ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีสำคัญของชาวแสนสุข

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล

วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินของประเทศไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีการจัดงานหรือประเพณีที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ในจังหวัดชลบุรีก็มีประเพณีอันงดงามที่จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงขึ้นปีใหม่ไทย ได้แก่ ประเพณีก่อพระทรายวันไหล หรืองานทำบุญวันไหล ที่เรียกกันมาแต่โบราณ ประเพณีก่อพระทรายวันไหลเป็นประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน เป็นประเพณีที่ชาวบ้านในพื้นที่จะต้องมารวมตัวกันเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยการนิมนต์พระทุกวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์ และมีพิธีหรือการละเล่นอย่างสนุกสนานในแบบฉบับชาวบ้าน

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีที่รวบรวมการละเล่นและกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย

เนื่องจากประเพณีก่อพระทรายวันไหล เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงวันปีใหม่ไทย เป็รเหมือนการเมต้นสิ่งใหม่ๆ หลังจากที่ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ มาทั้งปี ดังนั้น ประเพณีก่อพระทรายวันไหลจึงเป็นประเพณีที่รวบรวมความสนุกเอาไว้ เพื่อให้ประชาชนเริ่มต้นปีด้วยสิ่งดีๆ เริ่มต้นปีด้วยความสนุกสนาน เป็นงานที่ทางเทศบาลเมืองแสนสุข จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หลังจากงานเทศกาลสงกรานต์ผ่านพ้นไป ก็จะเริ่มต้นความสนุกกันต่อด้วยประเพณีนี้เลย  โดยจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 16-17 เมษายนของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการละเล่นพื้นบ้าน อันดีงามของชาวแสนสุขและชาวบางแสน ให้คงอยู่ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายตลอดไป ประเพณีก่อพระทรายวันไหลจัดขึ้น ณ บริเวณชายหาดบางแสน กิจกรรมในงานประกอบด้วย การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย, การทำบุญตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, การละเล่นพื้นบ้าน, รดน้ำสงกรานต์ ตลอดจนการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่นการแข่งขันชักเย่อ, การแข่งขันกินข้าวหลาม, การแข่งขันแกะหอยนางรม, การแข่งขันวิ่งเปี้ยว และการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง เนื่องจากเป็นงานวันไหล คนไทยในสมัยก่อนนิยมสร้างพระเจดีย์ไว้ภายในวัด สร้างขึ้นเพื่อให้พระเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชุมชนนั้นๆ วัดทุกวัดของไทยจึงมีพระเจดีย์อยู่ภานในวัดอย่างน้อย 1 องค์ หรือบางวัดอาจมีมากกว่านั้น โดยพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นมีทั้งขนาดองค์ใหญ่ ขนาดองค์กลาง และขนาดองค์เล็ก โดยพระเจดีย์องค์ที่ใหญ่ที่สุด นิยมสร้างไว้หลังพระอุโบสถหรือพระวิหารของวัดเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อพุทธศาสนิกชนได้ทำการนมัสการพระประธานในอุโบสถแล้วก็เท่ากับได้กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุไปด้วย ประเพณีก่อพระทรายวันไหลประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน รายละเอียดของประเพณีคือการที่ทุกคนในชุมชนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันขนทราย ช่วยกันหอบกองทรายกันเข้ามาภายในวัด เมื่อได้ทรายกองสูงตามต้องการแล้วก็จะเอาน้ำมารดกองทรายและเอาไม้มาปั้น กลึงให้เกิดเป็นรูปทรงเจดีย์ ทรงตามที่ต้องการ จากนั้นก็จะทำการปักธงต่างๆ บนยอดของกองทราย ช่วยกันตกแต่งให้กองทรายมีความวิจิตรงดงามมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องใช้ความตั้งใจ ความประณีต ความละเอียดลออ ไม่ทำแบบขอไปที เนื่องจากการก่อเจดีย์ทรายก็ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง โดยรูปแบบของเจดีย์ทราย จะบ่งบอก บอกเล่าหรือสื่อความหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธศาสนาและมักจะมีลักษณะรูปทรงเป็น พระสถูป เจดีย์ พระปรางค์ พระพุทธรูป หรือสิ่งของอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แล้วประดับตกแต่งด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดอกไม้ เปลือกหอยและธงทิวต่างๆ ประกอบด้วยผ้าป่า เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยในแต่ละปีจะมีการแข่งขันความสวยงามของพระเจดีย์ทรายของแต่ละชุมชนด้วย โดยชุมชนไหนใคร่อยากจะส่งเข้าประกวดก็สามารถร่วมแรงร่วมใจกันทำจนสุดฝีมือ และเมื่อได้รางวัลก็จะเป็นรางวัลของส่วนร่วม และถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนนั้นๆ  ชาวบ้านจะช่วยกันก่อจนกองทรายครบ 84,000 กอง เท่าจำนวนของพระธรรมขันธ์ พระเจดีย์ทรายแต่ละกองขะมีทงธิว ลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยทุกกองจะมีผ้าป่าอันสวยงามตกแต่งไว้อยู่ด้วย จากนั้นพระสงค์ก็จะพิจารณาบังสุกุล ทำบุญเลี้ยงพระ เมื่อเสร็จพิธีต่างๆ แล้วก็จะเลี้ยงคนที่ไปร่วมงาน ทางวัดก็จะได้ทรายไว้ สำหรับสร้างเสนาสนะ ปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัดต่อไป 

ประเพณีก่อพระทรายวันไหลเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรอนุรักษ์

ปัจจุบันเกิดความสะดวกขึ้นมากมายในการขนทรายเบ้าวัด ด้วยสภาพของบ้านเมืองที่เจริญขึ้นทุกวัน ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้น ทำให้ประเพณีอันงดงามค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลาหลายประเพณี หนึ่งในนั้นก็คือประเพณีก่อพระทรายวันไหล จากการบนทราย หาบทรายทีละน้อยเข้าวัดเมื่อก่อน ปัจจุบันก็เป็นการซื้อทรายทีเป็นคันรถ ทำให้งานก่อพระทรายเปลี่ยนสภาพไป ต่างจากเดิมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ประเพณีก่อพระทรายวันไหลประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน ก็คงยังได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยคนบางแสน ยังคงส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การละเล่นพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของบางแสนไว้ให้คงอยู่เรื่อยไป โดยนำเสนอให้คนได้รู้จักในชื่อ งานก่อพระทรายวันไหลบางแสน

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่า 100 ปี


คาเฟ่ริมทะเลบางเสร่ ร้านกาแฟริมทะเลใกล้กรุงเทพฯ