ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้ว

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง

สระแก้วถือเป็นอีกหนึ่งเมืองเก่าแก่ของไทย มีประเพณีโบราณโบราณที่สำคัญมากมาย ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง หนึ่งในประเพณีที่คนสระแก้วให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของสระแก้ว เนื่องจากเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่ามาอย่างยาวนาน และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกให้ความเคารพนับถือ ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือช่วงวันขึ้นปีใหม่ของไทย เพื่อให้ประชาชนผู้นับถือระลึกถึงความดีและความกล้าหาญของเจ้าพ่อปรง

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีที่ระลึกถึงความกล้าหาญของเจ้าพ่อปรง

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ศาลเจ้าพ่อพระปรงถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองของสระแก้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่ามาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณกาล หลวงเดชาศิริ หรือ เจ้าพ่อพระปรง เป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตจังหวัดสระแก้ว เป็นที่เคารพของคนทั่วไปด้วยเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกให้ความเคารพนับถือ โดยมีศาลเจ้าพ่อพระปรงตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร ริมแควพระปรง ซึ่งเป็นลำน้ำที่กั้นเขตแดนของจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งศาลเจ้าพ่อพระปรงดังกล่าวนี้จะมีประชาชนหลั่งไหลกันเข้ามากราบไหว้สักการะไม่เว้นในแต่ละวัน โดยมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่า หากใครที่ไม่ได้ตั้งใจมาสักการะ เพียงแต่ขับรถผ่านเท่านั้น ก็จะต้องบีบแตรเพื่อเป็นการคารวะ หากไม่ปฏิบัติตามคำกล่าวก็จะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในชีวิต อาจจะประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้ว ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงประเพณีสำคัญของสระแก้ว เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญ โดย ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้วนี้จัดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยบรรยากาศงานจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนเช้าของวันที่ 15 เมษายน  เริ่มจากการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อพระปรงลงประทับแท่นต่ำเพื่อให้เหมาะแก่การทำพิธีสรงน้ำและการปิดทองพระ หลังจากนั้นวันทีท 15-18 เมษายน ช่วงค่ำจะมีมหรสพสมโภชทุกคืน และวันที่ 19 เมษายนจะตั้งขบวนแห่รูปหล่อองค์เจ้าพ่อพระปรงออกจากศาลเจ้าพ่อปรงที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อของจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรีอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไปตามถนนสุวรรณศร ในแต่ละปี ขบวนแห่จะมีรถยนต์มารอร่วมขบวนแต่เช้าและจะมาร่วมขบวนแห่ไม่ต่ำกว่า 100 คัน โดยขบวนแห่จะแห่เรื่อยๆ ผ่านชุมชนต่างๆ จนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จากนั้นในช่วงบ่ายจะทำการเคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางของเทศบาลเมืองสระแก้วเพื่อไปยังศาลากลางจังหวัดและตลาดท่าเกษม ระหว่างทางที่ขบวนแห่ก็จะมีประชาชนที่นับถือเจ้าพ่อพระปรงเข้ามาร่วมกันสรงน้ำกันถ้วนหน้า เพื่อเสริมสิริมงคลงให้กับชีวิต และปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และเพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ของจังหวัดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้วก็จะมีการแห่องค์เจ้าพ่อกลับตามเส้นทางเดิม และจะถึงที่ตั้งศาลเวลาประมาณ 19.00 น. โดยในวันงานจะมีผู้คนในภาคตะวันออกหลั่งไหลกันเข้ามาในจังหวัดสระแก้ว บ้างก็นำรถยนต์ส่วนตัวมาร่วมขบวนแห่ บ้างก็มาร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งจะได้ภาพบรรยากาศเหมือนงานไหลในจังหวัดอื่นๆไม่เพียงแค่นี้ ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดร่วมกัดประเพณีสำคัญอื่นๆ กล่าวคือ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดสระแก้ว นอกจากจะมีพิธีแห่เจ้าพ่อปรงแล้ว ยังมีอีกหลากหลายพิธีที่ทำร่วมกัน เช่น พิธีบวงสรวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี 

ประเพณีเก่าแก่ที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในพื้นที่

ความสามัคคีของผู้คนหมู่มากเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีเก่าแก่ของสระแก้วที่สร้างความสามัคคีแก่คนในพื้นที่ เพราะเป็นประเพณีต้องใช้ความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภายในจังหวัด ตั้งแต่ขบวนแห่ ที่ต้องใช้รถยนต์หลายคันในการบรรทุกสิ่งของจำเป็นต่างๆ ไปจนถึงการจัดระเบียบการจราจรในวันงาน การจัดทำแผนงานและการดำเนินกาต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความร่วมมือจากคนในพื้นที่ทั้งสิ้น แต่ทุกอย่างเกิดจากความสมัครใจที่ทุกคนในพื้นที่มีเป้าหมายและแรงศรัทธาเดียวกันคือ การระลึกและเคารพต่อเจ้าพ่อพระปรง จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของสระแก้ว นอกจากจะสร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในพื้นที่แล้วยังเป็นการระลึกถึงผู้ที่มีพระคุณและมีอิทธิพลต่อจังหวัดสระแก้วอย่าง เจ้าพ่อพระปรง ที่มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว ไม่เกรงกลัวต่อศัตรูหรือภัยอันตรายใดๆ จนถึงปัจจุบันประเพณีอันงดงามนี้ก็ยังมีการจัดขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะชาวจังหวัดสระแก้วไม่ลืมเลือนประเพณีอันดีงามนี้ และยังถือปฏิบัติอยู่เรื่อยมา เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และไม่ให้ประเพณีนี้เลือนหายไปตามกาลเวลาอย่างประเพณีเก่าแก่อื่นๆ 

อ่านบทความอื่น ๆ >> กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมพื้นบ้าน

สนับสนุนโดย: https://ufaball.bet/ เว็บพนันออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย มั่นใจซื่อตรง เปิดบริการแล้วครบจบในที่เดียว