งานนมัสการหลวงพ่อโสธร เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดต่อกันมา มากว่าร้อยปีแล้ว

งานนมัสการหลวงพ่อโสธรเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยในปี 2565 นี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 132 แล้ว ซึ่งแต่เริ่มแรกนั้น งานนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นเมื่อกลางเดือน 12 ในปี พ.ศ.2434 โดย โต้โผทรัพย์ เจ้าของละครคลองโสธร เนื่องจากว่า ในปีนั้น ชาวเมืองเกิดความยากลำบาก ข้าวยากหมากแพง มีโรคระบาด ทั้ง โรคอหิวาต์ และโรคฝีดาษ งานนมัสการหลวงพ่อโสธรที่น่าเคารพ ทำให้ทุกคนลำบากยากเข็ญอย่างมาก ทุกคนจึงได้บนบานแก่หลวงพ่อโสธร จึงทำเกิดให้เป็นประเพณีขึ้นมา 

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธรงานแห่ที่ยิ่งใหญ่

งานเทศกาลกลางเดือน 12 เทศกาลนี้ได้จัดสืบต่อกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว คือ เริ่มจัดขึ้นในราว พ.ศ. 2434 โดยมีมูลเหตุมาจากในปีนั้น ประชาชนในท้องถิ่นประสบทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ทำการเพาะปลูกไม่ได้ผล ทั้งยังเกิดโรคอหิวาต์และฝีดาษระบาดทั่วไป ทำให้ผู้คนและสัตว์เลี้ยงล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงคราวเข้าตาจนเช่นนี้ชาวบ้านต่างพากันบนบานศาลกล่าว ต่อหลวงพ่อให้ช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยเหล่านี้ ให้ช่วยลูกช้างด้วย บ้างก็ขอยาดีหลวงพ่อ คือขี้ธูปบ้าง น้ำมนต์บ้าง ดอกไม้ที่บูชาบ้าง รับมาทานมาทา บ้างก็บนบานว่า ถ้าหายแล้วจะปิดทอง บ้างก็บนบานด้วยละครและมหรสพสมโภช คนไทยบนด้วยลิเกและละครแก้บน ฝ่ายจีนก็บนงิ้ว ล่อโก๊ สิงโต ฯลฯ  งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ด้วยมหรสพสมโภชบ้าง และด้วยสิ่งอื่น ๆ กล่าวกันว่าความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่บันดาล ให้เกิดฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แผ่นดินชุ่มชื้น โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หายเป็นปลิดทิ้ง ชาวบ้านจึงร่วมใจกันจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บน งานนมัสการหลวงพ่อโสธรที่น่าเคารพ แต่เดิมงานเทศกาลในเดือนนี้มี 3 วัน คือ วันขึ้น 14-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ได้จัดเพิ่มขึ้นอีก 2 วัน คือ วันขึ้น 12-13 ค่ำ เดือน 12 รวมทั้งสิ้นเป็น 5 วัน และถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ในวันขึ้น 14 ค่ำจะมีการแห่หลวงพ่อทางบก วันขึ้น 15 ค่ำ มีการแห่ทางน้ำ และวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายมีการเวียนเทียนและสรงน้ำพระ งานเทศกาลตรุษจีน จัดตามจันทรคติของจีน คือ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ปีใหม่ (ชิวอิด) ไปจนถึงวันขึ้น 5 ค่ำ (ชิวโหงว) รวม 5 วัน 5 คืน ถ้าเทียบเป็นเดือนไทยก็คือ ราวเดือนยี่หรือเดือนสาม  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ส่วนราชการ สินค้าราคาถูกจากบริษัท ห้างร้านมอเตอร์โชว์ การชมคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้องชื่อดัง พร้อมกับซื้อสินค้าราคาถูก และชมการแสดงมหรสพอื่น ๆ อีกมากมายตลอดงาน งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ

  • งานเทศกาลกลางเดือนห้า เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึง แรม 2 ค่ำ รวม 3 วัน 3 คืน ถือว่าเป็นงานฉลองสมโภชในวันที่ อาราธนาหลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากน้ำ งานนมัสการหลวงพ่อโสธรที่น่าเคารพ มาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้
  •  งานเทศกาลกลางเดือนสิบสอง เริ่มงาน วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ (เดือนพฤศจิกายน)เนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2433 เกิดโรคฝีดาษระบาด ไปทั่ว ชาวบ้านจึงบนบานต่อหลวงพ่อพุทธโสธรขอให้หาย จึงได้จัดพิธีสมโภชจนกลายเป็นประเพณี สืบต่อกันมา ปัจจุบันทางจังหวัดฉะเชิงเทราและทางวัดโสธรฯ ได้ร่วมกันจัด งานนมัสการหลวงพ่อโสธรอันศักดิ์สิทธิ์ งานนมัสการ พระพุทธโสธร และงานกาชาดจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นประจำทุกปี มีการเฉลิมฉลอง เป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด เริ่มจากมีพิธีการบวงสรวงสถานที่สำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ องค์หลวงพ่อพุทธโสธร, ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5, กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี
  • งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน หลวงพ่อโสธรนั้นมีคสามสำคัญมาก เพราะเป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมีประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน งานนมัสการหลวงพ่อโสธรฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและวัน นักขัตฤกษ์ จะมีผู้มานมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป ในส่วนของพิธีกรรมนั้น งานเทศกาลกลางเดือน 5 จัดขึ้นรวม 3 วัน 3 คืน นับตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เทศกาลนี้จัดฉลองสมโภช เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นวันคล้ายวันที่อาราธนาหลวงพ่อขึ้นจากแม่น้ำ แล้วอัญเชิญท่านมาประดิษฐาน ที่วัดโสธรวรวิหาร 
งานนมัสการหลวงพ่อโสธร

งานนมัสการ หลวงพ่อโสธร เป็นประเพณีที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะประเพณีจัดเพื่อให้ทุกท่านนั้นได้ร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธรงานแห่ที่ยิ่งใหญ่ งานนมัสการหลวงพ่อโสธรฉะเชิงเทรา พร้อมร่วมนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ต้องถูกใจสายบุญแน่ๆ 

ประเพณีวิ่งควายชลบุรี ประเพณีขึ้นชื่อของชาวจังหวัดชลบุรีที่ไม่ควรพลาด

เยี่ยมชมตึกแดงอ่างศิลา ตึกเก่าโบาราณของจังหวัดชลบุรี