ชักเย่อเกวียนพระบาท สืบสานวิถีชีวิต วัฒนธรรมไทย

ชักเย่อเกวียนพระบาท

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยหรือเทศกาลสงกรานต์ ในแต่ละจังหวัดทั่วทุกภาคของไทยนอกจากจะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีสำคัญหลายอย่างที่แต่ละชุมชนได้ร่วมกันทำซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น ชักเย่อเกวียนพระบาท รวมไปถึงการเล่นต่าง ๆ ที่จัดในช่วงเวลานี้ด้วย เช่นที่ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ที่เราแวะไปเยือนเพื่อชมประเพณีการเล่นโบราณ ที่จัดในวันที่ ๑๗ เมษายนของทุกปี การละเล่นนี้คือชักเย่อเกวียนพระบาท ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับประเพณีชักพระบาทของชาวตะปอน ถือเป็นอำเภอเก่าแก่ ในอดีตผู้คนในแถบนี้ประกอบอาชีพทำนาและประมง ต่อมาหันมาปลูกผลไม้ หากลองขับรถตระเวนดูตามเส้นทางที่เชื่อมโยงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ในเขตอำเภอขลุงจะพบชุมชนเก่าแก่หลายชุมชน สังเกตได้จากบ้านเรือนแบบโบราณที่ยังคงรักษาไว้อย่างดี

ชักเย่อเกวียนพระบาท การละเล่นพื้นบ้าน ที่สร้างความสนุกสนานแก่ชาวบ้านในพื้นที่ 

เมื่อมีชุมชนโบราณจึงไม่แปลกที่จะได้สัมผัสประเพณีวัฒนธรรมการเล่นแบบโบราณที่ปฏิบัติสืบกันมา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้าน แถบตำบลตะปอน ชักเย่อเกวียนพระบาทนอกจากจะมีการแห่พระบาท มีงานบุญที่ทำร่วมกันที่วัดแล้ว ทุกคนยังมารวมตัวกันเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทอย่างสนุกสนาน ทั้งที่วัดตะปอนน้อย และวัดตะปอนใหญ่ เกวียนพระบาทหมายถึง ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน เกวียนและผ้าพระบาท สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผ้าพระบาท เป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีความกว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๗ เมตร บนผ้าเขียนรอยพระบาทจำลองสี่รอยซ้อนกัน ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเชื่อว่ารอยพระบาทสี่รอยนี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ได้แก่ รอยด้านนอกที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นรอยของพระกกุสันโธ ถัดมาเป็นรอยของพระโกนาคม จากนั้นจึงเป็นรอยของพระกัสสปะ และรอยเล็กที่สุดเป็นรอยของพระโคตมพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั่นเอง ชักเย่อเกวียนพระบาทประเพณีดั้งเดิม และส่วนของผ้าพระบาทที่วัดตะปอนน้อยเป็นผ้าพระบาทจำลองที่อัญเชิญมาจากวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี โดยอัญเชิญมาทางเรือและขึ้นฝั่งที่บ้านคลองยายดำก่อนมาประดิษฐานที่วัดตะปอนน้อย ด้วยเหตุที่ต้นทางของผ้าพระบาทมาจากทางภาคใต้ จึงมีผู้สันนิฐานว่าประเพณีการแห่ผ้าพระบาทอาจมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ และการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทของที่นี่นั้น ปฏิบัติสืบทอดมาเป็นเวลานาน ชักเย่อเกวียนพระบาทการละเล่นพื้นบ้าน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยในวันที่ ๑๕-๑๖ เมษายน ที่วัดตะปอนน้อยจัดให้เล่นชักเย่อเกวียนพระบาทเพื่อความสนุกสนาน ส่วนที่วัดตะปอนใหญ่จัดในที่ ๑๗ เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล ถือเป็นงานใหญ่เพราะเป็นการแข่งขันชักเย่อเกวียนพระบาทแบบจริงจัง ในอดีตเชื่อว่าเมื่ออัญเชิญผ้าพระบาทขึ้นเกวียนแห่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บของผู้คนที่เกวียนพระบาทชักลากผ่านไปทุเลาและหายลง อีกทั้งจะได้รับความโชคดี ทำให้แต่ละบ้านอยากอัญเชิญผ้าพระบาทไปประดิษฐานไว้ ทำให้เกิดกิจกรรมการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทขึ้นตามมา

ชักเย่อเกวียนพระบาท

โดยแต่ละบ้านส่งทีมมาแข่งขันกัน ทีมใดชนะก็จะได้สิทธิ์ในการนำผ้าพระบาทไปประดิษฐานไว้หนึ่งปี ต่อมาภายหลังได้ยกเลิกไป เหลือแต่แข่งขันเพื่อความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน ส่วนผ้าพระบาทผืนที่นำมาจากภาคใต้เก็บรักษาไว้ที่วัดตะปอนน้อย ผืนของวัดตะปอนใหญ่ เป็นการคัดลอกขึ้นมาเพื่ออัญเชิญ ขึ้นเกวียนในการแข่งชักเย่อที่วัดตะปอนใหญ่ สันนิษฐานว่าการเล่นชักเย่อเกวียนมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะมีหลักฐานว่ามีงานประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน ทั้งยังเกิดขึ้นในหลายท้องถิ่น มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป และในบางท้องที่บนเกวียนที่ใช้เล่นชักเย่อนั้นนำเพียงพระพุทธรูปมาตั้งไว้ แต่สำหรับตำบลตะปอน เป็นผ้าที่มีรอยพระบาทจำลองมาตั้งไว้บนเกวียน จึงเรียกว่าการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท ในอดีตเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งสิทธิ์ในการถือครองผ้าพระบาทหรือถือครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ในปัจจุบันเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งการละเล่นนี้นิยมเล่นกันในภาคตะวันออกของไทย โดยเฉพาะที่ตำบลตะปอน เป็นชุมชนที่มีการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท สืบทอดต่อกันมายาวนานที่สุด อีกทั้งยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน 

ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท เราขอบอกเลยว่านับว่าเป็นอีกหนึ่งการเล่นแบบโบราณที่ปฏิบัติสืบกันมา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้าน แถบตำบลตะปอน ของจังหวัดจันทบุรี ชักเย่อเกวียนพระบาทประเพณีดั้งเดิม  เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนและทุกท่านที่ได้มาสัมผัส

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี มาอย่างยาวนาน 


วัดดังระยอง ไหว้พระขอพรต้อนรับปีใหม่ เสริมสิริมงคลให้ชีวิต