ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีสำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี

ประเพณีเรียกขวัญข้าว เป็นประเพณีบวงสรวงแม่โพสพ ผู้เป็นวิญญาณแห่งข้าว โดยเชื่อว่าถ้าข้าวมีขวัญสิงอยู่ประจำ ต้นข้าวก็จะงอกงามสมบูรณ์ ให้ผลสูง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หรือเฉาตาย ส่วนที่เก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางแล้ว แม้จะจำหน่ายขายหรือกินก็สิ้นเปลืองไปน้อยที่สุดประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ทำกันเกือบทุกพื้นที่ทำนาของไทย แต่อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเพณีรับขวัญแม่โพสพ ประเพณีทำขวัญข้าว สำหรับจังหวัดปราจีนบุรีเรียกประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีที่อยู่คู่เมืองไทยและความเป็นไทย

เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่ส่งออกข้าว และปลูกข้าวกันแทบทุกพื้นที่ ประเพณีเรียกขวัญข้าว จึงคู่อยู่คคนไทยมาอย่างช้านาน ประเพณีเรียกขวัญข้าว เป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา โดยส่วนใหญ่เชื่อว่า แม่โพสพเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว และเป็นผู้คุ้มครองดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ชาวนาจึงได้ให้ความเคารพนับถือกราบไหว้แม่โพสพมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นผู้หญิง ตกใจและเสียขวัญง่าย จึงมักจะมีการทำพิธีรับขวัญแม่โพสพในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับต้นข้าว ทั้งในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง หรือในช่วงที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวและนำข้าวขึ้นไปเก็บในยุ้ง เป็นต้น มักจะทำในช่วงออกพรรษาหรือ ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี และนิยมทำพิธีกันในวันศุกร์ชาวนาเชื่อว่า เมื่อทำให้แม่โพสพพึงพอใจแล้วจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีแมลงและศัตรูข้าวมารบกวนประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำนาให้กับชาวนา ได้เป็นอย่างดี ประเพณีเรียกกขวัญข้าว ทำกันทุกท้องที่ และแทบทุกครัวเรือนที่มีการทำนา ทำแล้วอุ่นใจว่าเป็นสิริมงคล ไม่ประสบภาวะอดอยาก ทำนาได้ผล มีข้าวกินตลอดปี เพราะแม่โพสพจะประทานความสมบูรณ์พูนสุขให้ ทั้งอิ่มใจที่ได้สืบทอดประเพณีของบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่สื่อความหมายให้เห็นคุณลักษณะของคนไทย ที่มีความอ่อนโยน ละเอียดอ่อน อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีพระคุณ และหาโอกาสที่จะแสดงออกถึงความสํานึกกับผู้ที่มีพระคุณ เพราะชาวนาเชื่อว่าผลผลิตที่ได้รับนั้นนอกจากแรงงานและความเพียรของตนเองแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากการดลบันดาลและการดูแลของแม่โพสพด้วย พิธีกรรมทําขวัญข้าว หรือรับขวัญข้าว ทําตามความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระแม่โพสพ เพื่อขอบคุณพระแม่โพสพที่ดูแลให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา เชื่อกันว่าเมื่อทําพิธีนี้แล้วพระแม่โพสพจะช่วยคุ้มครองข้าวในนาให้มีผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการสร้างขวัญกําลังใจในการทํานาครั้งต่อไป สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวนาว่าข้าวในนาจะปราศจากภัยธรรมชาติและจะไม่มีแมลงศัตรูพืชต่างๆ เข้ามาทําร้ายต้นกล้าในนาข้าว 

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

สำหรับสิ่งของประกอบในพิธี ด้วยตามความเชื่อแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงเชื่อว่าท่านอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง เช่นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ชาวนาจึงทำพิธีทำขวัญแม่โพสพที่แปลงนาพร้อมกันในช่วงเวลาที่ข้าวตั้งท้อง โดยจัดนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว สำหรับคนแพ้ท้อง เช่น มะยม มะเฟือง มาเป็นเครื่องเซ่นสังเวย รวมทั้งมีความรักสวยรักงามเจ้าของนาจึงได้นำเครื่องแต่งกาย เช่น สไบ สร้อยทอง รวมถึงเครื่องเสริมความงามต่าง ๆ เช่น หวี กระจก แป้งจันทร์ น้ำมันหอม มาเป็นเครื่องแต่งตัวให้กับแม่โพสพ การเรียกขวัญข้าว ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการช่วยลดหรือบรรเทาความเครียดให้กับชาวนา เนื่องมาจากการทํานาในแต่ละครั้ง ต้องลงทุนลงแรงจํานวนมาก ชาวนาจึงเกิดความไม่มั่นใจและรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจว่า การทํานาในครั้งนั้นๆ จะประสบความสําเร็จหรือไม่จึงต้องอาศัยการทําขวัญข้าวเพื่อสร้างขวัญและกําลังใจให้กับตนเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการทําขวัญข้าวค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมชาวนาไทย อาจมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้

  • การทํานาสมัยใหม่มีระบบชลประทาน มีการใช้ยาปุยเคมีและปราบศัตรูพืช ชาวนาจึงรู้สึกว่าไม่ 
    จําเป็นต้องพึ่งพิงธรรมชาติมากเหมือนแต่ก่อน การทําพิธีตามความเชื่อเพื่อให้ข้าวเจริญงอกงามปลอดโรคจึงไม่มีความจําเป็น
  • ชาวนาต้องเร่งรีบทํานาให้ได้ ๓ ครั้งต่อปีจึงไม่มีเวลาประกอบพิธีทําขวัญข้าว
  • ชาวนาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ได้มีที่นาเป็นของตนเอง ใช้วิธีเช่าที่นา ความรู้สึกผูกพันและ 
    ระลึกถึงบุญคุณแห่งผืนดินทํากินอาจไม่มากเท่าสมัยก่อน 
  • หาผู้ทําพิธีหรือหมอทําขวัญข้าวได้ยากขึ้นเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดความรู้ในการทําพิธีกรรม ฯลฯ

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

ประเพณีเรียกขวัญข้าวพึ่งพาธรรมชาติผ่านความเชื่อ                   

ประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของชาวนา  ที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เพราะการทำนาที่ได้ผลผลิตสูงย่อมนำความสุข ความมั่งคั่งมาให้ประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา ถือเป็นประเพณีที่สวยงามที่ผสมผสานระหวว่างความเชื่อและการพึ่งพาธรรมชาติ ซึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อสอบต่อความงดงามของประเพณีต่อไป

อ่านบทความอื่น ๆ >> วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com/ ไฮโลไทย ฝาก-ถอน ไม่มีขั้นต่ำ แทงไฮโลพื้นบ้าน เบทเริ่มต้น 5 บาท