
ประเพณีภาคตะวันออก หนึ่งใน ประเพณี ของประเทศไทยที่น่าสนใจและดังไกลไปทั่วโลก
ประเพณีภาคตะวันออก เป็นอีกหนึ่งแหล่งวัฒนธรรมประจำชาติไทยที่คนทั่วโลกรู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ประเพณี วันไหลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือการแข่งขันวิ่งควายของจังหวัดชลบุรีเป็นต้น นอกจากที่จังหวัดชลบุรีแล้วยังมีจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกของไทยที่มีงานเทศกาลที่สะท้อนขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมอันดีงานของชาติอีกมากมาย วันนี้มาเรียนรู้และทำความรู้จักกัน
ประเพณีภาคตะวันออก ของประเทศไทยทั้งหมด 7 จังหวัด
ประเพณีภาคตะวันออก ของไทยมีทั้งหมด 7 จังหวัดประกอบไปด้วยจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว แต่ละจังหวัดมีความน่าสนใจในเรื่องของ ประเพณี ท้องถิ่นประจำจังหวัดมากมาย เช่น งานประเพณีกองข้าว ประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมือง และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยใน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง งานแห่บั้งไฟ ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เป็นต้น
คำว่า “ประเพณี” มีความหมายว่าอย่างไร
หมายความถึง ระเบียบแบบแผนการพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยอมรับและถูกยึดถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามปฏิบัติต่อๆ กันมาเป็นเวลานมนาม ถ้าคนใดในสังคมฝ่าฝืนแนวทางที่เคยประพฤติกันมา จะถูกสังคมตำหนิซึ่งอาจจะรวมถึงในบางกรณีที่เป็นความผิดตามกฎหมายบ้านเมืองได้อีกด้วย โดย ประเพณีภาคตะวันออก ของประเทศไทยมักมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความเชื่อในทางศาสนาเป็นหลักโดยเฉพาะศาสนาพุทธและความเชื่อแบบพราหมณ์โบราณ
ประเพณีภาคตะวันออก ของแต่ละจังหวัดมีอะไรน่าเที่ยวน่าเรียนรู้บ้าง
สำหรับ ประเพณีภาคตะวันออก ของไทยทั้ง 7 จังหวัดวันนี้จะแนะนำเฉพาะในส่วนที่ปัจจุบันกลายเป็นงานอีเว้น งานเทศกาลที่ผู้ตนนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นพิเศษ และนักท่องเที่ยวควรไปเรียนรู้ทั้งไทยทั้งเทศ ประกอบไปด้วย
1.จังหวัดจันทบุรี
งานชักพระบาท ของชาวหมู่บ้านตะปอนพระบาทจำลองของวัดตะปอนน้อยโดยงานนี้จะถูกจัดขึ้นหลังวันสงกรานต์ 1 วันประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี เป็นการชักเย่อระหว่างชายและหญิง โดยจะใช้เชือกผูกติดเกวียนโดยมีคนตีกลองอยู่บนเกวียนถือเป็นตัวแทยของพาหนะที่ขนพระบาทไปทำพิธีอย่างเช่นในโบราณ เมื่อการชักเย่อเริ่มขึ้น ผู้ตีกลองจะตีรัวจนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายชนะถือว่าเป็นสิริมงคลเพราะสามารถลากพระบาทได้
2.จังหวัดฉะเชิงเทรา
งานขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยประเพณีนี้สืบถอดมาจากชาวลาวที่อพยพมาอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทุกคนเรียกว่า “ชาวลาวเวียง” เป็นการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโดยจะจัดงานทุกปีในเดือนมีนาคมขึ้น 15 ค่ำเนื่องจากเป็นช่วงเวลาแห่ง ประเพณี การเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนา พิธีนี้จึงถูกจัดขึ้นและสืบทอดมาหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน
3.จังหวัดชลบุรี
งานกองข้าว เป็นงานเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประมาณวันที่ 19-21 เมษายนของทุกปีเพื่อเป็นการบวงสรวงและเซ่นสังเวยผี การสาธิต ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิต มีการออกร้านจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ภายในงานจะมีริ้วขบวนแต่งตัวด้วยชุดไทยเดินบริเวณบริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลศรีราชา และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชา จังหวัดชลบุรี
4.จังหวัดตราด
งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยใน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปีช่วงวันที่ 17-23 ณ บริเวณอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ฝั่งอำเภอแหลมงอบ โดยทางจังหวัด อำเภอแหลมงอบและกองทัพเรือ จังหวัดตราดร่วมกันจัดงานเพื่อน้อมรำลึกถึงเกียรติคุณของนายทหารเรือไทยที่เสียชีวิตในการทำยุทธนาวีที่เกาะช้างหรือการสู้รบทางน้ำระหว่างกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือฝรั่งเศส โดยในงานจะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลและลอยมาลาสักการะดวงวิญญาณทหารเรือที่เสียชีวิต พร้อมทั้งการออกร้านต่างๆ นิทรรศการของส่วนราชการพร้อมกับการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
5.จังหวัดปราจีนบุรี
งานแห่บั้งไฟ เป็นงานที่ไม่คิดว่าจะมีการจัดขึ้นในภาคตะวันออกแต่ก็มีการจัดซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาคือวันวิสาขบูชาของทุกปี ที่วัดมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีการจุดบั้งไฟขึ้นสูง ประกวดลำเซิ้งของขบวนแห่บั้งไฟ และงานมหรสพสมโภชออกร้านมากมาย
6.จังหวัดระยอง
งานทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นงานที่มีอายุมากกว่า 100 ปี โดยประชาชนจะนำพุ่มผ้าป่าที่ทำงานไม้ต้นฝาดหรือต้นโปรงพืชที่ขึ้นกลางน้ำพร้อมประดับตกแต่งให้สวยงาม ไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรม ประเพณี ในทางพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์ต้องถูกนิมนต์ลงเรือไปยังพุ่มผ้าป่ากลางลำน้ำประแสร์ ส่วนประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีก็จะพายเรือ แจวเรือเข้าร่วมพิธีกลางลำน้ำนั้น หลังเสร็จจากพิธีสงฆ์ ชาวบ้านจะมีการแข่งขันและเล่นกีฬาทางน้ำกันมากมายไม่ว่าจะเป็น การแข่งเรือพาย แข่งพายกะโล่ แข่งพายเรือข้ามลำไม้ไผ่ แข่งชกมวยทะเล เป็นต้น
7.จังหวัดสระแก้ว
งานบวงสรวงศาลหลักเมือง และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี มีการออกร้าน ทำพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง มีการแสดงของเยาวชนภายในจังหวัดสระแก้ว สาธิตการละเล่นและกีฬาพื้นเมือง และพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในพื้นที่ แค่ ประเพณีภาคตะวันออก ภาคเดียวของไทยเที่ยวให้ครบก็ไม่ต้องหนีไปเที่ยวต่างประเทศให้เปลืองเงิน เสียดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว
เรียนรู้ความงดงามผ่านกาลเวลาที่สั่งสมมาของคนไทย
ประเพณีภาคตะวันออก ในวันนี้คือสิ่งที่คนในภูมิภาคตะวันออกแต่ดั่งเดิมประพฤติประฏิบัติต่อเนื่องกันมา บอกเล่าและสั่งสอนกันจากรุ่นสู่รุ่น การเรียนรู้ การเที่ยวในงานเทศงานประเพณีดั่งเดิมนอกจากได้ความสุข ความแปลกใหม่ยังได้เรียนรู้และเกิดภูมิปัญญาได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย
เว็บ บา คา ร่า ที่ คน เล่น เยอะ ที่สุด
ufabet เว็บตรง