ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุ

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่มีความสืบเนื่องมาจากความเชื่อหนึ่งในสมัยพุทธกาล ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เกิดจากความเชื่อความศรัทธา นั่นคือความเชื่อที่ว่า ในสมัยก่อนตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีบริวารและฝูงช้างป่า ลิงป่าคอยอุปัฏฐาก โดยสัตว์พวกนี้ต่างนำอ้อยและน้ำผึ้งมาคอยถวายแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าอ้อยและน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต ต่อมาพระองค์จึงทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคได้ หลังจากนั้นน้ำผึ้งก็ถูกใช้เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ ใช้ในการรักษาโรค หรือใช้เป็นยาในสมัยนั้นนั่นเอง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรที่ไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ก่อนที่จังหวัดฉะเชิงเทราจะมีประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง นี้ มีที่มาที่ไปคือ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญ แต่เดิมเมื่อสมัยพุทธกาลนั้น ชาวมอญตั้งรกรากและอาศัยอยู่ทางตอนล่างของประเทศพม่า จนกระทั่งวันเวลาผันเปลี่ยนไป ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เกิดการขยายอิทธิพลของชนชาติพม่า ทำให้ชาวมอญต้องหาที่อยู่ใหม่เพื่อความอยู่รอด ทำให้ต้องอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ดินแดนกลางของไทย การมาตั้งถิ่นฐานในครั้งนี้จึงเป็นที่มาของการนำวัฒนธรรม ศิลปะ ความเชื่อความศรัทธา จารีตประเพณีของชาวมอญมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยด้วย จึงเป็นที่มาของประเพณีอันงดงามนี้ โดยทั่วไปแล้วพุทธศาสนิกชนมักนำข้าวสารอาหารแห้งมาถวายแก่พระภิกษุสามเณรในการตักบาตร แต่ที่ฉะเชิงเทราจะมีการตักบาตรที่แปลกและมีเอกลักษณ์ต่างออกไปจากที่อื่นคือการตักบาตรน้ำผึ้ง โดย ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งจะขัดขึ้นในช่วงกลางเดือน 9 ของทุกปี โดยจะจัดขึ้น ณ ศาลาวัด เป็นประเพณีถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งถือเป็นประเพณีของชาวรามัญ ณ วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเกิดจากความเชื่อความศรัทธา โดยประเพณีนี้ได้รับอิทธิพลจากชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย ความเชื่อนี้สืบเนื่องมาจากสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคเป็นยาได้ มีเรื่องเล่าถึงที่มาของการใช้น้ำผึ้งเป็นยารักษาโรคในสมัยพุทธกาลคือ ในสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกจากการบำเพ็ญทุกขกิริยาทั้งสิ้นแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระพลานามัยของพระองค์ก็ยังไม่ฟื้นคืนดังเดิม ยังคงมีโรคภัยไข้เจ็บมาแผ้วพานอยู่เรื่อยๆ  จนกระทั่งนาสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสที่ทำการหุงด้วยน้ำนมเจือน้ำผึ้ง มาถวายแก่พระองค์ หลังจากนั้นก็เกิดสิ่งน่าเหลือเชื่อขึ้น เพราะพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติอย่างรวดเร็ว มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงในเวลาอันสั้น จนมีพระปรีชาญานตรัสรู้ได้ในที่สุด และอีกหนึ่งเหตุการณ์คือ ในช่วงเดือน 10 จะเป็นฤดูที่มีฝนตกชุก พระภิกษุที่ออกไปบิณฑบาตร่างกายชุ่มไปด้วยน้ำฝน อีกทั้งต้องเหยียบย่ำโคลนตม จนเกิดเหตุการณ์ที่พระภิกษุอาพาธพร้อมกันหลายรูป ทั้งมีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน ร่างกายซูบผอม มีอาการซึม เศ้ราหมอง พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคได้  โดยถือเป็นยารักษาโรคและอาหารที่ใช้บำรุงร่างกายด้วย หลังจากนั้นมาการถวายน้ำผึ้งก่อเป็นที่นิยมของชาวบ้านทั่วไป จนเกิดเป็นประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเป็นการถวายเภสัชทาน บำรุงสุขภาพพระภิกษุ และยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมา โดยพิธีกรรมเริ่มต้นขึ้นในก่อนวันที่จะมีประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งคือชาวบ้านจะช่วยทำข้าวต้มมัดจำนวนมากๆ เพื่อนำมาถวายพร้อมกับน้ำผึ้ง เมื่อถึงวันงานชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองก็ต่างพากันล่องเรือกันมายังวัดพิมพาวาส (ใต้) ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ชาวบ้านที่หลั่งไหลกันเข้ามาร่วมพิธีก็จะนำน้ำผึ้งใส่บาตรพร้อมกันนั้นยังใส่น้ำตาลในจานที่วางคู่กับบาตรด้วย โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่นำข้าวสารอาหารแห้งและของคาวหวานอื่นๆ มาถวาย ก็จะนำอาหารที่นอกเนือจากน้ำผึ้งไปใส่ภาชนะที่วางไว้อีกด้านหนึ่งของศาลาวัด และอาหารพิเศษที่ชาวบ้านช่วยกันจัดเตรียมในคืนก่อนถึงวันงานอย่างข้าวต้มมัด ก็จะถูกถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์เพื่อการฉันคู่กับน้ำผึ้ง โดยการนำข้าวต้มมัดจิ้มกับน้ำผึ้งและฉัน ถือเป็นอาหารมือง่ายๆ เอาไว้ฉันเวลาเร่งรีบ หรือเวลาไปในสถานที่ที่ไม่ได้สะดวกต่อการปรุงอาหารเท่าไหร่นัก

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งประเพณีที่ระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า

ที่มาของประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง นี้ มีที่มาจากการฝูงช้างป่าและลิงป่าคอยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ณ ตอนที่เสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ โดยสัตว์พวกนี้ต่างนำอ้อยและน้ำผึ้งมาคอยถวายแก่พระพุทธเจ้า จนกระทั่งพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าอ้อยและน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่ระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดรัจฉาน กล่าวคือ การที่สัตว์เดรัจฉานแสวงหาอาหารมาถวายพระพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรม แปลว่าสัตว์ยังรู้ถึงคุณค่าอันสวยงามของพระพุทธศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจะต้องนำปัจจัยในรูปแบบต่างๆ มาถวายเพื่อจุดประสงค์คือการได้ฟังเทศน์ ฟังธรรมเช่นเดียวกัน

Casablanca Resort เกาะล้าน รีสอร์ทใหม่ล่าสุดบนเกาะล้าน


ที่พัก Pet Friendly ระยอง ที่พักที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยงคู่ใจ