ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา-จังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดมาอย่างยาวนาน ที่จัดสืบทอดติดต่อกันมากว่า 118 ปี โดยทุกภาคส่วนของจังหวัดจะสนับสนุนให้มีการทำเทียนพรรษาตลอดทั้งเดือนก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา แสดงถึงความสามัคคี โดยการทำเทียนพรรษาจะใช้ขี้ผึ้ง ซึ่งในสมัยโบราณนั้นจะนำเทียนเล่มเล็กๆ โดยมีการมัดรวมกันให้เป็นเทียนเล่มใหญ่ และจัดขบวนนำไปถวายวัด การรวมเทียนพรรษาเป็นกลุ่มนี้แสดงถึงความสามัคคีในหมู่คณะนั่นเอง 

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีที่มีวิวัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง

ประเพณีแห่งเทียนพรรษา นั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง 

ประเพณีแห่เทียนพรรษา-จังหวัดอุบลราชธานี

ต่อมาการจัด ประเพณีแห่เทียนพรรษา ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาจากในอดีต ประเพณีแห่เทียนพรรษา จัดขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชา โดยมีการแกะสลักเข้ามาร่วม ซึ่งจะนำขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่ จากนั้นช่างฝีมือจะมาแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามต่างๆ โดยเฉพาะลวดลายของอีสานดั้งเดิม มีการนำต้นเทียนมาประกอบเป็นขบวนต้นเทียนพรรษา มีขนาด 10-15 เมตร และสูงประมาณ 6 เมตร ใช้รถเทรลเลอร์ในการขนย้าย การตกแต่งต้นเทียน ส่วนใหญ่จะมีภาพประกอบที่ทำด้วยเทียนเหมือนกัน อาจจะเป็นนารายณ์ทรงครุฑ หรืออื่นๆ แต่ละปีจะไม่เหมือนกัน ด้านข้างจะมีเป็นภาพที่แกะสลักด้วยเทียน ซึ่งจะเป็นเรื่องราวของพุทธประวัติ โดย ประเพณีแห่เทียนพรรษา ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของอุบลราชธานี เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น 

  • เครื่องแต่งกายของขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก 
  • การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม 
  • ดนตรีประกอบ เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ

เนื่องจากในงานมีการแสดงต่างๆมากมายทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ เป็นงานที่ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย ศิลปะการฟ้อนรำที่นิยมนำมาประกอบการแสดงในขบวนแห่ คือ การรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวิง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ซึ่งดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิต ประจำวันทั้งสิ้น โดยก่อนวันงานแห่เทียนพรรษา จะมีการแสดงเทียนพรรษารอบทุ่งศรีเมือง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คุ้มวัดต่างๆ จะนำเทียนพรรษาที่เข้าร่วมในงานประเพณี มาจัดแสดงไว้ที่บริเวณโดยรอบของทุ่งศรีเมือง โดยเทียนพรรษาที่จัดทำอย่างเสร็จสมบูรณ์จะถูกตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้และไฟอย่างสวยงาม ทั้งเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประเภทติดพิมพ์ และเทียนโบราณ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวมาเดินชม โดยจะจัดขึ้นในช่วงเย็นของวันอาสาฬหบูชา เส้นทางในการแห่เทียนพรรษา จะอยู่ที่บริเวณ ทุ่งศรีเมือง ในตัวเมืองอุบลราชธานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด และอำเภอทุกอำเภอจะส่งขบวนเข้ามาร่วมในงาน แต่ละปีประมาณถึง 65 ขบวน แต่ละขบวนจะมีนางรำมีการฟ้อนรำ แสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ประกอบขบวน อย่างยิ่งใหญ่อลังการ การแห่เทียนจะเริ่มงานตั้งแต่ในช่วงเช้า ประมาณ 8 โมงเช้า ถึงช่วงบ่ายๆ จนหมดขบวนขนวนแห่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ที่อัฒจันทร์ที่ทางจังหวัดด้จัดไว้ให้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย

นับว่า ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นประเพณีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านทั้งจังหวัด อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นอีกด้วย

ประเพณีแห่เทียนพรรษา-จังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา  สืบทอดศิลปะวัฒนธรรม

การจัด ประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัส กับศิลปวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่การเข้าเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เป็นลูกมือช่างของทางวัด ในการแกะสลักทำลวดลายต้นเทียน ค้นคว้าหาวิธีการทำเพียรพรรษาให้วิจิตรพิศดาร งดงาม ในขบวนแห่จะเป็นการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เช่น การเล่นดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง หรือเป่าแคน จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาว ส่วนขบวนฟ้อนรำ จะใช้เด็กๆ รุ่นเยาว์ ถึงวัยหนุ่มสาวมากกว่าคนสูงวัย ซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่อไปอีกยาวไกล ให้สมกับที่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา เก่าแก่กว่าร้อยปี

 

 

 

 

ไฮโลไทย เกมคาสิโนออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมที่สุดในประเทศไทยตอนนี้ หากคุณกำลังมองหาเว็บเกมเดิมพัน ที่มีเกมมากมายให้คุณได้เล่น เว็บเราตอบโจทย์คุณแน่นอน