ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน

ประเพณีแห่ธงตะขาบ

ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน นั่นคือ การทำธงกระดาษ ที่เป็นภูมิปัญญาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ โดยคนที่จะทำธงกระดาษได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทราบรายละเอียดของธงเป็นอย่างดี ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีสำคัญของชาวรามัญ เพราะเป็นประเพณีที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวรามัญ เป็นประเพณีที่นอกจากจะนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการส่งต่อภูมิปัญญาอันเก่าแก่ร่วมและร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงามของสังคม ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยาวนาน สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวรามัญ

ประเพณีแห่ธงตะขาบ

จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีคนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ทั้งชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายมอญ ประเพณีอันงดงามที่แสดงถึงความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นประเพณีสำคัญของชาวรามัญ เป็นวัฒนธรรมของชาวรามัญที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณวัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง ประเพณีแห่ธงตะขาบถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวรามัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจาก แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างการทำธงกระดาษ ประเพณีแห่ธงตะขาบงานหัตถกรรมที่แสดงถึงความละเอียดอ่อน โดยผู้ทำธงกระดาษจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความใจและได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยตรง จากรุ่นสู่รุ่น โดยรายละเอียดของการพับจะมีตัวอย่างดังนี้ ตัวตะขาบจะมีด้วยกันทั้งหมด 9 ราวนม นมละ 14 ช่วง และนมตะขาบจะอยู่เป็นนมคู่ หากเป็นตะขาบตัวผู้จะต้องมี 2 ปาก และหากเป็นตะขาบตัวเมียจะมีเพียงปากเดียวเท่านั้น เมื่อทำตัวตะขาบเสร็จเรียบร้อยแล้วแล้วผู้ทำก็จะนำแป้ง หวี กระจก ผม 1 ปอย และผ้าเช็ดหน้าไปแขวนไว้ที่ปากตะขาบ ธงตะขาบแต่เดิมใช้เป็นธงกระดาษ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าในการทำแทน และในปัจจุบันจะใช้เชือกเส้นขอบผูกขวาง คั่นด้วยซี่ไม้ไผ่ จากนั้นใช้เสื่อผืนยาวปิดทับตรงส่วนของลำตัว ด้านของปลายไม้ที่ยื่นออกทั้งสองข้างจะประดับด้วยช้อนผูกห้อยแทนขาทุกซี่ โดยทำสลับกับการผูกพู่กระดาษเพื่อเพิ่มสีสันและความสวยงาม ส่วนหัวและหางสานจะผูกด้วยโครงไม้ปิดกระดาษสี ประเพณีแห่ธงตะขาบจัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยของทุกปี ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน ปัจจุบันประเพณีแห่ธงตะขาบ นิยมแห่ทางบกมากกว่าทางเรือ ไม่เหมือนแต่ก่อนที่การคมนาคมยังไม่ทั่วถึง ก็จะนิยมใช้เรือในการแห่ทางน้ำ โดยส่วนมากในขบวนจะใช้กำลังคนในการเดินขบวนและใช้ยาพาหนะเพียงไม่กี่คันในการแห่ ผู้คนที่ร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบพื้นเมืองอย่างสวยงาม ทั้งชายและหญิง ต่างคนก็จะถือธงตะขาบกันอย่างละหนึ่งธง และเดินรวมกันไปยังวัด เมื่อขบวนถึงวัดเรียบร้อย ชาวบ้านก็จะนำธงตะขาบที่ทำการแห่มานั้นไปผูกไว้กับต้นเสาในศาลาวัดเพิ่มเริ่มทำพิธี จากนั้นเมื่อถึงเวลาเริ่มพิธี พระสงฆ์ก็จะนำสายสิญจน์มาพันไว้รอบธง ลำดับต่อไปก็จะเป็นพิธีถวายธง โดยจะเริ่มขึ้นด้วยการกล่าวบทนมัสการคณพระศรีรัตนตรัย ตามด้วยการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ตามลำดับ หลังจากพิธีถวายธงเสร็จสิ้นลงแล้วก็จะถึงคิวของชาวบ้านที่จะต้องขึ้นไปแก้ธงตะขาบ จากนั้นนำธงตะขาบไปชักบนเสาหงส์ ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นพิธีที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ด้วยประเพณีถวายธงตะขาบนี้เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จึงมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่า ทุกครั้งที่มีลมพัดแรงจนธงตะขาบส่าย เป็นการบอกรับบุญกุศลของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่สื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์ ถือเป็นการจบพิธีกรรมที่สมบูรณ์และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ประเพณีแห่ธงตะขาบพิธีกรรมที่มีศาสนาเป็นตัวประสานความเชื่อ

เชื่อว่าทุกสังคมมีคความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ แตกต่างกันออกไป เพราะในแต่ละพื้นที่มีผู้คนอยู่หลากหลาย ทำให้ต้องมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่ในแต่ละสังคมจะมีตัวเชื่อเพื่อจะให้ความแตกต่างเกิดเป็นความเข้าใจ อย่างประเพณีแห่ธงตะขาบของชาวรามัญ พื้นที่บางปะกง ก็มีศาสนาเป็นตัวเชื่อประสานความเชื่อ ความศรัทธา เป็นกุศโลบายที่แสดงออกถึงความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย เป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยเตือนสติให้แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นพิธีที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ โดยการนำภูมิปัญญาที่สืบสานส่งต่อมาจากคนรุ่นก่อนมาเป็นประเพณี และใช้เป็นพิธีในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ที่สำคัญคือเป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เป็นการรวบรวมของคนภายในชุมชนมาร่วมแรงร่วมใจ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานประเพณีที่สำคัญของชุมชนออกมาอย่างบรรลุเป้าหมาย และดีที่สุด

เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของชลบุรีกว่า 20 ปี

4 จุดเช็คอินระยอง ห้ามพลาด แหล่งเช็คอินต้อนรับปี 2566