ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของได้ว่าของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริง ในการที่จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ประกวดประชันการบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ควายของใครสมบูรณ์กว่ากัน จึงถือเป็น ประเพณีของท้องถิ่นที่สือบทอดกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีเก่าแก่กว่า 100 ปี

“ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักรสานดี ประเพณีวิ่งควาย”  จากคำขวัญจังหวัดชลบุรีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คงจะเห็นแล้วว่า ประเพณีวิ่งควาย ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี ถึงขั้นที่มีอยู่ในคำขวัญจังหวัดเลยทีเดียว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี ถือเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 11 และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำในทุก ๆ ปี และจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มี ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีที่สะท้อนความเป็นอยู่ของพุทธศาสนิกชน โดยเกิดจาก ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนทุกคนจะต้องเดินทางมาวัดเพื่อทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะและ เมื่อก่อนถึงวันออกพรรษาชาวไร่ชาวสวนจะนำสินค้าในสวนของตนออกมาจำหน่ายอาทิ กล้วย มะพร้าว ใบตอง ข้าวเหนียว เป็นต้น และเนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีรถที่จะใช้บรรทุกสินค้ามาขายเหมือนในปัจจุบันจึงต้องนำสินค้าเดินทางมาด้วยเกวียน โดยใช้ควายลากมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านเพื่อไปทำข้าวต้มหางและกับข้าวอื่นๆ  นำไปใส่บาตรและถวายแด่พระสงฆ์เมื่อเดินทางมาถึงก็จะนำควายของตนไปพักอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งในสมัยนั้นรอบๆ ตัวเมืองชลบุรี มีวัดติดต่อเรียงรายกันเป็นแถวกว่า 10 วัด และในแต่ละวัดจะมีลานกว้างขวางไม่มีอาคารร้านค้าในบริเวณวัด จึงทำให้เกวียนเมื่อบรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมือง จึงพักเกวียนตามลานวัดสุดแท้แต่ที่จะสะดวกและใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขายด้วย และเอกชนแห่งหนึ่งข้างวัดต้นสนและเป็นที่พักเกวียนเพื่อถ่ายสินค้าเรียกกันว่า ตลาดท่าเกวียน เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาสิ่งของที่ต้องการ จนเสร็จแล้วก็จะถือโอกาสนี้พบปะพูดคุยกันจูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายสืบมาเป็นวิ่งควายรอบๆตลาด ด้วยความสนุกสนานในปีต่อๆ มาก็เพิ่มการตกแต่งควายให้สวยงามด้วยผ้าแพรและลูกปัดอย่างสวยงาม เพื่อแสดงถึงความใส่ใจและการดูแลควายของตัวเองเป็นอย่างดี และเป็นการทำขวัญควายไปในตัว เช่น ทำถุงสวมเขาควายตกแต่งเชือกจูงควายปฏักเฆี่ยนควายทำฉบังแต่งหน้าควายและเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตพิสดารไปตามความคิดของตน มีการพบปะ เลี้ยงดู ร่วมกับบรรดาชาวนาผู้ร่วมอาชีพ ตลอดจนประกวดความสมบูรณ์ สวยงามของควายที่ตกแต่งมา นับเป็นการสนองคุณของควายให้มีความสุขตามอัตภาพและได้พักผ่อนจากงานหนักในไร่นา จนกลายเป็น ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของชาวไร่ชาวสวน

ประเพณีวิ่งควาย

ในระยะหลังๆ แม้จะไม่ได้ใช้เกวียนในการบรรทุกสินค้ามาตลาดเหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงเทศกาลวิ่งควายก็ยังนำควายเข้ามาวิ่งเป็นประจำ นำควายมาพักตามลานวัดต่าง ๆ สุดแท้แต่จะสะดวก ลานวัดเกือบทุกวัดจึงเป็นลานสำหรับพักควายวิ่ง เชื่อกันว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายมากผิดปกติ นอกจากนี้ควายที่เจ็บป่วยระหว่างปี เจ้าของควายก็จะบนบานให้หายแล้วนามาร่วมในประเพณีนี้ด้วย คนไทยโบราณเป็นคนที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตา และมีเมตตาธรรม หลังจากได้ใช้ควายไถนาและ ทำงานในท้องนาอย่างเหน็ดเหนื่อยมาหลายเดือน จนทำให้การวิ่งควายสืบทอดมาเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันสถานที่วัดมีการก่อสร้างของอาคารบ้านเรือนจึงทำให้ลานวัดคับแคบลงทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันวิ่งควายได้ จึงได้ทำการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันวิ่งควายมาวิ่งที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีและเทศบาลเมืองชลบุรีได้เล็งเห็นถึงประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นการจรรโลงสร้างสรรค์สืบสานและนิยมยึดถือปฏิบัตสืบเนื่องกันมาจนเป็นแบบแผนมาเท่าทุกวันนี้

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย หนึ่งความภาคภูมิใจของชาวชลบุรี 

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่งสำหรับ ประเพณีวิ่งควาย ของชาวชลบุรีคือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2455 ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีพระยาวิเศษฤาไชยได้จัดวิ่งควายถวายทอดพระเนตร ที่หน้าศาลากลาวงจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันดังกล่าวชาวนาจะตกแต่วงควายของตนอย่างสวยงามให้ดูแปลกตาและเป็นที่น่าสนใจ มีการจัดขบวนควายที่มีคนขี่บนหลังเป็นแถวเดินไปตามท้องถนน เป็นการแสดงให้ผู้คนได้เห็นและเกิดความสนใจ  รวมถึงมีการแข่งวิ่งควายด้วย โดยการแข่งวิ่งควายไม่ได้มุ่งแพ้ชนะเป็นสำคัญแต่การได้เข้าร่วมประเพณีและความสนุกสนานเป็นสิ่งสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด ถือว่า ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี และถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เพราะมีประเพณีนี้ ที่เดียวในโลก

 

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

https://ufaball.bet เราคือผู้ให้บริการการพนันอันไร้ขอบเขตของเหล่านักพนันที่ชื่นชอบการเดิมพัน และการเสี่ยงทายในโชคตนเอง เรามีบริการทั้ง แทงบอลออนไลน์ หรือ คาสิโนออนไลน์ ไว้บริการเต็มรูปแบบครบวงใจในที่นี้ที่เดียว