยตลอด

 

 

 

 

 

https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด โดยมีลูกค้าจากทั่วโลกให้ความสนใจใช้บริการเล่นพนันอย่างมากมาย ด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานระดับสากล