ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

การสืบทอดงาน ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ของชาวลาวเวียงที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว มาอาศัยในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีมากว่าสองร้อยปีแล้ว ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีในฤดูก็บเกี่ยวข้าว ว่ากันว่าในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) พอถึงเดือนสาม ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านก็จะพร้อมใจไปกันไปทำบุญ ด้วยการนำข้าวใหม่ มีกลิ่นหอม ไปทำข้าวหลามเผาให้สุกหอม ในกระบอกไม้ไผ่สีสุก สมัยนั้นชาวบ้านนำข้าวหลามไปถวายพระที่วัดหนองบัวและวัดหนองแหน พร้อมกับถวายขนมจีนน้ำยาป่าด้วย

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ความศรัทธาในพุทธศาสนา

การมาเป็น ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม มีความสืบเนื่องมาจากความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวลาวเวียง ที่เขาดงยาง วัดสุวรรณคีรีในปัจจุบัน บนยอดเขามีรอยพระพุทธบาท ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเดินเท้าเพื่อขึ้นไปสักการะปิดทอง ซึ่งการเดินทางต้องเดินเท้าผ่านป่าระยะทาง 5-6 กิโลเมตร ชาวบ้านจึงได้ทำการเผาข้าวหลามกันในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 เพื่อนำไปถวายพระและเป็นเสบียงสำหรับการเดินทางไปทำบุญในเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา การเดินเท้าในระยะทาง 5-6 กิโลเมตร เพื่อไปทำบุญ ได้แสดงให้เห็นว่า ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา 

ปัจจุบัน ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามจัดขึ้น 2 แห่งในวันเดียวกัน คือที่วัดสุวรรณคีรี (วัดเขาดงยาง) อำเภอพนมสารคาม และที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว การจัดในอีกชุมชนนั้นมีความน่าสนใจ จากการยอมรับประเพณีของอีกชุมชนหนึ่ง เกิดมาจากว่าชาวลาวเวียงได้ใช้เส้นทางอำเภอแปลงยาวไปยังเขาดงยาง แล้วต้องผ่านชุมชนหัวสำโรง ซึ่งเป็นบ้านเรือนของชาวไทยเชื้อสายเขมร ต่อมาบุญข้าวหลามจึงเป็นประเพณีของชุมชนหัวสำโรงด้วย โดยการจัดงานใน 2 ชุมชนมีรูปแบบแตกต่างกัน งานประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามของอำเภอพนมสารคาม จัดขึ้นที่วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ลักษณะเป็นงานวัด มีการออกร้านที่มีร้านค้าจำนวนมากนำสินค้ามาขาย หนึ่งในสินค้าเด่นคือข้าวหลาม มีการจัดเตรียมสถานที่บริเวณทางขึ้นเขาดงยางให้คนมาไหว้พระทำบุญบริจาค ถวายสังฆทาน มีการตกแต่งทำกระเช้าลอยฟ้าขนาดใหญ่ สามารถชักรอกขึ้นไปยังซุ้มประตูตรงบันไดทางขึ้นเขาที่มีรูปปั้นราหูขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า  ทางวัดเรียกกระเช้านี้ว่า ผ้าป่า ลอยฟ้า เว่ากันว่าสมัยก่อนบนเขาดงยางมีเพียงวิหารหลังเดียวเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูป เวลานั้นยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ทางขึ้นเขาเป็นดินยังไม่มีบันได ต่อมาได้เกิดไฟไหม้วิหารเดิม จึงได้ยกเอารอยพระพุทธบาทอันเดิมกับพระพุทธรูปที่คงเหลือลงมาไว้ข้างล่าง ในเวลาต่อๆมาจึงได้มีสิ่งก่อสร้างใหม่  กลายเป็นวัดสุวรรณคีรี ที่บนเขามีวิหารพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีวิหารพระพุทธชินราช มีการสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ รวมถึงมีรูปเคารพและรูปปั้นอื่นๆ

