สืบสาน งานประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี  ที่ควรอนุรักษณ์ใว้

งานประเพณีกองข้าว

สำหรับประเพณีกองข้าว เทศบาลเมืองศรีราชานั้น เป็นการ สืบสาน งานประเพณีกองข้าว ท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี ซึ่งชาวบ้านจะนัดหมายกันนำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวาน มากองรวมกัน และเชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่ทำอันตราย ต่อชีวิตและครอบครัว หรือทรัพย์สินของตนเอง หลังพิธีเซ่นไหว้ การ สืบสานงานประเพณีกองข้าว ความเชื่อ  ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหาร มีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสนาน  และทุกคนจะไม่นำอาหารทั้งหมดที่เหลือ กลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์ทั่วไป

สืบสาน งานประเพณีกองข้าว วัฒนธรรมเก่าแก่ ที่อยู่คู่ชาวชลบุรี ศรีราชา มาอย่างช้านาน

เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆกันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ สืบสานงานประเพณีกองข้าว ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่งกลายเป็นประเพณี เอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด สืบสานงานประเพณีกองข้าว  ชลบุรี  เริ่มแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี

  • ในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชาของทุกปีชาวบ้านจะนัดหมายกันมา นำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันและเชิญภูติผีทั้งหลายมากินปีละ ครั้ง โดยเชื่อว่าภูติผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเองหลัง พิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสาน มีเกล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์ เทศบาลเมืองศรีราชา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานประเพณีกองข้าว นอกจากการกองข้าวอันเป็นหัวใจของงานแล้ว ยังได้เพิ่มกิจกรรม เพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นสีสันของงาน ไม่ว่าจะเป็น รำวงย้อนยุค มวยตับจาก เพลงพื้นบ้าน ดนตรีไทยประยุกต์ ประกวดเทพีกองข้าว กีฬาพื้นบ้าน และซุ้มอาหารไทย ฯ
  • การจัด สืบสานงานประเพณีกองข้าว ศรีราชา  เป็นการสนับสนุน ส่งเสริม ฟื้นฟู และอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น   ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อว่า “ งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ” โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมรณรงค์ให้เด็กเยาวชน และประชาชน ได้เกิดจิตสำนึก ในความเป็นคนไทย ที่มีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกายที่ดี ให้ดำรงสืบทอดต่อไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย ประเพณีกองข้าวจึงได้รับการยกระดับปรับตัวให้เป็นเอกลักษณ์ประเพณีที่โดดเด่น ชาวศรีราชาทุกคน มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมและอนุรักษ์ประเพณีกองข้าว ซึ่งนับได้ว่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่เหลือเพียงแห่งเดียวในโลก คือที่ ศรีราชา ซึ่งมีลักษณะกิจกรรมดังนี้ เมื่อถึงวันงานกองข้าว บรรดาลูกช้างของเจ้า ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงวัยกลางคน จะมาพร้อมกันยังศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อนำผ้าแดงมาแขวนเป็นระบายรอบศาล จัดปูเสื่อด้านหน้าที่ตั้งเจว็ดรูปเทพารักษ์ต่างๆ หลายรูป และมีชื่อเรียกว่าเจ้าพ่อชื่อต่าง ๆ กันแล้วจึงนำขันทองเหลือง 3-4 ใบ ที่เตรียมไว้มาคว่ำลง วางเรียงกันเป็นระยะ และวางหมอนไว้ด้านหลังห่างจากขันแต่ละใบประมาณ 1 เมตร จัดที่ให้พวกพิณพาทย์นั่งอยู่ด้านหนึ่งของศาล แล้วนำหัวหมู ขนมต้นขาว ขนมต้นแดง บายศรีปากชาม ซึ่งจัดใส่โตกมาตั้งไว้บนที่ตั้งซึ่งอยู่ทางบันไดขึ้นด้านหน้าศาล และรอรับหัวหมู บายศรี บอกเลยว่าเป็นงานที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอกัน 
งานประเพณีกองข้าว
  • ประเพณีกองข้าวศรีราชา ในปัจจุบันได้กำหนดให้การประกอบพิธีบวงสรวง จัดทำศาลเพียงตา เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ขนมต้มข้าว ขนมต้มแดง อาหารคาวหวาน ประจำท้องถิ่น คือ ฮือแช่ ก๋วยเตี๋ยวบก งบปิ้ง ขนมเต่า นมกับถั่ว ข้าวสวย และมีบายศรีปากชาม พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีอัญเชิญเทพเทวดาอารักษ์ และภูตผีปีศาจเพื่อมารับเครื่องเซ่นไหว้ โดยจุดธูปคนละ 9 ดอก เซ่นไหว้ร่วมกันเมื่อเสร็จพิธีก็ทำบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อเสร็จพิธีกรรม สืบสานงานประเพณีกองข้าว ความเชื่อ ชาวบ้านก็ล้อมวงรับประทานในสำรับ ร่มกันร้องรำทำเพลง ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านก็นำอาหารที่เหลืออยู่ในสำรับทิ้งไว้ ให้ทานแก่สัตว์ โดยจะไม่นำกลับบ้านเด็ดขาด ขั้นตอนการปฏิบัติที่ควรแก่การอนุรักษ์เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ลูกหลานเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความสามัคคีให้ทุกคนในชุมชน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์ให้กับชาวศรีราชา

สืบสานงานประเพณีกองข้าว นับว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวศรีราชา  ที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจบัน โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี ดังนั้นการ สืบสานประเพณีกองข้าว ชลบุรี จึงควรที่จะอนุรักษ์ใว้

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย