งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่า 100 ปี

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ฉะเชิงเทรา จังหวัดที่งดงามไปด้วยวิถีชีวิตวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่าร้อยปี โดยในปี 65 ทีผ่านมานี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปี ที่ 132 แล้ว โดยวัตถุประสงค์ของประเพณีอันงดงามนี้คือ เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยกิจกรรมภายในงานจัดขึ้นอย่างหลากหลาย เปิดให้คนเข้าชมความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธรทางน้ำ อีกทั้งร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธร โดยจุดประสงค์หลัก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิต ให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญ รอดพ้นจากภัยพาน

ประเพณี งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร งานบุญสุดยิ่งใหญ่ของฉะเชิงเทรา ที่จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่ชาวฉะเชิงเทราให้ความสำคัญ และแต่ละปีประชาชนจะตั้งหน้าตั้งตารอให้ประเพณีอันยิ่งใหญ่อลังการนี้มาถึง เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ดี เพราะในอดีตมีเรื่องเล่าว่า ในปี 2434 ได้เกิดโรคระเบิดขึ้น ผู้คนลมป่วยเป็นจำนวนมาก ข้าวยากหมากแพง ทำให้ทุกคนเผชิญกับความลำบากยากเข็ญ ชาวบ้านจึงพากันไปบนบานศาลกล่าวต่อ องค์หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เคารพบูชา การบนบานที่ทำกันบ่อย ได้แก่ การปิดทองหลังพระ การแก้บนด้วยไข่หรือสิ่งต่างๆ ไปจนถึงการบนบานด้วยการจัดแสดงมโหรสพ เช่น ฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือที่เป็นที่เลื่องลือ นายทรัพย์ชาวง้านในละแวกนั้นเป็นโรคฝีดาษ ซึ่งถือเป็นโรคระบาดในช่วงนั้น นายทรัพย์จึงบนบานต่อหลวงพ่อวา ถ้าหายจากโรคฝีดาษจะจัดการฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือให้เป็นที่สนุกสนาน ระหว่างการฉลอง จู่ๆ ก็เกิดความอัศจรรย์ เกิดฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ โรคภัยไข้เจ็บค่อยๆ จางหายไปตามสายฝน หลังจากการฉลองครั้งนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บนขึ้นทุกปีแต่นั้นมา ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยจัดขึ้นตามวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ 

งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวมทั้งสิ้น 3 วัน

งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวมทั้งสิ้น 5 วัน

งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวมทั้งสิ้น 5 วัน 

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

โดยกิจกรรมสำคัญภายในงานคือขบวนแห่หลวงพ่อโสธร ทั้งทางบกและทางน้ำ โดย ในวันขึ้น 14 ค่ำจะมีการแห่หลวงพ่อทางบก วันขึ้น 15 ค่ำ มีการแห่ทางน้ำ และวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย จะมีการจัดการเวียนเทียนและสรงน้ำพระ และครั้งสุดท้ายของปีจะจัดขึ้นในงานเทศกาลตรุษจีน จัดตามจันทรคติของจีน คือ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ปีใหม่ (ชิวอิด) ไปจนถึงวันขึ้น 5 ค่ำ (ชิวโหงว) รวมทั้งสิ้น 5 วัน 5 คืน ถ้าเทียบเป็นเดือนไทยก็คือ ราวเดือนยี่หรือเดือนสาม ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จะอัญเชิญแห่หลวงพ่อโสธรผ่าน 14 ท่าน้ำ ถือเป็นงานบุญสุดยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา เส้นทางขบวนแห่องค์หลวงพ่อโสธรทางบกแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ 


ช่วงที่ 1 จัดขึ้นในช่วงเช้า จัดขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธรองค์จำลอง ให้ประชาชนได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์และรับสายสิญจน์ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ไม่เจ็บไม่ป่วย พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ตามด้วยรถประดับตกแต่ง 
ช่วงที่ 2 จัดขึ้นในช่วงบ่าย เคลื่อนขบวนวงโยธวาทิตการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการแสดงจากภาคเอกชน ปิดท้ายด้วยขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธร สิ้นสุดบริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโสธรผ่าน ทั้งชาวบ้านและองค์กรต่างร่วมกันตั้งโต๊ะบูชาถวายเป็นพุทธบูชา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและวัน นักขัตฤกษ์ จะมีผู้เข้านมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป 

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในไม่กี่ประเพณีที่ยังจัดขึ้นจนถึงปัจจุบัน

หลายๆ ประเพณีที่มีความงดงามในอดีต ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ด้วยความที่ในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ขึ้นเยอะกว่าในอดีต ทำให้ประเพณีอีนดีงามเลือนหายไป เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์และใส่ใจจากคนรุ่นใหม่ ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีสุดเก่าแก่ที่ยังได้รับความนิยมและจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธา ต่อหลวงพ่อพุทธโสธร ทำให้ประเพณีนี้ยังคงจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสืบสาน และอนุรักษ์และเผยแพร่ให้ประชาชนได้รำลึกถึงและระลึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อพุทธโสธร และเป็นการสืบสานงานบุญสุดอลังการประจำจังหวัดฉะเชิงเทราให้คงอยู่ต่อไป

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน

ที่พักหลักร้อย ระยอง ที่พักสำหรับคนมีงบจำกัด