สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก ของไทย ให้ดังไกลไปทั่วโลก

คุณเคยสงสัยไหมว่าวัฒนธรรมไทย 4 ภาคมีอะไรบ้าง  ในบทความนี้เราจะพูดถึงการ สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก รวมถึงการใช้ชีวิต , ความเป็นอยู่ , อาหารการกิน และประเพณีภาคตะวันออกตั้งแต่ดั้งเดิม ที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น มีจุดเด่นที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ?

สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก

วัฒนธรรมภาคตะวันออกมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?

เราสามารถช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออกด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมภาคตะวันออกว่ามีอะไรบ้าง ? ประเพณีภาคตะวันออกแสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะวัฒนธรรมภาคตะวันออกเกี่ยวกับอาหารประจำท้องถิ่น อาชีพ สภาพภูมิอากาศ การท่องเที่ยว และอื่น ๆ 

วิถีชีวิตของคนภาคตะวันออกในประเทศไทย

“ภาคตะวันออก” เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง เป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก วัฒนธรรมภาคตะวันออกโดดเด่นในเรื่องอาหาร มีเมนูอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ในแต่ละท้องที่ได้เป็นอย่างดี เช่น แกงหมูชะมวง แกงส้มผักกระชับ และปูไข่ตะกายดาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตผลไม้เมืองร้อนอย่าง ทุเรียน , มังคุด  , สับปะรด ,  เงาะ และลำไย อีกด้วย

สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานมีอะไรบ้าง ?

ภาคตะวันออกมีประเพณีสืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นค่อนข้างชัดเจน ภาคตะวันออกมีทั้งหมด 7 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดจันทบุรี , จังหวัดฉะเชิงเทรา , จังหวัดชลบุรี , จังหวัดตราด , จังหวัดปราจีนบุรี  , จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว ซึ่งแต่ละจังหวัดมีวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่แตกต่างกัน ดังนี้

สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก
  • เทศกาลวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี

“เทศกาลวิ่งควาย” เป็นประเพณีสืบสานวัฒนธรรมของภาคตะวันออก ประจำจังหวัดชลบุรี เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนภาคตะวันออกได้เป็นอย่างดี งานวิ่งควายเป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่จัดขึ้นทุกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ภายในงานมีการจัดประกวดควายสวยงาม สุขภาพดี และมีการแข่งขันวิ่งควาย นอกจากนี้ยังมีการจัดซุ้มขายของประจำท้องถิ่นอีกด้วย

สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก
  • เทศกาลงานก่อพระเจดีย์ทรายวันไหล หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี

“งานก่อพระเจดีย์ทรายวันไหล” เป็นอีกหนึ่งประเพณีภาคตะวันออกที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะจัดช่วงหลังสงกรานต์ในวันที่ 16-17 เมษายนของทุกปี ภายในงานมีการประกวดเจดีย์พระทรายและชกมวยทะเล ซึ่งเป็นการละเล่นตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีร้านค้ามากมายที่ออกมาจำหน่ายของกินของใช้ รวมถึงของฝาก ให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

  • งานชักพระบาท จังหวัดจันทบุรี

“งานชักพระบาท” เป็นประเพณีสืบสานวัฒนธรรมของภาคตะวันออก ที่จัดขึ้นหลังสงกรานต์เพียง 1 วัน โดยจะจัดขึ้นทุกวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ภายในงานมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ มีการแห่เกวียนพระบาทไปยังหมู่บ้านของตน ชาวบ้านจะช่วยกันลากเกวียนไปตลอดทาง สร้างความสนุกสนานให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี

  • งานบวงสรวงศาลหลักเมือง จังหวัดสระแก้ว

พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นประเพณีสืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ภายในงานมีการออกร้าน รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สาธิตการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน และทำพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับคนในพื้นที่ เรียกได้ว่าเป็นประเพณีภาคตะวันออกแบบดั้งเดิม ที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน

สืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออก
  • งานทอดผ้าป่ากลางน้ำ จังหวัดระยอง

ปิดท้ายกันด้วยงานทอดผ้าป่ากลางน้ำ ของจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นประเพณีสืบสานวัฒนธรรมภาคตะวันออกที่มีมานานกว่า 100 ปี ภายในงานจะมีการนำพุ่มผ้าป่าที่ถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ หลังจากนั้นจะมีการนิมนต์พระมาชักผ้าป่าตามประเพณีของชาวจังหวัดระยอง ส่วนประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีก็จะพายเรือเข้าร่วมกลางแม่น้ำด้วยเช่นเดียวกัน หลังจากเสร็จพิธีจะมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น การแข่งพายเรือ แข่งพายกะโล่ และแข่งพายเรือลำไม้ไผ่ เป็นต้น 

บทส่งท้าย

ทั้งหมดนี้คือประเพณีสืบสานวัฒนธรรมของภาคตะวันออก ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น และปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การเที่ยวในงานเทศกาลประจำจังหวัดเช่นนี้ ไม่ได้ให้แค่ความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ยังถือว่าเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนในพื้นที่อีกด้วย

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย