Categories
เทศกาล

งานเทศกาลชลบุรี 2567 สนุกสนานพร้อมครอบครัวได้ทั้งปีแบบไม่มีเบื่อ

งานเทศกาลชลบุรี 2567

ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จัก งานเทศกาลชลบุรี 2567 เป็นงานที่น่าสนใจ และขึ้นชื่อมาก สามารถสนุกสนานพร้อมกับ ครอบครัวได้ตลอดทุกเดือน แบบไม่มีซ้ำไม่มีเบื่อ หรือใครชอบท่องเที่ยวคนเดียว ก็สามารถมาเพลิดเพลินพักผ่อน ได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกัน 

สำหรับงานประเพณีชลบุรีมีอะไรบ้างนั้น จะขอได้เรียงให้ทุกคนได้ทราบ ตั้งแต่ต้นเดือนยันท้ายปี ว่าชลบุรีมีงานอะไรวันนี้บ้าง หรืองานหน้าศาลชลบุรี มีวันไหน ทำให้นักท่องเที่ยวทุกคนวางแผนล่วงหน้าได้อย่างสบายใจ และไม่มีทางพลาดงานเทศกาลชลบุรี  หรือ งานวัดชลบุรี 2567 แม้แต่ครั้งเดียว รับประกันได้เลยว่า คุณจะต้องชื่นชอบและ มีความสุขมากทุกครั้งที่ได้มาสัมผัส

งานเทศกาลชลบุรี 2567

งานประเพณีชลบุรีมีอะไรบ้าง ในช่วงต้นปี 2567 

สำหรับชลบุรีมีงานอะไรวันนี้ งานวัดชลบุรี 2567 หรือ งานหน้าศาลชลบุรีมี วันไหน นั้นเรามาเริ่มต้นในงานงานประเพณีชลบุรีมีอะไรบ้าง ในต้นปี ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ด้วยงานที่ยอดนิยมซึ่งได้รับความสนใจ จากคนไทยและชาวต่างชาติในทุกปี ที่นักท่องเที่ยวทุกคนสามารถ ชมการแข่งขันที่ตื่นเต้นเร้าใจ และความสวยงามของ ดอกไม้นานาพันธุ์อย่างเบิกบานใจ รวมถึงสายรักสุขภาพและสายออกกำลังกาย สามารถร่วมสนุกกับงานเทศกาลชลบุรีได้อย่างมีความสุข

  1. งานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ที่ได้นำ OTOP ขึ้นชื่อมาให้ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของจังหวัด 
  2. งานแข่งขันเจ็ตสกีและเรือเร็วท้องถิ่น เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นทุกวันที่ 5-7 มกราคม 
  3. งานพฤกษาตะวันออก ที่จะขึ้นเป็นครั้งที่ 16  ช่วงของวันที่ 19-28 มกราคม
  4. งานวิ่ง Pong Mabprachan Run 2024 ที่มีบรรยากาศสองข้างทางดีที่สุดแห่งหนึ่ง 
  5. วิ่งเพื่อสุขภาพ Nongprue City Run มีระยะการวิ่งที่หลากหลาย เลือกแข่งขันได้ตามต้องการ 

สนุกแบบชื่นช่ำทั้งตัวและหัวใจ กับงานเทศกาลชลบุรีเดือนเมษายน 

เปิดเดือนด้วยงาน เทศกาลประจำปี คืองานแห่พระพุทธสิหิงค์ และงานกาชาดจังหวัดชลบุรี ซึ่งงานประเพณีชลบุรีมีอะไรบ้าง เริ่มจากงานสรงน้ำและนมัสการพระพุทธสิหิงค์ ถือว่าเป็นงานวัดชลบุรี 2567 ที่มีคนตั้งตารอมากที่สุด ซึ่งจะมีประเพณีการแห่ไปรอบตัวเมือง ให้ผู้คนนั้นได้รดน้ำขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล สำหรับงานหน้าศาลชลบุรี มีวันไหน งานเทศกาลนั้นจะเริ่มในช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ชลบุรีมีงานอะไรในวันนี้เพิ่มเติมน่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานกาชาดประจำจังหวัดที่ขึ้นชื่อ ร่วมลุ้นรางวัลใหญ่มากมาย ชมการแสดงจากศิลปินชื่อดังยอดนิยม และสนุกสนานกับสงกรานต์ของงานเทศกาลชลบุรี 2567ที่ยิ่งใหญ่ 

เต็มอิ่มกับทุกงานเทศกาล ที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรพลาด 

งานเทศกาลชลบุรี ยังมีอีกมากมายให้ทุกคนได้ท่องเที่ยวไปจนถึงสิ้นปี  ไม่ว่าจะเป็นงานวัดชลบุรี 2567 และงานประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเราจะขอรวบรวมมาทั้งหมดเพื่อให้กับทุกคนได้ทราบ และวางแผนการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง อาทิเช่น ชลบุรีมีงานอะไรวันนี้ งานหน้าศาลชลบุรี มีวันไหนบ้าง รวมไปถึงแนะนำงานประเพณีชลบุรีมีอะไรบ้าง ที่น่าสนใจ และต้องห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด สำหรับงานที่จัดขึ้นนี้ มีลักษณะงานทั้งแบบพื้นบ้าน และงานแบบสากล ให้ทุกคนได้เลือกท่องเที่ยวอย่างที่ตัวเองต้องการครบทุกอย่าง

  • งานบุญกลางบ้าน และงานเครื่องจักสานพนัสนิคม เป็นงานแห่เครื่องจักสานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก 
  • งานพัทยามาราธอน ซึ่งจัดแข่งขันช่วงกลางปีเป็นประจำ เป็นงานมาราธอนที่ได้รับความสนใจที่สุด
  • พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล งานดนตรีที่จะขึ้นบริเวณเลียบชายหาดพัทยา
  • งานเทศกาลปลาหมึกและอาหารทะเลริมชายหาด ที่มีแต่อาหารทะเลอร่อยมากมายนับไม่ถ้วน
  • งานประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดชลบุรี ที่มีมากว่า 100 ปี 

สำหรับจังหวัดชลบุรีนั้น เป็นจังหวัดที่มีความสวยงาม มีความสะดวกสบาย สำหรับนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีที่พักและที่จอดรถคอยอำนวยความสะดวก แบบไม่เป็นสองรองใคร  รวมถึงมีงานเทศกาลตลอดทั้งปี สามารถมาท่องเที่ยวด้วยตัวเอง หรือมาท่องเที่ยวทั้งครอบครัว 

งานเทศกาลชลบุรี 2567 ยังมีความหลากหลาย มากที่สุดอยู่ในจังหวัดเดียว จึงไม่แปลกใจที่จะเป็นจุดหมายปลายทางของใครหลาย ๆ คน ที่สำคัญการเดินทางง่าย และควรไปสัมผัสสีสัน ความสนุกของชลบุรีสักครั้งหนึ่งให้ได้ รับรองได้ชาร์จพลังจนเต็ม และความประทับใจพร้อมรอยยิ้มกลับมาทุกครั้ง

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย

Categories
เทศกาล

พาชม เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อ ตามฤดูกาล ช่วงเวลาแห่งความอร่อยที่คุณไม่ควรพลาด!

ประเทศไทยได้นับว่าเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด มี เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อ ตามฤดูกาลให้กินตลอดปี แต่ถ้าคุณอยากกินผลไม้ที่มีราคาถูก สดใหม่ และได้คุณภาพ ต้องเลือกกินผลไม้ตามฤดูกาล เนื่องจากมีปริมาณมาก แถมยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยอีกด้วย ในบทความนี้เราจะพูดถึงประเพณีเทศกาลผลไม้ทั้งของไทยและต่างประเทศ เรามาดูกันว่าเทศกาลผลไม้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และผลไม้ตามฤดูกาลของไทยมีอะไรบ้าง ?

เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อ

เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อ ตามฤดูกาลคืออะไร ?

เทศกาลผลไม้มีประวัติที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะในระยะเวลา 1 ปี ตามสภาพอากาศแต่ละพื้นที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ซึ่งในฤดูกาลที่แตกต่างกัน การออกผลของผลไม้แต่ละฤดูกาล ก็แตกต่างกันไปด้วย เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อตามฤดูกาล คือ งานที่จัดขึ้น เพื่อนำเสนอผลไม้ประจำท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูรายได้ให้กับเกษตรกร ส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกันดี มักจะเป็นผลไม้จากภาคตะวันออก และอีกหลาย ๆ จังหวัด ที่เป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต

เทศกาลผลไม้ในต่างประเทศสุดแปลก ที่หลายคนจะต้องทึ่ง

เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อตามฤดูกาล ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเทศกาลผลไม้ในต่างประเทศอีกด้วย อย่างเทศกาลสาดผลไม้สุดมันส์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เทศกาลปาส้ม ประเทศอิตาลี , เทศกาลปามะเขือเทศ ประเทศสเปน , เทศกาลปาองุ่น ประเทศออสเตรเลีย และเทศกาลสาดไวน์ ประเทศสเปน เรียกได้ว่าเป็นประเพณีเทศกาลผลไม้สุดแปลก ที่มีสร้างความตื่นตาตื่นใจได้เป็นอย่างมาก

เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อของแต่ละภูมิภาคที่แนะนำมีอะไรบ้าง ?

สำหรับงานเทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อของไทย ที่จัดขึ้นในแต่ละภูมิภาคมีแนะนำอยู่หลายที่เลยทีเดียว เพราะเมืองไทยขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทำเลที่ตั้งและความชื้นในชั้นบรรยากาศ ทำให้ผลไม้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และนี่คือรายการเทศกาลผลไม้ประจำปี 2567 ที่คุณไม่ควรพลาด

  • เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อและของดีเมืองแกลง จังหวัดระยอง

ประเพณีเทศกาลผลไม้เมืองแกลง จังหวัดระยอง เป็นเทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อตามฤดูกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ภายในงานมีผลไม้ตามฤดูกาลต่าง ๆ ให้เลือกชิมมากมาย แถมยังซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน มังคุด ลองกอง และสละ มีผลไม้ให้เลือกเยอะยังไม่พอ งานเทศกาลผลไม้ประจำปี 2567 ที่กำลังจะถึงในเดือนพฤษภาคมนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ร่วมสนุกอีกเพียบ เช่น การทำอาหารพื้นบ้านจากผลไม้ เป็นต้น

  • บุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้เมืองคอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

มาต่อกันที่ประเพณีเทศกาลผลไม้เมืองคอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เน้นส่งเสริมผลไม้ชื่อดังอย่าง “ทุเรียน” โดยตรง ภายในงานคุณสามารถเลือกทานทุเรียนได้ในราคาบุฟเฟ่ต์ จ่ายเพียง 239 บาท ทานได้ไม่อั้น หลังจากเปิดตัวโครงการ ปรากฏว่าได้รับกระแสความนิยมเป็นอย่างมาก โดยงานเทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดขึ้นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

  • เทศกาลผลไม้เกาะช้าง จังหวัดตราด

เทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดตราด เป็นประเพณีเทศกาลผลไม้ที่จัดกันมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อประชาสัมพันธ์ในส่วนของทุเรียนชะนี ที่เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดตราด นอกจากนี้ยังมีผลไม้ชนิดอื่น ๆ ให้เลือกซื้อในราคาถูกอีกมากมาย เช่น เงาะ ระกำ มังคุด ภายในงานมีการประกวดธิดาระกำหวาน การแข่งขันประกอบอาหาร , การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน , การแข่งขันส้มตำลีลา เป็นต้น 

  • เทศกาลผลไม้ลำไย จังหวัดลำพูน

ในส่วนของภาคเหนือตอนบนอย่างจังหวัดลำพูน ก็มีเทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อประจำฤดูเช่นเดียวกัน ซึ่งงานนี้จะจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม ภายในงานประเพณีเทศกาลผลไม้จังหวัดลำพูน มีสินค้าคุณภาพจากกลุ่มล้านนามากกว่า 200 ร้านค้า มีการประกวดธิดาชาวสวนลำไย รวมถึงการให้ความรู้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีวงดนตรีและศิลปินชื่อดังมากมายร่วมแสดงโชว์ เพื่อมอบความสนุกให้กับผู้คนในงานอีกด้วย

บทส่งท้าย

ผลไม้ตามฤดูกาลอาจจะแตกต่างกันไป ตามสภาพอากาศและภูมิประเทศ การเลือกผลไม้ตามฤดูกาลที่สมบูรณ์ ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในเบื้องต้นเล็กน้อย เพื่อให้ได้ผลไม้ที่สดใหม่ รสชาติอร่อย ถูกหลักอนามัย สำหรับใครที่อยากหาความรู้เกี่ยวกับผลไม้ตามฤดูกาลเพิ่มเติม หรืออยากชิมผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดต่าง ๆ สามารถเลือกชมจากเทศกาลผลไม้ขึ้นชื่อตามฤดูกาล ตามที่เราแนะนำได้เลย รับรองว่าได้ทั้งความรู้ แถมยังอิ่มท้อง และได้เลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลในราคามิตรภาพอีกด้วย

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย

Categories
เทศกาล

เทศกาลงานทุเรียนโลก ของดีเมืองจันท์ แค่ปีละครั้งต้องห้ามพลาด 

ในจังหวัดเขตฝั่งทะเลตะวันออกของไทย นั้นเต็มไปด้วยท้องทะเล และสวนผลไม้ชนิดต่าง ๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ก็จะเป็น เทศกาลงานทุเรียนโลก ซึ่งเป็นฤดูของผลไม้ชนิดต่างๆ  ที่จะให้ผลผลิตกับชาวสวนกันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุดลองกอง ลางสาด สละ ซึ่งมีหลายพันธุ์  หลายชนิด  ในจังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด  เป็นพื้นที่ผลิตผลไม้ ชนิดต่าง ๆจำนวนมาก ออกมาสู่ตลาดในทุกๆ ปี  เทศกาลงานทุเรียนโลก จันทบุรี จึงกลายเป็นแหล่งตลาดผลไม้ขนาดใหญ่ ของประเทศ  แต่ละจังหวัดก็จะมีการจัดงานและกิจกรรมเกี่ยวกับผลไม้ กันอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อสื่อให้เห็นว่าภูมิภาคแถบนี้ยังเต็มไปด้วยผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง

เทศกาลงานทุเรียนโลก แวะกินของดี ของอร่อย ถูกใจสมคำร่ำลือ  

นับเป็นกิจกรรมประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง และอย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า เทศกาลงานทุเรียนโลกของเรานั้นจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี วันนี้เราจึงได้รวบรวม ความน่าสนใจของเทศกาลงานทุเรียนโลก ของดีเมืองจันท์  ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการเกษตร อาหารพื้นบ้าน ของดีเมืองจันท์ และศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น มากมายให้ผู้ที่มาเที่ยวชมงานได้เที่ยวชม และเลือกซื้อหาผลไม้และสินค้าที่ขึ้นชื่อของเมืองจันท์ติดไม้ติมือกลับไปเป็นของฝาก

  • งานมหกรรมทุเรียนโลก ซึ่งจะจัดที่บริเวณสวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมีการประกวดรถประดับผลไม้ หรือแพผลไม้ การประกวดธิดาชาวสวนการประกวดผลไม้ที่มีชื่อเสียงของภาคตะวันออก ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด สละ กระท้อน การประกวดสุนัขพันธุ์แสนรู้  ภายในเทศกาลงานทุเรียนโลก จัดทุกปี แบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่โซนที่ 1 เป็นโซนจำหน่ายผลไม้ จำนวนกว่า 100 คูหาพร้อมอุโมงค์ผลไม้ กิจกรรมชิมฟรีผลไม้ แข่งกินผลไม้โซนที่ 2 เป็นเวทีกลางและเวทีเปิดงานโซนที่ 3 เป็นโซนของดี 10 อำเภออาหารพื้นบ้าน ผลิตผลทางการเกษตร นิทรรศการและแหล่งท่องเที่ยวโซนที่ 4 ฟัน ปารค์ เป็นโซนสวนสนุก และมุมของเล่นสำหรับเด็กฟรีโซนที่ 5 เป็นโซนอาหารทะเล จำนวนกว่า 80 บูธโซนที่ 6 เป็นโซน Jewelry Center จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรมจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง และกิจกรรมหลากหลายต่างๆ 
เทศกาลงานทุเรียนโลก
  • ภายในงานมหกรรมทุเรียนโลก แบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่
โซนที่ 1 เป็นโซนจำหน่ายผลไม้ จำนวนกว่า 100 คูหาพร้อมอุโมงค์ผลไม้ กิจกรรมชิมฟรีผลไม้ แข่งกินผลไม้
โซนที่ 2 เป็นเวทีกลางและเวทีเปิดงาน
โซนที่ 3 เป็นโซนของดี 10 อำเภออาหารพื้นบ้าน ผลิตผลทางการเกษตร นิทรรศการและแหล่งท่องเที่ยว
โซนที่ 4 ฟัน ปารค์ เป็นโซนสวนสนุก และมุมของเล่นสำหรับเด็กฟรี
โซนที่ 5 เป็นโซนอาหารทะเล จำนวนกว่า 80 บูธ
โซนที่ 6 เป็นโซน Jewelry Center จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรมจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง และกิจกรรมหลากหลายต่างๆ ภายในงาน อาทิ
- การแข่งขันกินผลไม้
- การประกวดผลไม้
- การประกวดแพผลไม้
- อุโมงค์ผลไม้กินฟรี
- การโชว์กระโดดร่มจากสี่เหล่าทัพ
- ขบวนรถแห่ประดับประดา จัดด้วยผลไม้มากมาย
- การแสดง นิทรรศการ แพผลไม้ จากหน่วยงานราชการต่างๆ
- การแสดงของศิลปินนักร้องระดับประเทศ อาทิ โปงลางสะออน กระแต กระต่าย ศิลปินจากอาร์สยาม ดารานักแสดงชั้นนำ
- การแสดงจากศิลปินพื้นบ้าน
- การแสดงของนักเรียน นักศึกษา จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรี
- การประกวดธิดาชาวสวน
- การประกวดสุนัขแสนรู้
- ชมการทำทุเรียนกวนที่ใหญ่และยาวที่สุดในโลก
  • ทางด้านในมีอ่างเก็บน้ำทุ่งนาเชยหรือ (ทะเลสาบทุ่งนาเชย)  ทางด้านริมฝั่งนั้นเต็มไปด้วย แพผลไม้ ที่แต่ละอำเภอแต่ละหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดทำขึ้นอย่างสวยงามน่าดูชม  แต่ละแพทำเป็นสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ  ประดับด้วยผลไม้ชนิดต่าง ๆ เต็มไปหมด ซึ่ง เทศกาลงานทุเรียนโลกของดีเมืองจันท์ ของเรานั่น ก็จะมีชาวบ้านแต่ละอำเภอ นำของดีของอร่อย มาจัดโชว์ กันอย่างสุดขีด ไปต่อกัน ที่ซุ้มของเกษตรจังหวัด มีกิจกรรมการประกวดผลไม้ ชนิดต่าง ๆ เพื่อค้นหาของดีเมืองจันทร์ นอกจากนั้นยังประกวดผลไม้แปลก และผลไม้ใหญ่ยักษ์ รวมไปถึงการจัดแสดงนิทรรศการประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ Geographical Indication (GI) จังหวัดนนทบุรีเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการปลูกทุเรียนมานาน โดยเฉพาะทุเรียนนนท์ ซึ่งเป็นทุเรียนที่มีเนื้อละเอียดนุ่ม เนื้อหนา รสชาติดี และยังมีความหลากหลายของหลายสายพันธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของดินในแถบนนทบุรี ที่มีสภาพเป็นดินเหนียว มีธาตุอาหารของพืชอุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้ทุเรียนที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร เห็นอย่างนี้แล้วใครจะไปอดใจไหว เพราะของดีของอร่อย รวมเอาใว้ในงานนี้หมดแล้ว บอกเลยว่าใครมาไม่ถึงงานนี้พลาดมาก 

เทศกาลงานทุเรียนโลก นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ขึ้นชื่อ และจัดอย่างยิ่งใหญ่ของภาคตะวันออก ซึ่งจะจัดขึ้นประในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี มาเที่ยวภาคตะวันออกทั้งที อย่าลืมแวะ เทศกาลงานทุเรียนโลกจันทบุรี กันด้วยนะ 

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย

Categories
เทศกาล

เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวจันทบุรี

เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ

ณ ท่าเทียบเรือ หมู่ 2 ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี เดือนตุลาคมของทุกๆปี เป็นช่วงที่ปูแป้นลอย ตามกระแสน้ำ หรือเกาะตามใบไม้ จนทำให้คนที่ออกไปหาปูแป้น สามารถที่จะใช้สวิง ช้อนจับได้เลย ส่วนใหญ่ เขาก็จะออกไปจับปูแป้นกัน ในเวลากลางคืน โดยเจ้าปูแป้น จะออกมาลอยน้ำ เป็นจำนวนมาก หลังจาก คืนวันลอยกระทง ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำขึ้น เต็มที่ในรอบปีส่วนใหญ่ คนจันทบุรี ก็จะนำเอาปูแป้นไปทำอาหาร ไปปรุงอาหาร หลากหลาย ไม่ว่าจะเอาไปผัดกับก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ หรือจะเป็นเมนูฮิตอย่าง ปูแป้นดองน้ำปลา ซึ่งเป็นเมนูที่ทำรายได้ ให้กับคนในจังหวัดจันทบุรี โดย เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ มีประชาชน นักท่องเที่ยวจำนวนมากร่วมงานภายในงานจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การแข่งขันกินส้มตำปูแป้น แข่งขันกินก๋วยเตี๋ยวผัดปูแป้น แข่งขันลอกใบจาก แข่งขันต่อ จิ๊กซอทะเล ชักเย่อพระบาทเกวียน ตกปู ตกกุ้ง ตกปลา และการหาหอยพอก การจัด เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติของดีเมืองจันท์ ในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนตำบลเกวียนหักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมการเรียนรู้และศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน และ เป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตำบลเกวียนหักให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ ความมหัศจรรย์ที่หาชมได้ยาก

เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ

ในช่วงนี้ปูแป้นที่อยู่ในบริเวณป่าชายเลนจะออกไปวางไข่ที่ปากแม่น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาชมได้ยาก ทางเทศบาลตำบลเกวียนหัก จึงได้จัดเทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลเกวียนหัก กลุ่มผู้ประกอบการเรือเล็กรักษาสิ่งแวดล้อม และชาวบ้านในตำบลเกวียนหัก ส่งเสริมให้ เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมา  ปูแป้น คือ อะไร ปูแป้น มีหลายชื่อ นอกจากชื่อปูแป้น แล้วยังมีปูจาก หรือปูใบไม้ มีขนาดตัวเล็ก ประมาณ 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น กระดอง มีสีน้ำตาลแซมสีเหลือง เนื่องด้วย ความที่กระดอง มีลักษณะแบนและแป้น จึงถูกชาวบ้านเรียกว่าปูแป้น นั่นเอง  ปูแป้น ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับปูแสม แต่ว่าผิวของกระดองเรียบกว่า และมีขนาดตัว ที่เล็กกว่าปูแสม แต่เป็นปูที่ไม่มีการขุดรูอยู่ จะอาศัย หลบอยู่ตามโคนต้นไม้ ในช่วงกลางวัน และในช่วงกลางคืน ปูแป้น ก็จะทำการออกหากิน ส่วนมาก สามารถพบได้ทั่วไป ของหลายจังหวัดในประเทศไทย ไม่ว่า จะเป็นทั้งทางภาคตะวันออก แม้กระทั่งทางฝั่งอ่าวไทย ยาวไปจนถึง ภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งทะเลด้วย ปูแป้น ซึ่งถือเป็นปู 2 น้ำ เพราะว่า ตอนที่เป็นตัวอ่อน ตอนเป็นปูเด็ก ๆ ก็จะอาศัยอยู่ในทะเลจากนั้น เจ้าปูแป้น ก็จะลอยตามน้ำ ขึ้นมาอาศัย ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อย จน โตเต็มวัย เข้าสู่ฤดูสืบพันธุ์ เจ้าปูแป้น ก็จะไปผสมพันธุ์ แล้วก็ไปปล่อยไข่ ไว้ในทะเล ช่วงสืบพันธุ์ของปูแป้น ก็จะอยู่ในช่วง เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม โดยจะพบมากที่สุด ในประเทศไทย แถว ๆ บริเวณ ลำคลองที่อยู่ใน ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี เนื่องจากสาเหตุนี้ จึงทำให้ เกิดงาน เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติจันทบุรี นั่นเอง

ซึ่งในงานเทศกาล  มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น การแข่งขันกินส้มตำปูแป้น แข่งขันกินก๋วยเตี๋ยวผัดปูแป้น แข่งขันต่อจิ๊กซอทะเล แข่งขันพายเรือหัวใบ้ท้ายบอด การแสดงรำตัดจากชมรมผู้สูงอายุตำบลเกวียนหัก การแสดงของนักเรียน การจัดเทศกาลดูปูแป้นในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ป่าชาย เลนตำบลเกวียนหักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สร้างอาชีพ และ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมการเรียนรู้และศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน และ การจัด เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติของดีเมืองจันท์ เป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย สำหรับป่าชายเลนในตำบลเกวียนหักนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์มากจึงทำให้มีปูแป้น และสัตว์น้ำต่าง ๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้เองพอถึงฤดูวางไข่ ปูแป้นก็จะลอยออกมาในช่วงที่น้ำใหญ่ ซึ่งวันนั้นนักท่องเที่ยวจะได้เห็นปูแป้นจำนวนมากมายออกมาลอยคอเพื่อวางไข่ บริเวณปากแม่น้ำ 

เทศกาลดูปูแป้น ชื่นชมธรรมชาติ เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในจังหวัดจันทบุรี ทางตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งมีจุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นมากยิ่งขึ้น และ เทศกาลดูปูแป้นชื่นชมธรรมชาติวัฒนธรรมท้องถิ่น ของชาวบ้านอีกด้วย นอกจากจะได้เห็นวัฒธรรมดั้งเดิมของชาวบ้านแล้ว ภายในงานนั้นก็ยังมีกิจกกรมมากมาย ให้ทุกท่านได้ร่วมสนุก เพลิดเพลินแบบไม่มีเบื่อกันเลยทีเดียว และเราก็หวังว่าสิ่งที่เราได้นำเสนอไป คงจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของหลายๆ ท่าน จังหวัดของเราพร้อมที่จะยินดีต้อนรับเสมอ

บอกต่อประเพณีของภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ และทุกคนต้องห้ามพลาด

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก

วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ คือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตยาวมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม รวมไปถึงศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมแต่ละสถานที่ ซึ่งแน่นอนว่าประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่รักษากันไว้ วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก บางอย่างถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติเลยทีเดียว ซึ่งหากประเพณีไหนไม่เหมาะสมต่อกาลเทศะ ก็จะเปลี่ยนแปลงและแก้ไขกัน ให้สามารถอยู่ในสังคมของเรามาได้ ในประเทศไทยมีวัฒนธรรมมากมายหลายภาค ทั้ง ใต้ กลาง เหนือ รวมไปถึงวัฒนธรรมภาคตะวันออก ซึ่งมีทั้งหมด 7 จังหวัด สำหรับบุคคลที่ชื่นชอบอยากจะศึกษา วัฒนธรรมภาคตะวันออก กิจกรรมที่น่าสนใจ วันนี้เราจะพามาให้รู้จักกับวัฒนธรรมที่มีความโด่งดัง และที่สำคัญยังเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่คนรุ่นต่อๆไป 

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก 

จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยมีจังหวัดมากมาย คือ จันทบุรีชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว ซึ่งแน่นอนว่าทุกจังหวัดนั้นจะมีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่วัฒนธรรมภาคตะวันออกดังไกลไปทั่วโลกจะมีอิทธิพลมาจากศาสนาเป็นหลัก รวมไปถึงความเชื่อของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ ประเพณี บางอย่างนั้นคือการกลับไหว้ผีสาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และฟ้าฝนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

วัฒนธรรมภาคตะวันออก
  • ที่จังหวัดจันทบุรีจะมีงานชักพระบาท ซึ่งจะถูกจัดขึ้นหลังจากวันสงกรานต์ 1 วัน ประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี จะมีการชักเย่อระหว่างชายและหญิง บนชักเย่อจะมีเชือกผูกไว้บนเกวียน และจะมีคนตีกลองอยู่ข้างบน หากกลองดังขึ้นจะแสดงถึงการเริ่มชักเย่อ คนตีกลองจะตีจนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้และชนะ ฝ่ายที่ชนะจะถือว่าเป็นฝ่ายที่มีความสิริมงคล สามารถแห่พระบาทไปรอบเมืองได้ แต่ในอดีตนั้นจะเป็นการที่ชาวบ้านแห่พระบาทกันรอบเมือง บนเกวียนจะตกแต่งดอกไม้ จัดสถานที่สวยงาม และมีการตีกลอง ฆ้อง โหม่งดังไปทั่วทั้งหมู่บ้าน วัฒนธรรมภาคตะวันออก ความเชื่อท้องถิ่น  ตอนนี้ในปัจจุบันเปลี่ยนมาทำการชักเย่อแทน และหลังจากวันชักเย่อรุ่งเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  ซึ่งนับว่าจะเป็นอันเสร็จพิธีประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาทจันทบุรี       
  • ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม จังหวัดฉะเชิงเทรา นับว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ประเทศลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การทำบุญเข้าหลามเป็นการทำบุญถวายเข้าหลาม ขนมจีนน้ำยาแก่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดหนองบัว วัดหนองแขน มีการจัดทำขึ้นในวัน 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี อิทธิพลของประเพณีนี้มาจากการที่เดือน 3 จะอยู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดนั้น และข้าวที่ได้เก็บเกี่ยวมาครั้งแรกเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมนำมาทำเป็นอาหารได้ ชาวบ้านจะใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นอุปกรณ์วัสดุในการเผา เพื่อจะทำให้ข้าวนั้นสุก แล้วนำไปถวายภิกษุสงฆ์ในวัดแต่ละพื้นที่ แต่ชาวบ้านจะเริ่มเผาข้าวหลามกันตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 โดยจะไปหาไม้ไผ่ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านมาทำกระบอกข้าวหลาม ชาวบ้านจะเลือกไม้ไผ่ที่ไม่สุกและแก่เกินไปและก็ที่สำคัญคือไม่มีตามด เพราะตามดนั้นจะทำให้ข้าวมีกลิ่น และไม่มีเยื่อไผ่ ทำให้ข้าวหลามในกระบอกติดขึ้นมานั่นเอง วัฒนธรรมภาคตะวันออก กิจกรรมที่น่าสนใจ วัฒนธรรมนี้ถือเป็นการผสมผสานประเพณีไทย และประเพณีของชาวลาวเวียง ที่นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดอีกหนึ่งอย่าง
  •  ประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี สืบทอดกันมาหลายอำเภอในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอำเภอชลบุรี ศรีราชา และบางละมุง รวมมาถึงพนัสนิคม ฯลฯ ซึ่งในอดีตนั้นชาวบ้านเชื่อว่าการนำข้าว สำรับอาหารคาวหวาน มารวมกัน เชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละหนึ่งครั้ง จะไม่มีผีตนใดมาทำร้ายครอบครัว และทรัพย์สินของตนเอง พิธีเส้นไหว้ชาวบ้านจะมาล้อมวงนำอาหารมารับประทานร่วมกัน รวมไปถึงมีการร้องรำทำเพลง วัฒนธรรมภาคตะวันออก การละเล่น ที่สนุกสนาน อาหารที่เหลือจากประเพณีกองข้าวจะไม่นำกลับบ้านเลย จะทิ้งไว้เป็นฐานให้แก่สัตว์ที่อยู่บริเวณนั้น ประเพณีกองข้าวจะจัดงานเมื่อสงกรานต์ผ่านไปแล้ว 3-4 วัน

วัฒนธรรมภาคตะวันออกดังไกลไปทั่วโลกนับว่าเป็นระเบียบแบบแผนรวมไปถึงการร่วมแรงร่วมใจ ประสมกลมเกลียวของคนในชุมชนเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากนั้นจุดประสงค์หลักของการจัดทำประเพณีคือการปฎิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เรียกว่าเป็นกฎหมายอย่างหนึ่งเลย ซึ่งตอนนี้อาจจะมีบางส่วนที่เสริมและถูกเติมแต่งเข้าไปให้เหมาะกับยุคและสมัย แต่สำหรับประเพณีไทยทุกอย่างส่วนมากมักมีความเชื่อมาจากพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ วัฒนธรรมภาคตะวันออกความเชื่อท้องถิ่น รวมไปถึงอิทธิพลของอาชีพชาวบ้านในพื้นที่แต่ละอย่างด้วย 

อ่านบทความอื่น ๆ >> งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของจันทบุรี

สนับสนุนโดย : https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด 

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ ประเพณีเก่าแก่ของจันทบุรี

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของจันทบุรี

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าหากใครเข้าร่วมจะได้บุญสูง และยังช่วยฝึกจิตใจฝึกความมานะอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสสักครั้งที่จะได้ขึ้นเขามานมัสการรอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ และการได้มากราบไหว้ ขอพรรอยพระพุทธบาท เหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างความสุขความเจริญแก่ครอบครัวและชีวิต

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ เส้นทางอันยากลำบากกับความเชื่อความศรัทธาอันยิ่งใหญ่

ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ     กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริ ของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี หรือที่เรียกว่งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคล แก่ผู้นั้นตลอดไป เขาคิชฌกูฏ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย การเดินทางเริ่มต้นที่วัดพลวงไปตามถนนลูกรังที่ลาดชันและคดเคี้ยวมาก ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1.2 กิโลเมตร ระหว่างทางจะมีจุดแวะ

พักให้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทิวทัศน์บนยอดเขาคิชฌกูฏ หรือเขาพระบาทนี้เป็นปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาที่นำมาผูกกับตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศิลาเจดีย์ รอยพระพุทธบาทหลวง หินรูปบาตรคว่ำ ถ้ำฤาษี หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่าและช้างขนาดยักษ์ แม้ว่าเส้นทางไปยังเขาคิชกูฏจะลำบากยากเย็นแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถทำลายความเชื่อความเชื่อของผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้ จึงมีประเพณีที่เรียกว่า งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏขึ้นมา โดยจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 ไปจนถึงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5  ถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าใครที่เข้าร่วม งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง และยังช่วยฝึกจิตใจฝึกความมานะอดทนไม่ย่อท้อ ต่อความยากลำบาก ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสสักครั้งที่จะได้ขึ้นเขามานมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ และการได้มากราบไหว้ ขอพรรอยพระพุทธบาท เหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างความสุขแก่ครอบครัวและชีวิต จะเริ่มเปิดให้พุทธศาสนิกชน นักแสวงบุญ นักท่องเที่ยว ได้ขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏ ยอดเขาคิชฌกูฏ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาท ที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทยสูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุด ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ “รอยพระพุทธบาท” มีลักษณะเป็นรอยบนหิน แผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2  เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. 

โดยที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวที่เลื่อมใสศรัทธาเดินทางหลั่งไหลกันมาขึ้นเขาคิชฌกูฏไปนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวงในช่วงเทศกาลนับล้านคน เพื่อเข้าสักการะกราบไหว้ขอพร ท่ามกลางทิวทัศน์ความสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าเขา สร้างความอิ่มเอมใจแก่ผู้มาเยือน

โดยการเตรียมตัวในการขึ้นนมัสการรอยพระบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • ควรแต่งกายมิดชิด สบาย รองเท้าผ้าใบ เดินทางสะดวก ๆ หากมาช่วงกลางคืน แนะนำให้ติดเสื้อกันหนาวเผื่ออากาศเย็น
  • เตรียมอาหารและน้ำมาส่วนตัว ด้านบนไม่มีจำหน่าย โดยช่วยกันรักษาความสะอาด ทิ้งขยะในจุดที่อุทยานกำหนด
  • เตรียมยาประจำตัวมาด้วยสำหรับผู้มีโรคประจำตัว

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏความเชื่อความศรัทธาที่ไม่มีวันจางหาย               

เชื่อกันว่าการไปนมัสการพระบาทพลวงจะได้บุญมากประสงค์สิ่งใดมักได้ดังปรารถนา ถ้าใครได้ขึ้นไปนมัสการครบ 7  ครั้ง เปรียบเสมือนได้บวชหนึ่งครั้งหรือเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ จึงมักพบผู้คนที่มางานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ มากกว่า  1  ครั้ง นอกจากจะได้บุญสูงแล้วยังได้ประโยชน์ทางอ้อมอีกมายมาย เช่น งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง การเดินเท้าขึ้นเขาระยะทางยาวไกลดังที่กล่าวไปข้างต้น ถือเป็นการฝึกความอดทนขั้นสุด เป็นประเพณีอันงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี

อ่านบทความอื่นๆ >> ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ประเพณีที่เป็นไปตามวิถีชีวิตอันเป็นสัญลักษณ์ของชาวแกลง

สนับสนุนโดย : https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด 

Categories
กิจกรรม ประเพณี เทศกาล

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวปากน้ำประแสร์

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีทอดผ้าป่าที่แปลกตา แห่งเดียวในไทย

ปากน้ำประแสร์ เป็นเมืองที่ติดชายทะเลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง มีประเพณีการทอดผ้าป่าที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สืบเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือตลอด เรือจึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา ชาวประมงเวลาอยากทำบุญบ้าน (เรือ) ให้เป็นสิริมงคล จึงได้มีการจัดทำบุญทอดผ้าป่าขึ้นในเรือ ซึ่ง ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี 

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีที่สะท้อนความศรัทธาในวิถีชีวิตแห่งสายน้ำ

เดิมชาวประแสร์ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ชายหาด ชายคลองแม่น้ำประแสร์ ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ไม่หนาแน่นนัก มีอาชีพหาปลาโดยวิธีตกเบ็ด ยกยอ ทอดแห ดักรอก เป็นต้น ใช้พาหนะเรือแจวบ้าง เรือพายบ้าง ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินมีทองก็คิดจะทำบุญ ซึ่งชาวประแสจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง เวลาบ้านใดทำบุญบ้าน งานแต่งงาน ต้องมีการทอดผ้าป่าด้วย ผู้ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลองถ้าจะทำบุญทอดผ้าป่าส่วนมากต้อง อาศัยเรือตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า ใช้ไม้ไผ่ปักไว้ด้านหัวเรือ-ท้ายเรือ แล้วนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน เวลาขากลับนิมนต์ชักผ้าป่าในเรือ แต่บางแห่งชักผ้าป่าก่อนสวดมนต์ก็มี แต่บางแห่งถึงบ้านชักผ้าป่าก่อนก็มี แต่การจัดทำบุญทุกครั้งคราว เข้าใจว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่เกิดของ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวประแสร์

ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สันนิษฐานว่า ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี โดยประชาชนจะนำพุ่มผ้าป่าไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ โดยพุ่มผ้าป่าจะใช้กิ่งไม้จากต้นฝาดหรือต้นโปรง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนโดยทั่วไป ประดับตกแต่งพุ่มผ้าป่าให้สวยงาม จากนั้นไปนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือไปยังพุ่มผ้าป่ากลางลำน้ำประแสร์ ประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีจะพายเรือหรือแจวเรือของตนเข้าร่วมพิธีกลางลำน้ำนั้น หลังจากประกอบพิธีกรรมทอดผ้าป่ากลางน้ำแล้ว ประชาชนจะร่วมกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง โดยการจัดการละเล่นอันได้แก่ การแข่งเรือพาย แข่งพายกะโล่ แข่งพายเรือข้ามลำไม้ไผ่ แข่งชกมวยทะเล การ ทอดผ้าป่ากลางน้ำได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจะมีขบวนเรือประมงขนาดใหญ่จำนวนนับร้อยลำมาแห่พุ่มผ้าป่า ภายในเรือจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงตลอดเวลา และตามหน้าบ้านของชาวบ้านปากน้ำประแสร์จะนำพุ่มผ้าป่ามาปักไว้หน้าบ้านของตนบ้านละ 1 พุ่มตามความศรัทธา ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดตะเคียนงามมาชักพุ่มผ้าป่า

ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำได้สืบทอดกันมาระยะยาวนานแต่ได้มีการหยุดการจัดไประยะหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2484 เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน หลังจากนั้นนำมาเริ่มจัดใหม่ใน ปี พ.ศ.2487 ในช่วงแรก ๆ จะทำพุ่มผ้าป่าไว้บนเรือแล้วนิมนต์พระภิกษุไปชักพุ่มผ้าป่าบนเรือ ต่อมาคณะกรรมการฯเห็นว่าเป็นการสร้างความลำบากให้กับพระภิกษุจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำพิธีชักผ้าป่า โดยให้ชาวประมงมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ตามบ้านแล้วพระภิกษุจับสลากหมายเลขพุ่มผ้าป่า และในปัจจุบันได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการทำแพผ้าป่าไว้กลางแม่น้ำประแส พร้อมนิมนต์พระทำพิธีทอดผ้าป่าบนแพ ส่วนพุ่มผ้าป่าตามบ้านเรือนประชาชนก็คงไว้เหมือนเดิม พระภิกษุจะจับสลากหมายเลขพุ่ม แล้วเดินชักพุ่มผ้าป่าตามหมายเลข ที่จับได้และมีการจัดงานมหรสพประมาณ 3-4 วัน จัดขึ้นทุกปี โดยวัน ทอดผ้าป่ากลางน้ำ จะตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองหรือวันลอยกระทงนั่นเอง

ภายในงานนอกจากจะมีการทำบุญ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แล้ว ยังมีกิจกรรมความบันเทิง การละเล่นต่างๆ มากมาย อาทิเช่น กิจกรรมแข่งเรือพาย, มวยทะเล, แข่งขันฉีกปลา, ประกวดแม่ม่ายเทพี, กีฬาพื้นบ้าน, การแสดงของนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มประชาชนต่างๆ, การประกวดดนตรีสตริงเยาวชน ร้องเพลงไทยลูกทุ่ง, การแสดงนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง, การแสดงดนตรีไทย ดนตรีสากล ชุดรำกะปิ,การแสดงภาษาต่างชาติ, ประกวดกระทง, และพบกับมหกรรมอาหารสะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ทั้งอาหารทะเลและอาหารพื้นเมืองขอองจังหวัดระยองและภาคตะวันออก เช่น ปลากะพงทอดน้ำปลา ปลาหมึกเผาหรือย่าง แกงหมูชะมวง แกงแขนงสับปะรด เป็นต้น ส่วนที่สำคัญที่สุดในงานก็คือวันเปิดงาน จะมีขบวนแห่รถประดับผลไม้จากสวนศรีเมืองมายังตลาด ประกวดธิดาชาวสวนที่สวนศรีเมือง ช่วงบ่ายเป็นพิธีเปิด มีการมอบรางวัลขบวนรถประดับผลไม้ ทั้งประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลให้ธิดาชาวสวนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรับประทานผลไม้ ส่วนวันอื่น ๆ ก็มีเฉพาะการออกร้านจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีอันเป็นเอกลัษณ์ของปากน้ำประแสร์

ประเพณีทอดผ้าป่าในจังหวัดอื่นจัดขึ้นบนบกทั่วไป แต่ในจังหวัดระยอง ชาวปากน้ำประแสร์มีประเพณีทอดผ้าป่าเช่นกัน แต่ประเพณีทอดผ้าป่านี้แตกต่างจากที่อื่นโดยสิ้นเชิง เพราะจัดขึ้นในน้ำ ทำให้ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปากน้ำประแสร์ เป็นประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ ชาวบ้านปากน้ำประแสร์ถือเป็นประเพณีอันงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

 

 

 

สมัครบาคาร่า https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 ที่เว็บคาสิโน888 เราเป็นเว็บคาสิโนที่สมัครง่ายที่สุด เกมคาสิโน สล็อต บาคาร่าเล่นง่าย ได้เงินจริง และยังสามารถดาวน์โหลดเอาไว้เล่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล

ผีตาโขน ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเลย

ผีตาโขน งานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดเลย

ผีตาโขน การละเล่นที่ถือเป็นประเพณี

เทศกาล ผีตาโขน ถือเป็นอีกหนึ่งงานที่ยิ่งใหญ่ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ถือเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่ หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญผะเหวด” เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงของจังหวัดเลย จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี แต่ละปีจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวแห่ร่วมงานเป็นจำนวนมาก ในงานจะมีขบวนแห่ที่สร้างสีสันความสนุกสนานให้กับผู้ที่มาร่วมงาน ลวดลายของ ผีตาโขน สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ แสดงการละเล่นเต้นรำในขบวนแห่ยาวไปตามท้องถนน สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก 

ผีตาโขน ประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน

ผีตาโขน สวยงามและเป็นเอกลักษณ์

ประเพณีแห่ ผีตาโขน เป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผีตาโขน การละเล่นที่ถือเป็นประเพณี จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นประเพณีที่เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทสน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย กล่าวกันว่า การแห่ ผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่าหลายตน รวมถึงสัตว์นานาชนิด อาลัยรัก จึงพากันแห่แหนแฝงตัวตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง จึงมีชื่อเรียกว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

ผีตาโขน เล็ก เป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีสิทธิ์เข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงจะไม่ค่อยเข้าร่วม เพราะเป็นการเล่นที่ค่อนข้างผาดโผนและใช้พละกำลังค่อนข้างมาก

ผีตาโขน ใหญ่ จะทำเป็นหุ่นรูปผี ทำจากไม้ไผ่สาน ขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่า ประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุ ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น ซึ่งแต่ละปีจะทำ ผีตาโขน ใหญ่เพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ ชาย 1 ตัว หญิง 1 ตัว สังเกตุจากเครื่องเพศที่ปรากฏชัดเจนบนตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำจะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะการทำต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน หากไม่มีสิทธิ์ก็ไม่สามารถทำได้ หากได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกลายคล้ายผีและปีศาจ สวมหน้ากากขนาดใหญ่ ซึ่ง ผีตาโขน ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลัก สวมศีรษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน 

ผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่

เนื่องจากประเพณี ผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่ ที่เรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโฑนชัย อ.ด่านซ้าย จ.เลย โดยงานบุญหลวง มีการละเล่น ผีตาโขน การเทศน์มหาชาติ และมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรัก รวมถึงงานบุญต่างๆเข้ามาผสมผสานกัน จึงมีการจัดงานขึ้น 3 วัน โดยวันแรกจะเริ่มพิธีตั้งแต่เช้าตรู่ คณะแสนหรือขบวนข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์อุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพและมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และเพื่อให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงริมแม่น้ำหมันแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาแล้วถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งก็จะตอบว่า “ไม่ใช่” งมก้อนหินไปจนถึงก้อนที่สาม ให้ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำพาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขินาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้ากับจังหวะเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัว ต่อด้วยวันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วยพระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หาม ตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียมกับบริวาร เหล่าผีตาโขนจะเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้านโดยเด็ดขาด ถือเป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป ส่วนในวันที่สามจะเป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง โดยประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเปน็นมงคลแก่ชีวิต

ผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน

ผีตาโขน ประเพณีอันงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

ผีตาโขน เป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน มีประวัติความเป็นมาอันงดงาม ที่เล่าขานกันรุ่นสู่รุ่น ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อจิตใจเลยเป็นอย่างมาก และยังเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียง สามารถเรียกนักท่องเที่ยวให้กับจังหวัดได้ หากใครได้มีโอกาสไดไปท่องเที่ยวในจังหวัดเลยต้องห้ามพลาดที่จะไปชมประเพณี ผีตาโขน เพราะนอกจากจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันงดงามของไทยอีกด้วย

 

 

 

 

 

สนับสนุนโดย : 

https://ufaball.bet เรามีบริการทั้ง แทงบอลออนไลน์ หรือ คาสิโนออนไลน์ ไว้บริการเต็มรูปแบบครบวงใจในที่นี้ที่เดียว สมัครเปิดยูสเซอร์ ขั้นต่ำ 100บาท เพื่อทำการยืนยันตน สามารถทำได้ผ่านไลน์แอดที่หน้าเว็บไซต์ได้ตลอด 24ชั่วโมง

Categories
กิจกรรม ข้อมูล ประเพณี เทศกาล

ไม่ควรพลาด 5 งานประเพณีเมืองชล ตามปฏิทิน

ไม่ควรพลาด 5 งานประเพณีเมืองชล ตามปฏิทิน

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล งานประเพณีเมืองชล

เมื่อพูดถึงจังหวัดชลบุรี อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเช่นเดียวกันคือ งานประเพณีเมืองชล ซึ่งปัจจุบันสามารถยกระดับให้เป็น การท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี อีกรูปแบบหนึ่ง และหลายประเพณีประจำท้องถิ่นของเมืองชล กลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวชลบุรี ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศอีกด้วย ซึ่งเรียกว่าทำให้จังหวัดนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างและหลากหลายรูปแบบในตัว นอกจากนั้นแต่ละเทศกาลต้องบอกว่าไม่ควรพลาดจริง ๆ 

เที่ยว งานประเพณีเมืองชล สืบสาน และเรียนรู้วัฒนธรรม

ถ้าพูดถึง การท่องเที่ยวงานประเพณีชลบุรี เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ชลบุรีมีประเพณีน่าเที่ยวเช่นกัน ซึ่งแต่ละประเพณีต่างสร้างความน่าสนใจให้กับนักท่องเที่ยวมาโดยตลอดส่งผลให้กลายเป็น เทศกาลท่องเที่ยวชลบุรี ที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจอย่างมาก และตั้งเป้ากลับมาเยี่ยมเยียนจังหวัดชลบุรีทุกเทศกาลหรือประเพณีทันที เนื่องจากประเพณีแต่ละอย่างเป็นการสานต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของจังหวัดให้คงอยู่ต่อไประยะยาว

งานประเพณีเมืองชล

ประเพณีงดงามมาพร้อมกับการท่องเที่ยว

ที่นี่มาว่ากันต่อถึงประเพณีต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งค่อย ๆ พัฒนาจนกลายเป็นมาเป็นงานประเพณีประจำปีเมืองชล พร้อมกับยกระดับให้กลายเป็น การท่องเที่ยวงานประเพณีชลบุรี ที่น่าตื่นตาตื่นใจและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยงานประเพณีตามปฏิทินที่ต้องมาเที่ยวที่นี่คือ 

  • ประเพณีวิ่งควาย จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่หลายคนไม่ควรพลาดเลย
  • ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ซึ่งจะมีในทุกเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีในอำเภอบางแสน 
  • งานบุญกลางบ้านและเครื่องจักสานพนัสนิคม จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายนของทุกปี 
  • ประเพณีกองข้าวศรีราชา จะจัดในวันที่ 19-21 เมษายน ของทุกปีของอำเภอศรีราชา
  • พัทยามาราธอน อีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจของพัทยา ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด 
งานประเพณีเมืองชล

1 ปี มีครั้งกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ทั้งนี้ความน่าสนใจของ งานประเพณีเมืองชล คือ 1 ปี มีครั้ง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ประเพณีดังกล่าวจะสามารถยกระดับ การท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ให้น่าสนจากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งการท่องเที่ยวตามปฏิทินที่นักท่องเที่ยวหลายคนรอคอย 

สรุป 

ถ้าพูดถึง งานประเพณีเมืองชล ในปัจจุบันถือว่ามีแนวโน้มไปได้สวย หลังจากหลายประเพณีสามารถพัฒนาให้แต่ละเทศกาลเป็นช่วงเวลาของ การท่องเที่ยวงานประเพณีชลบุรี ให้น่าสนใจมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวงาน เทศกาลท่องเที่ยวชลบุรี ตามปฏิทินได้ไม่ยาก  ส่งผลให้ปัจจุบันการเดินทางมายังชลบุรีเพื่อท่องเที่ยวความสวยงามของทะเล และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ แล้ว งานประเพณีต่าง ๆ ที่จัดงานทุกปีเป็น การท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี อีกหนึ่งรูปแบบที่ไม่ควรพลาด และควรได้มาสัมผัสความสนุกด้วยตัวเองให้ได้ 

 

 

 

 

สนับสนุนโดย : 

https://hilospec.com เว็บคาสิโนออนไลน์อันดับ1 ที่ได้เปิดให้บริการมาอย่างยาวนาน โดยทางเราเป็นเว็บตรงฝากถอนไม่มีขั้นต่ำที่ยิ่งกว่าเว็บทั่วไป มาพร้อมเกมเดิมพันมากมายแบบไม่อั้นแน่นอน

Categories
ข้อมูล ประเพณี เทศกาล

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ความเชื่อของบรรพบุรุษ ส่งตรงสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

วัฒนธรรมภาคตะวันออก กิจกรรมอันดีงามของคนรุ่นหลัง

วัฒนธรรมภาคตะวันออก

ในแต่ละสถานที่นั้นย่อมประเพณีเป็นของตัวเองที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน หรือเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ที่มีความสำคัญต่อสังคมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีได้การแต่งกาย ภาษา รวมไปถึง วัฒนธรรมภาคตะวันออก ความเชื่อของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยนั้น จะมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จนมาถึงรุ่นหลาน อาจจะมีปรับเปลี่ยนกันบ้างตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปแต่ก็ไม่ได้หายไป เนื่องจากประเทศไทยมีความเชื่อตามศาสนาที่มีอิทธิพลสูงมากที่สุด ดังนั้นจึงจะเห็นว่าคนไทยมีให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาประเพณีตั้งแต่โบราณมา วัฒนธรรมภาคตะวันออก ทั้ง 7 จังหวัด ซึ่งทุกท่านคงจะทราบกันดีว่าภาคตะวันออก ก็เป็นอีกหนึ่งภาค ที่ประกอบไปด้วยจังหวัดท่องเที่ยวมากมาย และ วัฒนธรรมภาคตะวันออก  ยังมีความเชื่อของคนในท้องที่ ที่มีการนับถือกันมาอย่างยาวนานเป็นระเบียบแผนที่ปฏิบัติในแต่ละท้องถิ่น

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ทำความรู้จักเกี่ยวกับ ประเพณีเก่าแก่

ในจังหวัดทางภาคตะวันออกนั้นมี ทั้งหมด 7 จังหวัดด้วยกัน ซึ่งตามประเพณีและความเชื่อเหล่านั้นส่วนใหญ่ จะสะท้อนให้นักท่องเที่ยวเห็นถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามต่างๆ มากมาย โดยประเพณีส่วนใหญ่จะจัดทำขึ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันไหล 

  • จังหวัดจันทบุรีนั้นทุกท่านคงจะทราบกันดีว่ามี ประเพณีงานชักพระบาท ของชาวบ้านหมู่บ้านตะปอน ซึ่งจะถูกจัดขึ้นหลังวันสงกรานต์ ประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี เป็นการเล่นชักเย่อระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยจะมีเชือกผูกติดกับเวียน และมีคนคอยตีกลองอยู่บนเกรียน ถือว่าเป็นตัวแทนของพาหนะที่จะนำพระบาทไปทำพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ คนตีกลองจะตีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ และฝ่ายชนะถือว่าฝ่ายที่มีสิริมงคล เพราะสามารถลากพระบาทขึ้นไปได้ทำกิจกรรมทางศาสนาได้
  • จังหวัดฉะเชิงเทราก็ถือว่ามีประเพณีที่ทุกท่านคงจะรู้จักกันเป็นดี คืองานขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ซึ่งที่มาของประเพณีนี้คือสืบทอดมาจากชาวลาว ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัย ต้นรัตนโกสินทร์ โดยในขณะนั้นทุกคนจะเรียกว่าชาวลาวเวียง เป็นการทำบุญถวายเข้าหลามให้กับพระสงฆ์ที่อยู่ในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งงานประเพณีนี้จะถูกจัดขึ้นในทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม ขึ้น 15 ค่ำ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับประเพณีเก็บเกี่ยวข้าวด้วย จะทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้าน ที่มีอาชีพทำนาทำไร่ ถือเป็น วัฒนธรรมภาคตะวันออก อันเก่าแก่ ที่สืบทอดกันมาชั่วอายุคน จนถึงในปัจจุบัน
  • วัฒนธรรมภาคตะวันออก ทั้ง 7 จังหวัด  ซึ่งประเพณีจังหวัดชลบุรีอีกหนึ่งจังหวัด ที่ถือว่าเป็นสถานที่อันโด่งดังของภาคตะวันออก ประเพณีที่นิยมทำกันเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ก็คืองานกองข้าว เป็นงานที่จัดทำขึ้นมาช่วงเดือนเมษาหลังสงกรานต์ของทุกปี ประมาณ 19 – 21 เมษายน วัฒนธรรมภาคตะวันออก ความเชื่อของชาวบ้าน เป็นการบวงสรวงสังเวยผี เพื่อให้ดูแลรักษา และไม่ให้มาทำลายตนเอง คนในครอบครัว รวมถึงสิ่งของในอนาคต และมีการออกบูธมาจำหน่ายขนมพื้นเมือง หรืออาหารพื้นเมือง ภายในงานนั้นนักท่องเที่ยวจะแต่งตัวเป็นชุดไทยมาจับจ่ายซื้อของพื้นบ้าน
  • ประเพณีของจังหวัดตาก รู้กันเป็นอย่างดีว่าจังหวัดตาก อยู่ริมทะเล และในอดีตมีการจัดทำสงครามทางทหารเรือ ซึ่งงานนี้ก็คือเป็นงานที่จัดทำขึ้นเพื่อสรรเสริญทหารไทยในยุทธนาวิถี ที่การจัดทำขึ้นในเกาะช้าง เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของทหารไทย ที่เสียชีวิตจากการสู้รบระหว่างกองทัพเรือฝรั่งเศส และที่สำคัญเพื่อมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของทหารเรืออีกด้วย ประเพณีวันวีรกรรมทหารเรือไทยในยุทธนาวิถีที่เกาะช้าง ก็จะมีการออกบูธ มีนิทรรศการของทางราชการมาจัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ของนักท่องเที่ยวอีกด้วย
  • ประเพณีจังหวัดระยองอีกหนึ่งอย่างที่มีอายุการสืบทอดกันมายาวนานนับ 100 ปี ก็คืองานทอดผ้าป่ากลางน้ำ โดยชาวบ้านนั้นจะนำพุ่มผ้าป่าไปป่าไว้กลางแม่น้ำประแส และยังตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นจะนิยมพระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรม และความเชื่อของชาวพระพุทธศาสนา ชาวบ้านก็จะพายเรือแจวเรือเข้ามาร่วมพิธีการกลางน้ำ หลังจากเสร็จพิธีการแข่งขัน ชาวบ้านก็จะจัดเล่นกีฬาทางน้ำกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งเรือพาย การชกมวยทะเล หรือจะเป็นการแข่งพายกะโล่ เป็นต้น     

วัฒนธรรมภาคตะวันออก  ถือว่าเป็นประเพณีของภาคที่มีความหลากหลาย และมีความสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดอื่นของประเทศไทย เพราะเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ อารยธรรม มนต์ขลังมากมาย ส่วนใหญ่จะสัมผัสถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เนื่องจากคนในท้องที่ มีความเชื่อและมีความศรัทธากันเป็นจำนวนมาก เป็นประเพณีเป็นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษยาวนาน แสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิต และวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นของแต่ละจังหวัด วัฒนธรรมภาคตะวันออก อันเก่าแก่ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากทุกท่านจะได้ความรู้ในการมาร่วมทำประเพณี และสืบทอดแล้วนั้น ยังได้รับความสนุกสนานจากการร่วมทำกิจกรรมในประเพณีด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่นั้นก็ยังมีการละเล่นให้ผู้คนที่สนใจสามารถร่วมทำกิจกรรมได้ และตามความเชื่อของประเพณีนั้นอาจจะยึดมั่นกันเลยว่าปีใดที่ไม่ทำกิจกรรมนี้อาจจะส่งผลเสียต่อชีวิต เรียกว่าเป็นการทำเพื่อสิริมงคลของชาวบ้านละแวกนั้นก็เป็นได้ กิจกรรมประเพณีของจังหวัดทางภาคตะวันออกของไทยไม่ได้โด่งดังและจากกันแค่ชาวไทยเท่านั้น เพราะชาวต่างชาติก็นิยมมาร่วมเข้าทำกิจกรรม เพื่อรับประสบการณ์ใหม่ๆ และมาพบปะสังสรรค์หาความสนุกกันนั่นเอง

 

 

 

 

สนับสนุนโดย : 

GCLUB จีคลับ เว็บไซต์พนันออนไลน์ บริการคาสิโนออนไลน์ 24 ชั่วโมง ด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานระดับสากลออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไว้คอยให้บริการท่าน