Categories
กิจกรรม

ความสนุกภายในงาน แบกะดิน งานแห่งความบันเทิงที่ครบรส

สำหรับมหาวิทยาลัยบูรพานั้น เป็นมหาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี โดยคณะที่มีชื่อเสียงด้านศิลปะนั่นก็คือคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งในแต่ละปีทางคณะจะมีการจัดงาน แบกะดิน ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาและบุคคลภายนอกได้ร่วมทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งบรรยากาศภายในงานก็มีการแสดงดนตรี ร้านขายของ และร้านขายอาหารมากมาย หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่อยากจะสัมผัสประสบการณ์ความสนุกรูปแบบใหม่ วันนี้เราก็เลยจะเชิญชวนทุกคนมาชมความสวยงามของกิจกรรมภายในงานนี้กัน

แบกะดิน

เชิญชวนร่วมงาน แบกะดิน งานประจำปีที่มหาวิทยาลัยบูรพา

สำหรับใครที่มีโอกาสได้ไปเยือนแถว มหาวิทยาลัยบูรพา เชื่อว่าคุณจะต้องนึกถึงงานแบกะดินกันอยู่แน่นอน เพราะในทุก ๆ ปี ที่มหาลัยบูรพาจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งงานที่กล่าวถึงนี้ก็เป็นงานของคณะศิลปกรรมศาสตร์ภายในงานก็คับคั่งไปด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังมากมาย รวมถึงมีการแสดงดนตรีสดและแสดงโคฟเวอร์แดนซ์จัดเต็มกันตลอดทั้งคืน นอกจากกิจกรรมสนุก ๆ เหล่านี้แล้ว ที่สำคัญภายในงาน มอบู ยังมีร้านค้าที่เปิดขายผลงานศิลปะของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัย มากมายเลย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราออกเดินทางไปสำรวจสถานที่แห่งความสนุกภายใน แบกะดิน กันเลยดีกว่า

1. เทศกาลดนตรี

อย่างที่เรารู้กันดีว่าความสนุกภายในงานแบกะดินนอกจากจะครบรสไปด้วยแสง สี เสียง และคุณภาพคับแก้วของศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยแล้วเท่านั้น ที่สำคัญภายในงานยังมีจัดการแสดงคอนเสิร์ตใน มหาวิทยาลัย สำหรับวงดนตรีที่ต้องการจะมาโชว์ฝีมือให้ผู้คนในงานได้ชมกัน โดยกฏของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวคือ ผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลลงในฟอร์มให้ครบ พร้อมกับส่ง Demo Cover ความยาวไม่เกิน 2-3 นาที ซึ่งถ้าหากวงไหนที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะทำการประกาศลงในเว็บของ มอบู โดยตรง

2. การจัดตั้งร้านค้าในงาน 

สำหรับใครที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม แบกะดิน BAE KA DIN และอยากจะมาจำหน่ายของภายในงาน ทาง มอบู ก็เปิดโอกาสให้ทั้งคนใน มหาวิทยาลัยบูรพา และคนนอกเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยทางมหาลัยจะมีการเก็บข้อมูลร้านค้า ซึ่งประกอบด้วย อายุเจ้าของร้านค้า หมายเลขบัตรประชาชนเจ้าของร้านค้า ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของ 1 ฉบับ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลเข้ามาได้ทางแบบฟอร์มที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ และหากร้านไหนที่ผ่านการคัดเลือก ทางมหาลัยก็จะประกาศผลผ่านทางเฟสบุ๊ค 

แบกะดิน

3. ประเภทร้านค้าภายในงาน

ร้านค้าภายในงาน แบกะดิน BAE KA DIN จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ร้านค้า Homemade และร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม โดยกฎทั่วไปของร้านค้า Homemade คือต้องนำสินค้าที่ผลิตเองมาขายเท่านั้น ทางสโมสรไม่อนุญาตให้นำสินค้ามือสองหรือสินค้าที่รับต่อมาจากคนอื่นมาขาย รวมถึงสินค้าที่ผิดกฎหมายทุกชนิดก็ห้ามนำมาจำหน่ายเช่นเดียวกัน หากตรวจเจอจะทำการปรับเงินเป็นจำนวน 500 บาท ส่วนร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดทุกชนิดมาขาย ซึ่งก่อนจะเริ่มงานทางสโมสรนิสิตจะมีการตรวจตราอีกครั้งก่อนที่จะเริ่มจำหน่าย

4. ภาพรวมบรรยากาศภายในงาน

สำหรับภาพรวมบรรยากาศในงานแบกะดิน BAE KA DIN นั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทั้งยังมีคอนเสิร์ตจากศิลปิน วง Cover ร้าน Homemade ร้านขายอาหารและเครื่องดื่มแล้วเท่านั้น อีกทั้งในงานมหาวิทยาลัย ยังได้จัดให้มีกิจกรรมสนุก ๆ ให้ทุกคนได้เข้าร่วมอีกมากมายเลย รวมถึงใครที่อยากจะมาหาหนังสือ การ์ตูน สิ่งพิมพ์ วรรณกรรม หรือข่าวสารต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดก็มีงานแสดงสินค้าที่เปิดให้บริการตลอดทุกวันเลย 

ชมความสวยงามของกิจกรรม พบความสนุกกันในงานแบกะดิน อย่างเพลิดเพลิน

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้กันแล้ว เชื่อว่าคงมีคนไม่น้อยเลยที่อยากจะไปเที่ยวโครงการแบกะดินกันแล้ว สำหรับใครที่รู้สึกสนใจและอยากมาเปิดโอกาสพิเศษให้กับตัวเอง รวมถึงอยากจะมาโชว์งานฝีมือสุดสร้างสรรค์ของตัวเองกันภายในงาน พร้อมกับเผยเกร็ดความรู้ให้กับทุกคนได้ชมกัน ก็อย่าลืมปักหมุดแล้วตามไปเช็คอินพิกัดกันที่ มหาวิทยาลัยบูรพา กันดู เราเชื่อว่างานแห่งนี้จะช่วยเติมเต็มความสุขให้กับทุกคนได้อย่างแน่นอนเลย

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย

Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมพื้นบ้าน

วัฒนธรรมพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน เพราะรูปแบบการดำรงชีวิต รวมไปถึงความเชื่อศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงอาชีพต่างๆ ก็จะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นเอกลักษณ์แต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความหลากหลายสภาพแวดล้อม ก็มีส่วนที่จะเป็นเหตุผลต่อการจัดทำ กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม ของแต่ละพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้นมีถึง 7 จังหวัด ที่ได้จำแนกแตกไปตามความเชื่อระเบียบแบบแผนของการปฏิบัติของคนในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ ของในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของจังหวัด จะถูกยึดก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงได้มีการปฏิบัติต่อยอดกันมาเป็นเวลาที่นมนาน

 กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม ส่งเสริมค่านิยมของบุคคลในชุมชน

ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีภูมิอากาศและลักษณะของพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ลุ่มแม่น้ำ ได้รับใช้การสะสมประสานของวัฒนธรรมหลากหลายพื้นที่ทั้งวัฒนธรรมไทย เขมร ลาว รวมไปถึงวัฒนธรรมของ จีนซึ่งแน่นอนว่าเกิดมาจากการอพยพมาจากอดีตตั้งแต่ละสมัยรัชกาลต้นๆ ของรัตนโกสินทร์ แน่นอนว่าการมีวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม จะช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม
  • จังหวัดระยอง จะมีงานทอดผ้าป่ากลางน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีมากกว่าอายุ 100 ปี ชาวบ้านจะนำพุ่มผ้าป่า มาประดับที่กลางแม่น้ำประแสร์ จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ส่วนประชาชนที่ร่วมพิธีก็ต้องพายเรือเข้าไปร่วมพิธีกลางลำน้ำ ซึ่งประเพณีนั้นมาจากกิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก อิทธิพลจากศาสนาพุทธ
กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม
  • จังหวัดสระแก้ว จะมีงานบวงสรวงศาลหลักเมือง และมีพิธีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ จะเป็นการจัดงานขึ้นเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี นอกจากจะมีกิจกรรมประจำจังหวัดแล้ว ยังมีการจัดทำออกร้านอาหาร นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างนึงได้อีกด้วย ดึงดูดทั้งคนในจังหวัดรวมถึงคนต่างชาติ คนในประเทศมาร่วมสืบต่อ
  • จังหวัดตราดจะมีงานวันวีรกรรมทหารไทยในยุทธวิธีที่เกาะช้าง จะจัดทำขึ้นในช่วงของเดือนมกราคม บริเวณสถานยุทธนาวิธีที่เกาะช้าง ฝั่งแหลมงอบจังหวัดตราด เป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณของทหารเรือที่เสียชีวิตจากการสู้รบระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองทัพเรือฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และลอยมาลาสักการะดวงวิญญาณของทหารเรือที่เสียชีวิตไปด้วย ในการจัดทำงานวันวีรกรรมมีการจัดทำนิทรรศการ รวมไปถึงการออกบูธ จัดร้าน กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ดึงดูดนักท่องเที่ยว เรียกง่ายๆ ว่าเป็นงานประจำจังหวัดอีกหนึ่งอย่างเลยก็ว่าได้
  • ประเพณีวิ่งควาย ที่เป็นประเพณีนี่หนึ่งเดียวในโลก ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยากันเลยทีเดียว เป็นการจัดทำเพื่อทำขวัญควาย ถ้าปีไหนที่ไม่มีการวิ่งควาย ชาวบ้านเชื่อว่าจะเกิดโรคระบาดต่างๆ มากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อชาวนา และอาชีพเกษตรกรไทยนั่นเอง การจัดทำพิธีวิ่งควายชาวบ้านจะจัดขึ้นวันที่ 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ซึ่งจะเป็น 1 วันก่อนวันออกพรรษา ในการจัดทำประเพณีวิ่งควายนั้นจะมีการประกวดสุขภาพควาย พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมไปถึงการตกแต่งควายให้มีความสวยงาม และที่สำคัญยังมีการจัดทำจำหน่ายสินค้า O-TOP อาหารพื้นเมืองของจังหวัดชลบุรีไว้อีกด้วย นับว่าเป็นกิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด นำเอารายได้เข้าสู่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย
  • ประเพณีงานบุญกลางบ้าน ของอำเภอพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี ซึ่งแน่นอนว่าเป็น ประเพณีที่สืบทอดมาอย่างช้านานของชาวบ้านในอำเภอ ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวลาวพวน อพยพมาจากประเทศลาวในสมัยต้นของรัตนโกสินทร์ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารมาทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ ร่วมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร และดวงวิญญาณของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  และที่สำคัญเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน ให้มีฝนตกตามฤดูกาล รวมไปถึงการทำให้พืชพรรณ มีผลผลิตนั้นอาหารสมบูรณ์ รวมไปถึงมีการสะเดาะเคราะห์ เพราะได้มีการนำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปคนให้เท่ากับจำนวนคนในบ้าน พร้อมกับสัตว์เลี้ยง และนำข้าวปลาอาหารในกระทงเล็กๆ ไปไว้ในวันทำบุญ หลังจากที่พระสวดเสร็จนั้นก็นำไปกระทงและรูปปั้น ไปไว้ที่หัวไร่ปลายนา หรือจะเป็นทางสามแพร่ง กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก อิทธิพลจากศาสนาพุทธ ในกิจกรรมงานบุญกลางบ้านนั้นมีการละเล่นพื้นบ้าน รวมไปถึงการสาธิตทำเครื่องจักสานของอำเภอพนัสนิคมอีกด้วย นับว่าเป็นเทศกาลที่แสดงถึง ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมไปถึงการอนุรักษ์ความเชื่อของบรรพบุรุษ และมีการทำบุญเกิดขึ้นด้วย           

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงามถือว่ามีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคมของชุมชน รวมไปถึงทัศนคติที่มีต่อ ศาสนา เอกลักษณ์และค่านิยมต่างๆ ซึ่งในอดีตแน่นอนว่าชาวบ้านมีความเชื่อถึงอำนาจของดินฟ้าอากาศ รวมไปถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย การจัดทำประเพณีต่างๆ จึงมีอิทธิพลมามากจากสิ่งเหล่านี้ และเมื่อมีการสืบต่อกันมามาอย่างยาวนาน คนในรุ่นหลังจึงยึดเป็นปฏิบัติและเป็นธรรมเนียม รวมไปถึงการเป็นระเบียบแบบแผนที่ทำต่อกันมายาวนาน เป็นพิมพ์เดียวกัน จนทำให้กลายเป็นประเพณีของแต่ละชุมชนที่อยู่อาศัย และนอกจากจะเป็นประเพณีที่มีประโยชน์ต่อความเชื่อแล้ว ยังส่งเสริมเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดด้วย กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะสามารถเป็นแหล่งเศรษฐี ให้มีเงินสะพัดได้ในการจัดพิธีกรรมต่างๆ

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด

สนับสนุนโดย: https://ufaball.bet/ เว็บพนันออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย มั่นใจซื่อตรง เปิดบริการแล้วครบจบในที่เดียว

Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด

ในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้น มีมากมายหลากหลายจังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งชุมชน รวมไปถึงลักษณะในการดำรงชีวิต แต่ทุกจังหวัดล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีที่สวยงาม และเป็นประเพณีที่รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติได้อีกด้วย นอกจากนี้ ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก ยังหมายถึงระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติกำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ของแต่ละประเพณีได้อีกด้วย โดยในจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้นมีถึง 7 จังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าวัฒนธรรมนอกจากจะช่วยสืบสารให้สืบต่อไปถึงเยาวชนรุ่นหลัง แล้วยังสามารถช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มารู้จักกับประเพณีของเราได้อีกด้วย โดย ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม ส่วนใหญ่นั้นมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ เพราะเป็นศาสนาหลักของคนไทย

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก บ่อเกิดของวัฒนธรรมสังคม

คนในท้องถิ่นของจังหวัดทางภาคตะวันออกมีการสร้างประเพณี และวัฒนธรรมที่มีมาอย่างช้านาน ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมทำกันภายในสังคมที่อยู่นั้นๆ และหากใครทำผิด ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก ก็จะนับว่าเป็นบุคคลที่ผิดจารีตกันเลยทีเดียว ประเพณีส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตในสังคม โดยศาสนานั้นจะมีอิทธิพลต่อประเพณีของคนไทย รวมไปถึงชาวภาคตะวันออกมากที่สุด มีมากมายหลากหลายอย่างเข้ามาผสมผสานให้เกิด  ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญ และการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของคนในชุมชนนั้นๆ

ตัวอย่าง ประเพณีที่สวยงาม อนุรักษ์ให้อยู่สืบไป

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก
  • ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี ที่ไม่มีที่ไหนในโลก มีแค่ที่จังหวัดชลเพียงที่เดียว ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม  สืบทอดมาอย่างช้านานเช่นกัน เพราะชาวบ้านในสมัยก่อนมีความเชื่อว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย หรือทำขวัญควาย จะทำให้ควายของชาวบ้านนั้นเกิดความเจ็บป่วย และล้มตาย จะทำให้เกิดผลกระทบของการทำนาทำไร่ของเกษตรกรในยุคนั้นนั่นเอง และที่สำคัญการวิ่งควายนั้นก็ถือว่ามีการพัฒนาให้มีการประกวดควายในปัจจุบัน รวมไปถึงการจัดงานต่างๆ ให้ประชาชนในพื้นที่มาร่วมสนุกสนานกันได้ด้วย
  • งานแห่บั้งไฟของ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ประเพณีเป็นของชาวลาวพวนที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทยปลายรัชกาลที่ 3 ได้ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลาน เป็นการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ อายุ 1,000 ปี  ในช่วงที่มีการไถ – หว่านนาข้าว และจะเป็นการขอฟ้าขอฝน ให้นาข้าวมีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย โดยการแห่บ้างไฟนั้นจะเป็นเพณีท้องถิ่น 1 ปีมี 2 ครั้ง คือ กลางเดือน 5 และบุญเดือน 6 เป็นงานท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ พร้อมมีมหรสพสมโภช รวมไปถึงหนังกลางแปลงในอดีต ลิเกมีชาวบ้านมานำสินค้าขายด้วย ก่อนการเริ่มจุดบั้งไฟจะมีการแห่ขบวนเกวียน  และจะมีการร่ายรำซึ่งขอฟ้าฝนนั่นเอง ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ในอำเภอนี้ สืบเชื้อสายของชาวลาวพวน จะเป็นการอนุรักษ์สืบทอดให้มี ประเพณีที่สวยงาม อารยธรรมอันดีหลากหลาย นี้ให้อยู่ต่อไปสู่คนรุ่นหลัง
  • งานประเพณีการแข่งเรือยาว เป็นงานที่จัดมาเป็นประจำหลายปีบริเวณแม่น้ำบางปะกง หรือที่เรียกกันว่าแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นกิจกรรมที่จะแสดงถึงความสามัคคีของคนในทีม หากทีมไหนเป็นผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารรี โดยงานประเพณีการแข่งเรือยาวจะจัดในช่วงเดือนกันยา หรือตุลาคมของทุกปี แล้วแต่ว่าระดับความสูงของน้ำ
ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก
  • งานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน เป็นงานที่จัดขึ้น ณ วัดสระมรกตเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี กิจกรรมจะมีการเข้าค่ายพุทธศาสนา ปลุกจิตสำนึกต่อพระพุทธทาสศาสนา ส่วนใหญ่จะมีนักเรียนนักศึกษามัธยมขึ้นไป มาร่วมกิจกรรมและ ยังมีการเวียนเทียนรอบรอยพระพุทธบาทคู่ภายในวัดอีกด้วย ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม นับว่าเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่อยู่คู่เมืองปราจีนบุรีมากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ยังมีการสักการะพระบรมมาสารีริกธาตุ มีการจำหน่ายสินค้าชุมชนในพื้นที่ รวมไปถึงสินค้าโอทอปด้วย

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออกในประเทศไทย ถือว่ามีประโยชน์ที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน แล้วทำให้คนในประเทศนั้นมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยังเป็นสิ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของคนในชุมชนได้อีกด้วย และภายในหลายประเพณีก็จะมีการจัดทำงานขายสินค้า แสดงนิทรรศการต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มีเงินสะพัดเข้ามาในจังหวัด และช่วยสร้างเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้อีกด้วย เรียกว่ามีประโยชน์มากมายทั้งโดยตรงและทางอ้อม ประเพณีที่สวยงาม อนุรักษ์ให้อยู่สืบไป นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติและความภูมิใจของคนในท้องถิ่นทำ ให้เกิดความหวงแหนและการเห็นถึงคุณค่าในวัฒนธรรมต่างๆ

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีสำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com/ ไฮโลไทย ฝาก-ถอน ไม่มีขั้นต่ำ แทงไฮโลพื้นบ้าน เบทเริ่มต้น 5 บาท

Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของได้ว่าของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริง ในการที่จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ประกวดประชันการบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ควายของใครสมบูรณ์กว่ากัน จึงถือเป็น ประเพณีของท้องถิ่นที่สือบทอดกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีเก่าแก่กว่า 100 ปี

“ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักรสานดี ประเพณีวิ่งควาย”  จากคำขวัญจังหวัดชลบุรีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คงจะเห็นแล้วว่า ประเพณีวิ่งควาย ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี ถึงขั้นที่มีอยู่ในคำขวัญจังหวัดเลยทีเดียว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี ถือเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 11 และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำในทุก ๆ ปี และจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มี ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีที่สะท้อนความเป็นอยู่ของพุทธศาสนิกชน โดยเกิดจาก ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนทุกคนจะต้องเดินทางมาวัดเพื่อทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะและ เมื่อก่อนถึงวันออกพรรษาชาวไร่ชาวสวนจะนำสินค้าในสวนของตนออกมาจำหน่ายอาทิ กล้วย มะพร้าว ใบตอง ข้าวเหนียว เป็นต้น และเนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีรถที่จะใช้บรรทุกสินค้ามาขายเหมือนในปัจจุบันจึงต้องนำสินค้าเดินทางมาด้วยเกวียน โดยใช้ควายลากมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านเพื่อไปทำข้าวต้มหางและกับข้าวอื่นๆ  นำไปใส่บาตรและถวายแด่พระสงฆ์เมื่อเดินทางมาถึงก็จะนำควายของตนไปพักอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งในสมัยนั้นรอบๆ ตัวเมืองชลบุรี มีวัดติดต่อเรียงรายกันเป็นแถวกว่า 10 วัด และในแต่ละวัดจะมีลานกว้างขวางไม่มีอาคารร้านค้าในบริเวณวัด จึงทำให้เกวียนเมื่อบรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมือง จึงพักเกวียนตามลานวัดสุดแท้แต่ที่จะสะดวกและใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขายด้วย และเอกชนแห่งหนึ่งข้างวัดต้นสนและเป็นที่พักเกวียนเพื่อถ่ายสินค้าเรียกกันว่า ตลาดท่าเกวียน เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาสิ่งของที่ต้องการ จนเสร็จแล้วก็จะถือโอกาสนี้พบปะพูดคุยกันจูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายสืบมาเป็นวิ่งควายรอบๆตลาด ด้วยความสนุกสนานในปีต่อๆ มาก็เพิ่มการตกแต่งควายให้สวยงามด้วยผ้าแพรและลูกปัดอย่างสวยงาม เพื่อแสดงถึงความใส่ใจและการดูแลควายของตัวเองเป็นอย่างดี และเป็นการทำขวัญควายไปในตัว เช่น ทำถุงสวมเขาควายตกแต่งเชือกจูงควายปฏักเฆี่ยนควายทำฉบังแต่งหน้าควายและเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตพิสดารไปตามความคิดของตน มีการพบปะ เลี้ยงดู ร่วมกับบรรดาชาวนาผู้ร่วมอาชีพ ตลอดจนประกวดความสมบูรณ์ สวยงามของควายที่ตกแต่งมา นับเป็นการสนองคุณของควายให้มีความสุขตามอัตภาพและได้พักผ่อนจากงานหนักในไร่นา จนกลายเป็น ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของชาวไร่ชาวสวน

ประเพณีวิ่งควาย

ในระยะหลังๆ แม้จะไม่ได้ใช้เกวียนในการบรรทุกสินค้ามาตลาดเหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงเทศกาลวิ่งควายก็ยังนำควายเข้ามาวิ่งเป็นประจำ นำควายมาพักตามลานวัดต่าง ๆ สุดแท้แต่จะสะดวก ลานวัดเกือบทุกวัดจึงเป็นลานสำหรับพักควายวิ่ง เชื่อกันว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายมากผิดปกติ นอกจากนี้ควายที่เจ็บป่วยระหว่างปี เจ้าของควายก็จะบนบานให้หายแล้วนามาร่วมในประเพณีนี้ด้วย คนไทยโบราณเป็นคนที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตา และมีเมตตาธรรม หลังจากได้ใช้ควายไถนาและ ทำงานในท้องนาอย่างเหน็ดเหนื่อยมาหลายเดือน จนทำให้การวิ่งควายสืบทอดมาเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันสถานที่วัดมีการก่อสร้างของอาคารบ้านเรือนจึงทำให้ลานวัดคับแคบลงทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันวิ่งควายได้ จึงได้ทำการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันวิ่งควายมาวิ่งที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีและเทศบาลเมืองชลบุรีได้เล็งเห็นถึงประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นการจรรโลงสร้างสรรค์สืบสานและนิยมยึดถือปฏิบัตสืบเนื่องกันมาจนเป็นแบบแผนมาเท่าทุกวันนี้

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย หนึ่งความภาคภูมิใจของชาวชลบุรี 

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่งสำหรับ ประเพณีวิ่งควาย ของชาวชลบุรีคือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2455 ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีพระยาวิเศษฤาไชยได้จัดวิ่งควายถวายทอดพระเนตร ที่หน้าศาลากลาวงจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันดังกล่าวชาวนาจะตกแต่วงควายของตนอย่างสวยงามให้ดูแปลกตาและเป็นที่น่าสนใจ มีการจัดขบวนควายที่มีคนขี่บนหลังเป็นแถวเดินไปตามท้องถนน เป็นการแสดงให้ผู้คนได้เห็นและเกิดความสนใจ  รวมถึงมีการแข่งวิ่งควายด้วย โดยการแข่งวิ่งควายไม่ได้มุ่งแพ้ชนะเป็นสำคัญแต่การได้เข้าร่วมประเพณีและความสนุกสนานเป็นสิ่งสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด ถือว่า ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี และถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เพราะมีประเพณีนี้ ที่เดียวในโลก

 

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

https://ufaball.bet เราคือผู้ให้บริการการพนันอันไร้ขอบเขตของเหล่านักพนันที่ชื่นชอบการเดิมพัน และการเสี่ยงทายในโชคตนเอง เรามีบริการทั้ง แทงบอลออนไลน์ หรือ คาสิโนออนไลน์ ไว้บริการเต็มรูปแบบครบวงใจในที่นี้ที่เดียว

Categories
กิจกรรม ประเพณี

ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ประเพณีที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

คติความเชื่อของ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ โดยมีหลักฐานความเชื่อเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา มาจากคติความเชื่อเรื่องผีในการขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด จึงเกิดเป็น ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีอันเก่าแก่

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีขอบคุณภูตผี ขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ เป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและเสริมสวัสดิมงคล ความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่ง ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีที่แปลกกว่าประเพณีอื่นๆ โดยจัดนอกวัด ชาวบ้านจะเลือกเอาสถานที่จัดบริเวณลานกว้างในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานด้วยกัน เป็นการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน โดยมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็น การสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกระทงกระบานใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณในการสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี โดย ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน  ดังนี้

  • ตั้งปะรำปูพื้น ขึงผ้าม่าน บางแห่งปูพื้นด้วยแผ่นไม้ บางแห่งใช้เสื่อโดยเลือกสถานที่ที่เป็นที่ว่าง กลางหมู่บ้านหรือกลางท้องนา 
  • การกำหนดสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น บางปีนํ้าท่วมขังก็ย้ายที่ใหม่
  • จัดที่ตั้งพระพุทธ บางแห่งอาจมีการแห่พระพุทธรูปมาประดิษฐานด้วย ที่วางบาตรนํ้ามนต์ บางสถานที่จะจัดตั้งศาลเพียงตา บางแห่งจะใช้เพียงต้นเสา 1 ต้น วางไม้พาดเป็นตัวที เรียกว่า ศาลเทวดา ไว้สำหรับไหว้บรรพบุรุษ หรือเจ้าที่ โดยส่วนใหญ่จะทำนอกปะรำพิธีสงฆ์
  •  ตอนเย็นนิมนต์พระ 9  รูป หรือมากกว่านี้มาสวดมนต์เย็นชาวบ้านจะมาฟังสวดมนต์ ในบางแห่งที่ชุมชนมีเชื้อสายไทย  จะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง หลังจากพระสวดจบ 1 บท แต่ในบางแห่ง เป็นการสวดมนต์ธรรมดาไม่มีการตีฆ้อง สำหรับการละเล่นนั้น หลังเลิกสวดมนต์แล้วบางแห่งก็มีบางแห่งก็ไม่มี การละเล่น ก็คือ หมอลำลิเก รำวง 
  •  เช้าวันรุ่งขึ้น นิมนต์พระมาฉันเช้า ชาวบ้านจะนำอาหารมารวมกันตักแบ่งถวายพระ บางแห่งอาจมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย การเตรียมอาหารแล้วศรัทธาของแต่ละบุคคลบางพื้นที่อาจตกลงกันว่าใครจะทำอะไรก็ได้ 
  • บางพื้นที่อาจะมีการทำกระทงด้วยใบตองใส่ลงไปในกระทงกาบกล้วยที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนสมาชิกในบ้านรวมไปถึง วัว ควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ด้วย บางแห่งไม่ใส่ข้าวขาว มักใส่สตางค์ลงไปด้วยแล้วจุดธูปปักลงในกระทงบางแห่งจุดดอกเดียว บางแห่งก็สุดแล้วแต่จำนวนกระทง เสร็จแล้วนำกระทงนี้ไปวางไว้ทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จแล้ว ท่านจะนำนํ้ามาองค์ละ 1 แก้ว ยืนเป็นวงกลมแล้วราดลงไปในกระทง บางแห่งอุทิศให้คนอยู่บางแห่งอุทิศให้คนตาย เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือโคก 
  • หลังเสร็จพิธี ชาวบ้านจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน โดยจะไต่ถามถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ  ซึ่งกันและกัน บางพื้นที่มีความเชื่อจะต้องรับประทานให้หมด ไม่นำกลับบ้าน เช่น ที่ชุมชนบ้านหน้าพระธาตุ แต่โดยปกติเมื่อเหลือมักตักแบ่งกันไป หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้าน การใส่บาตร จะทำที่วางบาตรไว้โดยใช้ผ้าหรือทำที่ใส่บาตรเฉพาะ โดยนำมาวางเรียงกันไว้เมื่อพระสวดพาหุง 8 ทิศ ชาวบ้านจึงเริ่มใส่บาตรได้ การกำหนดวันจะกระทำกันในราวเดือน 3-6  โดยผู้เฒ่าผู้แก่หรือชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ จะถือเอาวันว่างและสะดวก ชาวชลบุรีมีความเชื่อซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่อธิบายว่า ข้าวดำ ข้าวแดง โบราณว่า เป็นอาหารของผีกิน ข้าวดำ ใช้ข้าวผสมรวมกับก้นกระทะ ข้าวแดง ใช้ข้าวผสมกับปูนกินหมาก หรือขมิ้น ผักพร่าปลายำ ใช้นํ้าพริกอะไรก็ได้หั่นผักบุ้งละเอียด ๆ ผสมรวมกันลงไปใส่ปลาด้วย การหยาดนํ้าของพระสงฆ์ในกระทง หมายถึง เป็นการส่งผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย ขึ้นสวรรค์ ในการกรวดนํ้าพระจะสวดบท ภุมมัสสิง ทิสา ภาเค… การที่กระทำบุญในเดือน ๓ กลางเดือน โบราณว่าเป็นวัน “กบไม่มีปาก นาคไม่มีก้นขี้”หมายความว่า กบร้องที่ไหน คนก็จะตามเสียงร้องนั้นไปและไปจับมากิน พญานาคเมื่อกินอาหารแล้วไม่ถ่ายออกมาก็ไม่หิว อาหารก็จะเหลืออยู่ ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้ทำบุญเดือน 3 กลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์เหลือกินเหลือใช้

ประเพณีบุญกลางบ้าน หลากหลายเชื้อชาติหนึ่งประเพณี

ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานของชาวชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่มีชุมชนที่มาจากเชื้อชาติต่าง ๆ มาอยู่ร่วมกันทั้งคนไทย คนลาว และชาวจีนที่มาอยู่ในคราวซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ประเพณีบุญกลางบ้าน ในแต่ละแห่งจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ยังคงความเป็นประเพณีดั้งเดิมอยู่ เพราะ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ อย่างไรก็ตาม งานบุญกลางบ้านนั้นมีมาแล้วนับร้อยปีและยังคงดำรงสืบทอดต่อๆ กันมาโดยตลอด

 

 

 

 

 

https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด โดยมีลูกค้าจากทั่วโลกให้ความสนใจใช้บริการเล่นพนันอย่างมากมาย ด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานระดับสากล

Categories
กิจกรรม ประเพณี เทศกาล

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวปากน้ำประแสร์

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีทอดผ้าป่าที่แปลกตา แห่งเดียวในไทย

ปากน้ำประแสร์ เป็นเมืองที่ติดชายทะเลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง มีประเพณีการทอดผ้าป่าที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สืบเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือตลอด เรือจึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา ชาวประมงเวลาอยากทำบุญบ้าน (เรือ) ให้เป็นสิริมงคล จึงได้มีการจัดทำบุญทอดผ้าป่าขึ้นในเรือ ซึ่ง ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี 

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีที่สะท้อนความศรัทธาในวิถีชีวิตแห่งสายน้ำ

เดิมชาวประแสร์ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ชายหาด ชายคลองแม่น้ำประแสร์ ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ไม่หนาแน่นนัก มีอาชีพหาปลาโดยวิธีตกเบ็ด ยกยอ ทอดแห ดักรอก เป็นต้น ใช้พาหนะเรือแจวบ้าง เรือพายบ้าง ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินมีทองก็คิดจะทำบุญ ซึ่งชาวประแสจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง เวลาบ้านใดทำบุญบ้าน งานแต่งงาน ต้องมีการทอดผ้าป่าด้วย ผู้ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลองถ้าจะทำบุญทอดผ้าป่าส่วนมากต้อง อาศัยเรือตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า ใช้ไม้ไผ่ปักไว้ด้านหัวเรือ-ท้ายเรือ แล้วนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน เวลาขากลับนิมนต์ชักผ้าป่าในเรือ แต่บางแห่งชักผ้าป่าก่อนสวดมนต์ก็มี แต่บางแห่งถึงบ้านชักผ้าป่าก่อนก็มี แต่การจัดทำบุญทุกครั้งคราว เข้าใจว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่เกิดของ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวประแสร์

ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สันนิษฐานว่า ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี โดยประชาชนจะนำพุ่มผ้าป่าไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ โดยพุ่มผ้าป่าจะใช้กิ่งไม้จากต้นฝาดหรือต้นโปรง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนโดยทั่วไป ประดับตกแต่งพุ่มผ้าป่าให้สวยงาม จากนั้นไปนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือไปยังพุ่มผ้าป่ากลางลำน้ำประแสร์ ประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีจะพายเรือหรือแจวเรือของตนเข้าร่วมพิธีกลางลำน้ำนั้น หลังจากประกอบพิธีกรรมทอดผ้าป่ากลางน้ำแล้ว ประชาชนจะร่วมกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง โดยการจัดการละเล่นอันได้แก่ การแข่งเรือพาย แข่งพายกะโล่ แข่งพายเรือข้ามลำไม้ไผ่ แข่งชกมวยทะเล การ ทอดผ้าป่ากลางน้ำได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจะมีขบวนเรือประมงขนาดใหญ่จำนวนนับร้อยลำมาแห่พุ่มผ้าป่า ภายในเรือจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงตลอดเวลา และตามหน้าบ้านของชาวบ้านปากน้ำประแสร์จะนำพุ่มผ้าป่ามาปักไว้หน้าบ้านของตนบ้านละ 1 พุ่มตามความศรัทธา ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดตะเคียนงามมาชักพุ่มผ้าป่า

ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำได้สืบทอดกันมาระยะยาวนานแต่ได้มีการหยุดการจัดไประยะหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2484 เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน หลังจากนั้นนำมาเริ่มจัดใหม่ใน ปี พ.ศ.2487 ในช่วงแรก ๆ จะทำพุ่มผ้าป่าไว้บนเรือแล้วนิมนต์พระภิกษุไปชักพุ่มผ้าป่าบนเรือ ต่อมาคณะกรรมการฯเห็นว่าเป็นการสร้างความลำบากให้กับพระภิกษุจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำพิธีชักผ้าป่า โดยให้ชาวประมงมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ตามบ้านแล้วพระภิกษุจับสลากหมายเลขพุ่มผ้าป่า และในปัจจุบันได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการทำแพผ้าป่าไว้กลางแม่น้ำประแส พร้อมนิมนต์พระทำพิธีทอดผ้าป่าบนแพ ส่วนพุ่มผ้าป่าตามบ้านเรือนประชาชนก็คงไว้เหมือนเดิม พระภิกษุจะจับสลากหมายเลขพุ่ม แล้วเดินชักพุ่มผ้าป่าตามหมายเลข ที่จับได้และมีการจัดงานมหรสพประมาณ 3-4 วัน จัดขึ้นทุกปี โดยวัน ทอดผ้าป่ากลางน้ำ จะตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองหรือวันลอยกระทงนั่นเอง

ภายในงานนอกจากจะมีการทำบุญ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แล้ว ยังมีกิจกรรมความบันเทิง การละเล่นต่างๆ มากมาย อาทิเช่น กิจกรรมแข่งเรือพาย, มวยทะเล, แข่งขันฉีกปลา, ประกวดแม่ม่ายเทพี, กีฬาพื้นบ้าน, การแสดงของนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มประชาชนต่างๆ, การประกวดดนตรีสตริงเยาวชน ร้องเพลงไทยลูกทุ่ง, การแสดงนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง, การแสดงดนตรีไทย ดนตรีสากล ชุดรำกะปิ,การแสดงภาษาต่างชาติ, ประกวดกระทง, และพบกับมหกรรมอาหารสะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ทั้งอาหารทะเลและอาหารพื้นเมืองขอองจังหวัดระยองและภาคตะวันออก เช่น ปลากะพงทอดน้ำปลา ปลาหมึกเผาหรือย่าง แกงหมูชะมวง แกงแขนงสับปะรด เป็นต้น ส่วนที่สำคัญที่สุดในงานก็คือวันเปิดงาน จะมีขบวนแห่รถประดับผลไม้จากสวนศรีเมืองมายังตลาด ประกวดธิดาชาวสวนที่สวนศรีเมือง ช่วงบ่ายเป็นพิธีเปิด มีการมอบรางวัลขบวนรถประดับผลไม้ ทั้งประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลให้ธิดาชาวสวนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรับประทานผลไม้ ส่วนวันอื่น ๆ ก็มีเฉพาะการออกร้านจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีอันเป็นเอกลัษณ์ของปากน้ำประแสร์

ประเพณีทอดผ้าป่าในจังหวัดอื่นจัดขึ้นบนบกทั่วไป แต่ในจังหวัดระยอง ชาวปากน้ำประแสร์มีประเพณีทอดผ้าป่าเช่นกัน แต่ประเพณีทอดผ้าป่านี้แตกต่างจากที่อื่นโดยสิ้นเชิง เพราะจัดขึ้นในน้ำ ทำให้ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปากน้ำประแสร์ เป็นประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ ชาวบ้านปากน้ำประแสร์ถือเป็นประเพณีอันงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

 

 

 

สมัครบาคาร่า https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 ที่เว็บคาสิโน888 เราเป็นเว็บคาสิโนที่สมัครง่ายที่สุด เกมคาสิโน สล็อต บาคาร่าเล่นง่าย ได้เงินจริง และยังสามารถดาวน์โหลดเอาไว้เล่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้

Categories
กิจกรรม ประเพณี

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีในเทศกาลออกพรรษา

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอยพระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน ที่สำคัญ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า ประเพณีไหลเรือไฟ บางที่เรียกว่า ” ล่องเรือไฟ ” ” ลอยเรือไฟ ” หรือ”ปล่อยเรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษา ประเพณีไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาอย่างช้านาน 

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่มาพร้อมกับหลากหลายความเชื่อ

ไหลเรือไฟ ประเพณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเชื่อที่หลากหลายจากคนในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกนอกจาก ประเพณีไหลเรือไฟ บูชาพระพุทธเจ้า ยังมีความเชื่ออีกมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ประเพณีไหลเรือไฟ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์  
  • ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ได้ทรงตัดพระเกศแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระอินทร์ได้นำเอาผอบมารับไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ จะได้อานิสงส์ไปเกิดร่วมพระศาสนากับพระศรีอริยะเมตไตย 
  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน

เชื่อว่า ประเพณีไหลเรือไฟจะทำให้ฝนในปีต่อไปดี เพราะการไหลเรือไฟเป็นการปล่อยไฟลงในแม่น้ำ ทำให้พญานาคที่อยู่ในน้ำได้รับความร้อนแล้วหอบน้ำหนีขึ้นไปอยู่บนฟ้า  พอถึงเดือน ๖ น้ำในโลกมนุษย์จะแห้ง ผู้คนเดือดร้อน จึงพากันจุดบั้งไฟขึ้นไป พญาแถนจะสั่งให้พญานาคนำน้ำที่หอบขึ้นมา ไปคืนให้โลกมนุษย์ โดยตกลงมาเป็นฝน

  • ด้านความเชื่อในการเอาไฟเผาความทุกข์

 เชื่อว่า เมื่อชาวบ้านมีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้น จะมีการบูชาไฟ แล้วเอาไฟเผาความทุกข์นั้นให้ลอยไปตามน้ำ และน้ำจะพาเอาความทุกข์ที่ถูกเผานั้นให้จากไปได้ การไหลเรือไฟจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาไฟด้วย   

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา  

เชื่อว่า การรู้จักบุญคุณ และการตอบแทนคุณ เป็นเครื่องหมายของคนดี ประเพณีไหลเรือไฟ  กระทำเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของน้ำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เพราะเราได้อาศัยน้ำ จากพระแม่คงคา ทั้งกินทั้งใช้มาตลอดปี ยิ่งกว่านั้นยังถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย เท่ากับขาดความคารวะแม่คงคา จึงสมควรขอขมาลาโทษต่อท่าน  

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้า   

 มีตำนานเล่าขานกันว่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 คือ บันไดทอง  อยู่เบื้องขวาเป็นที่ลงแห่งเหล่าเทพยดา  บันไดเงิน เบื้องซ้ายเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม  และบันไดแก้ว ตรงกลาง เป็นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า  หัวบันไดอยู่ยอดเขาพระสิเนรุราช เชิงบันไดอยู่เมืองสังกัสสะนคร ทรงแสดงโลกนิวรณ์ปฏิหาริย์ คือ เปิดโลกโดยทอดพระเนตรไปเบื้องบนถึงพรหมโลก  เบื้องต่ำถึงอเวจีนรก  ทำให้ทิศต่าง ๆ ทั้ง 8 ทิศ ในโลกธาตุแห่งหมื่นจักรวาล  แลเห็นเป็นลานอันเดียวกัน  จึงเรียกวันนี้ว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” มนุษย์ทั้งหลายได้รับเสด็จด้วยเครื่องสักการะมโหฬาร

  • ด้านความเชื่อในการสักการะท้าวพกาพรหม เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ โดยมีนิทานชาวบ้านเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มีกาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่บนต้นไม้ป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บินจากรังไปหากิน เผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ก็บินหายไป กาตัวเมียซึ่งกำลังกกไข่อยู่ 5 ฟอง คอยผัวไม่เห็นกลับก็กระวนกระวายใจ จนอยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุใหญ่พัดรังกาพัง ฟองไข่ก็ตกลงไปในน้ำ ส่วนแม่กาถูกน้ำพัดไปทางหนึ่ง ครั้งลมสงบ  แม่กากลับมารังไม่เห็นฟองไข่ก็เสียใจ ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดใหม่ บนพรหมโลก ชื่อ ท้าวพกาพรหม ส่วนไข่ทั้ง 5  ฟอง ถูกลมพัดลอยไปตามแม่น้ำ และถูกคลื่นซัดขึ้นตลิ่งแต่ไม่แตกและไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน ครั้นแล้วฟองไข่ทั้ง 5 นี้ก็มีผู้นำไปรักษาไว้ คือ ฟองที่ 1 แม่ไก่เอาไป  ฟองที่ 2 แม่นาคเอาไป  ฟองที่ 3 แม่เต่าเอาไป  ฟองที่ 4  แม่โคเอาไป  ส่วนฟองที่ 5 แม่ราชสีห์เอาไป  ครั้งฟองไข่ทั้ง 5 ถึงกำหนดฟักแตกออกมาไม่เป็นลูกกา แต่เป็นมนุษย์ ครั้งเติบโตขึ้นและเห็นโทษของความเป็นฆราวาสและเห็นอานิสงส์แห่งบรรพชา จึงลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 ได้พบกัน จึงไต่ถามเรื่องราวของกันและกัน ฤาษีทั้ง ๕ จึงพร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา ด้วยแรงอธิษฐาน จึงร้อนไปถึงท้าวพกาพรหม ท้าวพกาพรหมเสด็จจากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือกบินมาเกาะบนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง 5  แล้วเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง แล้วกล่าวต่อไปว่า “ถ้าคิดถึงมารดา เมื่อวันเพ็ญเดือน 11 และเดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชา  ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่า “คิดถึงมารดา” บอกเสร็จ ท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป ตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็พากันลอยกระทง ไหลเรือไฟ เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีอันเก่าแก่ที่ประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่

ถึงแม้ ประเพณีไหลเรือไฟ จะเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน แต่ในปัจจุบัน ประเพณีไหลเรือไฟ มีการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่มากขึ้น วิธีทำเรือไฟมีการนำเอาเทคโนโลยีแนวใหม่ๆ  เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริงๆ  แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันดีเซล แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น โดยการประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะ ประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

สมัครบาคาร่า sa-game.bet เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เราคือ คาสิโนออนไลน์ ตัวแทนโดยตรงจาก SA gaming ในนามของ SA-Game เรามีบริการหลากหลายในเกมพนัน ไม่ว่าจะเป็น บาคาร่าออนไลน์ , เสือมังกรออนไลน์ , รูเล็ตออนไลน์ ให้ท่านได้เล่นอย่างจุใจผ่านระบบออนไลน์ Live Steam (ไลฟ์สด)

Categories
กิจกรรม ประเพณี

งานกองข้าว ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี

งานกองข้าว เอกลักษณ์ของชาวศรีราชา

งานกองข้าว ศรีราชา

งานกองข้าว ถือเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ ที่สืบต่อกันมา ตามประวัติเล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม เป็นต้น ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไป ในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป แต่ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่ง งานกองข้าว เป็นเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อเทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี

งานกองข้าว ประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน

งานกองข้าว ชลบุรี

ประเพณีกองข้าว หรือ งานกองข้าว ถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายราศีเข้าสู่ปีใหม่ ที่เรียกว่าสงกรานต์ ล่วงไปประมาณ 3-4 วัน ให้ชักชวนเพื่อนบ้าน นำลูกหลานมารวมกันในเวลาแดดร่มลมตก อาหารคาวหวานและอาหารพื้นบ้าน เช่น ฮื่อแช่ ก๋วยเตี๋ยวบก ปิ้งงบ แจงลอน ขนมเต่า ขนมก้นถั่ว ฉาบไข่แมงดา เป็นต้น ไปรวมกันที่ชายทะเล แล้วแต่ละบ้านแบ่งอาหารคนละเล็กละน้อยใส่กระทงใบตอง ไปวางรวมกันบริเวณริมหาด แล้วจุดธูปคนละ 1 ดอกแล้วกล่าวร้องเชิญภูตผีปีศาจที่สิงสถิตบริเวณหาด ผีไม่มีญาติที่หิวโหยมากินอาหารที่นำมากองไว้เชื่อว่าเมื่อภูตผีปีศาจอิ่มหมีพีมันแล้วท่านจะได้ไม่มารบกวน ทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัย และไม่เกิดภัยธรรมชาติ จึงเรียกว่า พิธีกองข้าวบวงสรวง หลังจากนั้นชาวบ้านที่มารวมกัน เซ่นไหว้ทูตผีปีศาจนั่งรอจนกว่าธูปจะหมด 1 ดอกแล้วกล่าวลาขอพรเสร็จแล้วก็จะตั้งวงรวมกันรับประทานอาหารที่เตรียมมาหากมีอาหารเหลือให้นำกองไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ ห้ามนำอาหารที่เหลือกลับบ้านเด็ดขาด งานกองข้าว เป็นเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยภายในงานเน้นการแสดงด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น 

  • มวยตับจาก

เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชลบุรี เพราะมีการปลูกจากเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคือ ใบจากแห้งจำนวนมากเพื่อปูให้ทั่วพื้นเวที และเชื่อกสำหรับขึงเวที นักมวย ทั้งคู่จะผูกตาด้วยผ้า และจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการกลางอยู่บนเวที 1 คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้และต่อยกัน โดยจะใช้ฟังเสียงลั่นกรอบๆแกรบๆ ของใบจากที่ปูไว้ เพื่อจับทิศทางผู้ต่อสู้ของตน กติกาการต่อยคือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุด ก็จะได้คะแนนใครได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะ ชก 3 ยก ยกละ 2 นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดี

  • ตะกร้อลอดบ่วง 

เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้ อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง 

  • ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง

เป็นการเชิญผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาหารและขนมในชุมชนต่างๆ มาออกร้านแสดงสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้านพื้นเมืองท้องถิ่นศรีราชา เช่น ห่อหมก ทองมัวน งบปิ้ง แจงลอน ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวเกียบปากหม้อ ข้าวต้มมัด ฯลฯ

  • การจัดพิธีกองข้าวบวงสรวง

เป็นประเพณีความเชื่อของชาวศรีราชาที่มีอาชีพด้านการประชุม ซึ่งก่อนจะออกเรือไปจับปลาต้องมีการไหว้พวกผีปีศาจ และเมื่อมีเวลาว่างประมาณเดือน 4  ชาวบ้านจะมารวมกันและนำอาหารมาไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ผีไม่มีญาติ โดยนำเอาอาหารใส่กระทงไหว้ และอาหารที่เหลือจะแบ่งกันรับประทาน โดยไม่เอากลับบ้าน ต่อมาเทศบาลเมืองศรีราชาได้จัดพิธีโดยได้เชิญพราหมณ์จากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร มาเป็นผู้ประกอบพิธี และตั้งเครื่องบวงสรวงอย่างถูกต้อง

  • การประกวดแห่รถประเพณีกองข้าว

การจัดกิจกรรมการประกวดได้เชิญหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน องค์กรต่างๆ และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา เข้าร่วมการประกวดและมีรางวัลมอบให้ผู้ชนะการประกวด 

  • การแสดงแสงสีเสียง

เป็นการแสดงระบบการใช้แสงสีที่สวยงามย้อมบริเวณสถานที่จัดงานให้เป็นบรรยากาศแบบย้อนยุค พร้อม ระบบเครื่องเสียงระบบก้องรอบทิศทาง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา โดยมีผู้บริหารหน่วยงานจังหวัด และอำเภอ มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

งานกองข้าว ในปัจจุบันชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านนำข้าวสารมากองรวมกันก่อเป็นรูปเจดีย์เรียกว่า บุญกองข้าวใหญ่  ซึ่งเป็นการแสดงถึงความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญทำบุญข้าวเปลือกเพื่อรำลึกถึงพระคุณของข้าว เป็นการขอขมาพระแม่โพสพ โดยข้าวที่แต่ละบ้านนำมากองรวมกันทั้งหมด เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะนำไปขายเพื่อนำเงินไปบริจาคให้กับทางวัดทั้งหมด นอกจากคนในพื้นที่จะได้ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามแล้ว งานกองข้าว แสดงถึงความเชื่อความศรัทธา รวมถึงเป็นการสร้างความสนุกสนานให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวอีกด้วย

งานกองข้าว

งานกองข้าว ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

งานกองข้าว ศรีราชามีพิธีกรรม ขั้นตอน การปฏิบัติที่ควรแก่การอนุรักษ์ งานกองข้าว ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ลูกหลานชาวศรีราชาเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความสามัคคีให้ทุกคนในชุมชน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์ให้กับชาวศรีราชาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและมีแห่งเดียวในประเทศไทย

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

sa-game.bet เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เราคือ คาสิโนออนไลน์ ตัวแทนโดยตรงจาก SA gaming ในนามของ SA-Game เรามีบริการหลากหลายในเกมพนัน ไม่ว่าจะเป็น บาคาร่าออนไลน์ , เสือมังกรออนไลน์ , รูเล็ตออนไลน์ ให้ท่านได้เล่นอย่างจุใจผ่านระบบออนไลน์ Live Steam (ไลฟ์สด)

Categories
กิจกรรม ข้อมูล ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีอันงดงามของจันทบุรี

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ของชุมชนโบราณ

ประเพณีชักพระบาท เป็นประเพณีของชาวจันทบุรี ในตำบลตะปอน ซึ่งถือเป็นชุมชนเก่าแก่ของอำเภอขลึง ในอดีตผู้คนแถบนี้ประกอบอาชีพทำนาและประมง ต่อมาก็หันมาปลูกพืชผักผลไม้ แต่ยังคงรักษาสภาพความเป็นอยู่แบบเก่า โดยสังเกตได้จากตัวอาคารบ้านเรือนที่ยังคงรักษารูปแบบโบราณไว้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นชุมชนเก่าแก่จึงไม่แปลกที่ตำบลตะปอนจะมีประเพณี วัฒธรรม และการละเล่นแบบโบราณที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านในตำบลตะปอนจะมีการแห่พระบาท มีงานบุญที่ทำร่วมกันที่วัด เมื่อเสร็จงานบุญ ทุกคนก็จะร่วมกันเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท 

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าที่มาพร้อมกับความเชื่อ

ประเพณีชักพระบาท ความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ตามความเชื่อของคนในสมัยก่อนเชื่อว่า “รอยพระบาท” สามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ระบาดในหมู่บ้านได้ ซึ่งในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร ปีใดมีโรคระบาดก็จะทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ชาวบ้านก็จะนำพระบาทจำลองออกแห่ ในการแห่นี้จะม้วนผ้าให้กลมแล้วเอาผ้าห่อข้างนอกอีกหลายชั้นหลังจากนั้นก็นำไปใส่ไว้บนเกวียน พร้อมทั้งประดับเกวียนที่บรรทุกพระบาทจำลองให้สวยงาม และจะมีคนตีกลองนั่งอยู่บนเกวียนนั้นด้วย การแห่พระบาทจะแห่ไปตามที่ต่างๆ ที่สามารถนำเกวียนไปได้ ถ้าบ้านใดมีผู้คนเจ็บป่วยมากก็จะอัญเชิญพระบาทจำลองนี้ขึ้นไปบนบ้าน มีพระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ไปทั่วๆ โรคภัยไข้เจ็บนั้นก็จะหายหรือเบาบางลง ต่อมาเมื่อการแพทย์เริ่มเจริญขึ้น โรคระบาดน้อยลง การแห่พระบาทจำลองก็เปลี่ยนแปลงไป คือเปลี่ยนจากแห่มาเป็นชักกะเย่อแทน จึงถือว่า ประเพณีชักพระบาท มาจากการแห่พระบาทในสมัยก่อน โดย ประเพณีชักพระบาท ถือเอาวันสำคัญหลังสงกรานต์ ประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ในการชักกะเย่อนี้จะให้ชายและหญิงอยู่คนละข้าง โดยผูกเชือกติดอยู่กับเกวียน ขณะที่ทั้งสองฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองที่อยู่บนเกวียนจะตีกลองรัว จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายชนะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเพราะสามารถลากพระบาทได้ 

ฝ่ายแพ้ก็จะขอแก้ลำใหม่ เพื่อต้องการชนะบ้าง ถือเป็นเรื่องสนุกสนาน หลังจากวันสงกรานต์ชาวบ้านจะนำรอยพระบาทไปบำเพ็ญตามแยกทางเข้าหมู่บ้านต่างๆ แห่งละ 1-2 วัน นับตั้งแต่หมูบ้านตะปอนน้อยไปจนถึงหมู่บ้านหนองเสม็ด เพื่อเป็นการฉลองรอยพระบาท หลังสวดพุทธมนต์ ประชาชนจะนำเกวียนที่มีรอยพระบาทนั้นมาชักเย่อ เช้าวันรุ่งขึ้นจะมีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นอันเสร็จพิธี ระยะเวลาที่ชาวบ้านนำรอยพระบาทไปทำพิธีตามสถานที่ต่างๆในตำบลตะปอน ใช้เวลาร่วม 1 เดือน ถือได้ว่ารอยพระบาทจำลองนี้เป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลของชาวตบ้านตำบลตะปอน

การเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทเป็นการเล่นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ ดังนี้

  • ลักษณะการเล่นที่แข่งชักเย่อตัวเกวียน ซึ่งเป็นยานพาหนะสำคัญที่ใช้ในสมัยโบราณ ไม่พบเห็นในประเทศอื่น ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย
  • การบรรทุกผ้าพระบาท ที่มีรอยพระพุทธบาทจำลองของพระพุทธเจ้าไว้บนเกวียน ขณะทำการเล่นเป็นกีฬาที่พัฒนามาจากพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ แฝงด้วยความเชื่อและค่านิยม ที่ส่งเสริมการทำความดีตามหลักพุทธศาสนา มีความหมายและความสำคัญยิ่งค่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
  • การเล่นที่มีการตีกลองเร่งเร้าให้จังหวะประกอบการเล่น สร้างความสนุกสนาน คึกคัก เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้ทั้งผู้เล่น และผู้ชม ถือเป็นลักษณะการเล่นที่โดดเด่นเฉพาะท้องถิ่น

ประเพณีชักพระบาท ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ เพราะสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล สามารถเดินทางได้ถึงจังหวัดทางภาคใต้ได้ไม่ยากนัก แต่ลักษณะการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันน่าจะมาจากสภาพลักษณะภูมิประเทศ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ และวิถีชีวิต สังเกตได้จากทางใต้นั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพทำการประมง จึงใช้เรือเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง การประกอบอาชีพ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ส่วนจังหวัดจันทบุรีนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตมีการนำเกวียนมาบรรทุกพืชผลทางการเกษตร และเป็นพาหนะในการเดินทาง จึงได้นำเกวียนมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย

ประเพณีชักพระบาท ประเพณีที่เป็นสิริมงคลต่อชาวบ้าน

การแห่พระพุทธบาทและการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท เป็นความเชื่อความศรัทธาของชาวตำบลตะปอนและตำบลใกล้เคียงมาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี  ประเพณีชักพระบาท ประเพณีเก่าแก่ ที่เป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้าน หากใครได้จูงหรือชักเย่อเกวียนพระบาทได้ปีละ 3 ครั้ง ก็จะประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความโชคดี ไม่มีโรคภัย นอกจากนี้การแห่ผ้าพระบาทตามหมู่บ้านต่างๆ จะไปสิ้นสุดวันสุดท้ายคือ วันที่ 30 เมษายน ที่บ้านป่าคั่น นับว่าเป็นตำบลที่ทำบุญสงกรานต์ยาวนานที่สุดในประเทศ ดังนั้น ประเพณีชักพระบาท ถือเป็นประเพณีที่ชาวตำบลตะปอนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เป็นประเพณีที่หนึ่งปีมีครั้งเดียว ถือเป็นสิริมงคลต่อชีวิตของชาวบ้านในตำบลเป็นอย่างมาก

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

hilospec.com แค่สมัครสมาชิกกับเว็บไฮโลของเรา แบบไม่ต้องฝาก โปรโมชั่นเติมเงิน โปรโมชั่นถอนเงิน ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ หรือจะเป็นโบนัสเงินรางวัลจากการเล่น ยิ่งเล่นเยอะยิ่งได้เงินเยอะ แถมเรายังมีโปรโมชั่นสำหรับคนที่เชิญเพื่อนยิ่งเชิญเพื่อนเยอะยิ่งได้เงินจากการเล่นเดิมพันเยอะ

Categories
กิจกรรม ข้อมูล ประเพณี

ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีอ้อนวอนขอฝน

ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีเก่าแก่ของไทยที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ

พิธีแห่นางแมวไม่ใช่พิธีที่ทำกันเป็นประจำทุกปีเหมือนสงกรานต์ หรือสารท อันเป็นพิธีกรรมที่มีวาระกำหนดแน่นอน เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตปกติของคนทั่วไป ประเพณีแห่นางแมว เป็นพิธีที่ทำกันเฉพาะเมื่อยามเกิดความไม่ปกติขึ้นในชีวิตชาวนา คือฝนแล้ง ประเพณีแห่นางแมว จึงสะท้อนพฤติกรรมที่ไม่ปกติของชุมชนชาวนาไทย หลายต่อหลายอย่าง อันไม่อาจถือได้ว่า เป็นแบบแผนความสัมพันธ์ตามปกติของสังคม

ประเพณีแห่นางแมว พิธีเรียกฝนของชาวเกษตรกร

ในสังคมเกษตรกรรมซึ่งนํ้าฝนมีความสำคัญอย่างมากต่อการเริ่มเพาะปลูกพืชพันธุ์ ถ้าปีใดฝนมาช้า พื้นดินแห้งแล้ง ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ก็จะเกิดความเดือนร้อนไปทั่ว เกิดความอดอยากยากจน ไม่มีข้าวพืชไร่ไว้เลี้ยงชีพไว้ขาย สำหรับเอาเงินมาใช้จ่ายในเรื่องอื่น ๆ ในสังคมเกษตรกรรมจึงมีพิธีอันเนื่องมาจากความเชื่อที่จะทำลายอำนาจที่ทำให้ฝนแล้ง บันดาลให้ฝนตกลงในเทศกาลดังกล่าว เพื่อที่จะเริ่มชีวิตเกษตรกรรม ในสังคมไทยมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความเจริญงอกงามที่ประพฤติเป็นประเพณีสืบต่อกันมา คือ ประเพณีแห่นางแมว การที่ทำพิธีแห่นางแมว เพราะมีความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่กลัวนํ้าคนโบราณมีความเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ และมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความสามารถในการเรียกฝนมาได้ และมีความเชื่ออีกว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกเมื่อไหร่ แมวจะร้องทันที และนั่นก็ถือว่าเป็นเคล็ดของคนภาคอีสานที่บอกว่าถ้าแมวร้อง แสดงว่าฝนกำลังจะตก จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อว่าแมวทำให้ฝนไม่ตก จึงต้องจับแมวมาตระเวนแห่และให้ผู้คนตักนํ้ารดราดแมวจนแมวเปียกหนาวสั่น เพื่อทำลายความเป็นตัวแล้งให้หมดไป การแห่นางแมวของชาวบ้านจะทำในปีที่ฝนมาช้า

สิ่งสำคัญที่ใช้ในประเพณีการแห่นางแมว

  • กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดข้างบน
  • แมว
  • เทียน 5 คู่
  • ดอกไม้ 5 คู่ 
  • ไม้สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 2 ท่อน

พิธีจะเริ่มต้นตั้งแต่บ่ายโมงจนมืดค่ำซึ่ง พิธีการแห่นางแมวนั้นจะต้องใช้คน 15-20คน และทำการคัดเลือกแมวที่เป็นเพศเมียที่มีลักษณะสวยงาม สายพันธุ์สีสวาด เพราะแมวพันธุ์นี้มีสีขนคล้ายสีของเมฆฝน หรือจะใช้แมวดำก็ได้ ต้องใช้แมวจำนวน 1-3 ตัวโดยชาวบ้านจะเอาแมวส่ชะลอมเข่งหรือตะกร้า เอาฝาปิดให้แน่น เอาไม้คานสอดเข้าแล้วหาบไป มีคนแห่แวดล้อมนางแมวคนหนึ่งถือพานนำหน้าร้องเชิญให้ทุกคนมาร่วมพิธีขอฝน นอกนั้นก็มีเครื่องดนตรีประกอบเพลง เช่น กลอง กรับ ฉิ่ง เมื่อเคลื่อนขบวนออกเดิน ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความคล้ายกันหรือเพี้ยนแตกต่างกันบ้าง แห่ไปตามละแวกบ้านจนทั่วแล้วก็กลับ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใคร เจ้าบ้านจะเอาภาชนะตักนํ้าสาดลงไปในชะลอมเข่งหรือตะกร้าที่ขังแมว เจ้าของบ้านจะให้รางวัลแก่พวกแห่นางแมว เป็นเหล้า ข้าว ไข่กับขนมหรือเป็นเงินใส่พาน ทำเช่นนี้เรื่อยไป บางคนนึกสนุกก็มาร่วมร้องรำตามขบวนไป จนกว่าจะเย็นคํ่าและเลิกขบวนไปในที่สุด เนื่องจาก ประเพณีแห่นางแมว ทำในช่วงอากาศร้อนสุด ฝนจึงตกลงมาในวันนั้น ทำให้พิธีดูขลังมากขึ้น พิธีแห่นางแมวขอฝน ดูจะเป็นความเชื่อที่ไร้เหตุผล เพราะสภาพความแห้งแล้งนั้นเป็นเพราะสภาพของธรรมชาติที่มีฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว เปลี่ยนหมุนเวียนไปทุก 4 เดือน แต่ ประเพณีแห่นางแมว ทำขึ้นเพื่อความสนุก ในสังคมท่ามกลางธรรมชาติที่แห้งแล้ง การที่ออกมาร่วมขบวนร้องเพลง เล่นดนตรีพื้นบ้านก็ทำให้เกิดความบันเทิงพอที่จะลืมสภาพเดือดร้อน ถ้าฝนไม่ตก นาไร่จะแห้งแล้ง ผู้คนจะอดอยากอาจจะยากจนถึงกับต้องขายลูกหลานสัตว์เลี้ยงไป แต่ถ้าฝนตกสามารถทำนาได้ ชีวิตก็จะมีความสุขสดชื่นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์พืช มีการฉลองยกใหญ่ 

ปัจจุบัน ประเพณีแห่นางแมวขอฝน มีปรากฏจริงในบางพื้นที่ เพราะปัจจุบันมีการกักเก็บนํ้าไว้ใช้ในการทำนาโดยไม่ต้องพึ่งธรรมชาติ มีการสร้างฝนเทียมขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดความแห้งแล้ง ในสังคมอุตสาหกรรมและสังคมเกษตรกรรม แม้ ประเพณีแห่นางแมว อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่อดีต แต่ในปัจจุบันพิธีแห่นางแมวขอฝนอาจจะเลือนหายไปจากชีวิตจริง เหลือขบวนแห่นางแมวขอฝนไว้ในขบวนที่เป็นการสาธิตในขบวนแห่ทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเลือนหายไป พิธีแห่นางแมวขอฝนก็จะเลือนหายตามไปด้วย

ประเพณีแห่นางแมว พิธีที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในชุมชน

ประเพณีแห่นางแมว ไม่เพียงแค่ทำเพื่อขอฝนอย่างเดียว แต่มีจุดประสงค์แฝงคือเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีจากคนในชุมชน จากการที่ร่วมกันทำพิธีแม้ว่าพิธีแห่นางแมวไม่ได้รวมทุกคนในหมู่บ้านไว้ในขบวน แต่ชาวบ้านทั้งหมดก็ร่วมอยู่ในพิธี เพราะขบวนแห่นางแมวกดงัลก่าวจะพานางแมวไปทั่วทุกหลังคเรือนของหมู่บ้าน ให้ทุกคนได้เอาน้ำสาดแมวในชะลอม ทำให้ ประเพณีแห่นางแมว สร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้แก่คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่เป็นพิธีเรียกฝนที่หลายคนพูดกันว่าเป็นพิธีที่งมงายแต่อย่างใด

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

 

hilospec.com แค่สมัครสมาชิกกับเว็บไฮโลของเรา แบบไม่ต้องฝาก โปรโมชั่นเติมเงิน โปรโมชั่นถอนเงิน ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ หรือจะเป็นโบนัสเงินรางวัลจากการเล่น ยิ่งเล่นเยอะยิ่งได้เงินเยอะ แถมเรายังมีโปรโมชั่นสำหรับคนที่เชิญเพื่อนยิ่งเชิญเพื่อนเยอะยิ่งได้เงินจากการเล่นเดิมพันเยอะ