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น จากเดิมการเผาข้าวหลามคือเสบียงในการเดินเท้าของชาวบ้านที่อยู่ไกลออกไป  พอมีถนนทำให้ไม่ต้องเดินมา  จึงไม่ได้เผาข้าวหลามกันเหมือนเดิม เมื่อก่อนจากที่ต้องเดินเท้ามาวัด ต่อมาก็ได้ใช้จักรยาน มอเตอร์ไซค์ ปัจจุบันใช้รถยนต์  อีกสิ่งหนึ่งของการจัดงานที่เปลี่ยนไปคือ เมื่อก่อนเคยมีการแสดงลิเก ฉายภาพยนตร์ รำวง เนื่องจากใช้งบเยอะ กรรมการวัดต้องช่วยกันออกเงิน ประกอบกับท่านเจ้าอาวาสท่านเห็นว่า การจ้างการแสดงต้องใช้เงินทำบุญจ่ายไปด้วย ถือเป็นการสิ้นเปลืองจึงได้งดไป ส่วนการจัดงานที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง ริเริ่มการสืบสานงานประเพณีโดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหัวสำโรง ชาวบ้านในชุมชนหัวสำโรงในปัจจุบันก็ไม่เผาข้าวหลามมาถวายพระ จากเดิมช่วงที่เผาข้าวหลามตามบ้าน จะมองเห็นควันโขมงเต็มไปหมด จุดเปลี่ยนสำคัญคือ การเกิดนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์เมื่อประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมา คนหนุ่มสาวเข้าไปทำงานโรงงาน ให้คนเฒ่าคนแก่เลี้ยงหลานอยู่บ้าน มองกันว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่กระทบกับวิถีชีวิต  ส่งผลต่อทัศนคติความคิด ความเชื่อเรื่องผิดผี การเลี้ยงผีหายไป ทัศนคติของคู่รักเปลี่ยนไป ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวอย่างซับซ้อน การสืบสานงานประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามในปัจจุบัน จึงเริ่มที่ อ.แปลงยาวจะเป็นงานใหญ่ มีขบวนแห่รถตกแต่งข้าวหลามยักษ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความอลังการกับขบวนผู้เข้าร่วม ทั้งขบวนม้า รถม้า จักรยานเสือภูเขา มอเตอร์ไซด์โบราณและชอปเปอร์ ขบวนแห่ตั้งแถวกันที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง รอช่วงบ่ายหลังจากจบกิจกรรมในงานช่วงเช้า ขบวนจะเคลื่อนไปตามถนน ไปยังเขาดงยาง วัดสุวรรณคีรี โดยขบวนแห่ที่จะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองจะไปพร้อมกับผ้าป่าที่ไปถวายวัด สิ่งที่โดดเด่นของงานคือ การจัดให้มีการเผาข้าวหลาม โดยให้ชุมชนต่างๆเข้าร่วม นำข้าวหลามมาเผาในเตาเดียวกัน วางเรียงกันเป็นแนวยาว ตามการประชาสัมพันธ์ว่า เป็นเตาเผาข้าวหลามที่ยาวที่สุดในโลก วิธีการทำข้าวหลามเริ่มจากการหาไม้ไผ่มาทำเป็นกระบอกข้าวหลาม ต้องเลือกลำไม้ไผ่สีสุกให้พอดีไม่อ่อนไม่แก่ ไม่มีตามด  ซึ่งจะทำให้ไม่มีเยื่อไผ่  ส่งผลให้กลิ่นไม่ดีและข้าวจะติดกับกระบอกไม้ไผ่  จากนั้นนำมาเลื่อยเป็นท่อนๆด้านที่เป็นข้อต่อจะเป็นก้นกระบอก จากนั้นนำข้าวเหนียวผสมกับกะทิใส่ลงกระบอกไป แล้วเผาให้สุก

ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีที่ชาวบ้านรอคอย

แม้ว่าประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง มากแค่ไหน แต่บรรยากาศภายในงานในทุกๆปีก็ยังคงมีความคึกคัก เนื่องจากชาวบ้านตั้งหน้าตั้งตารอคอยประเพณีอันเก่าแก่นี้ ที่จัดขึ้นเพียวปีละ 1 ครั้ง ถือเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สร้างความเพลิดเพลินและความสมัครสมานสามัคคีให้แก่คนชุมชนเป็นอย่างมาก ควรแค่แก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง

อ่านบทความอื่น ๆ >> กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทยสืบทอดจากบรรพบุรุษ

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !