ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก แหล่งท่องเที่ยงมากมาย ประเพณีหลากหลาย

ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก

ในการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แล้วยังมี ประเพณีภาคตะวันออก ที่เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่น่าสนใจซี่ง ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก ในแต่ละภาคนั้นล้วนแต่มี ประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาคซึ่งจะเป็นการบ่งบอกถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของภูมิภาคนั้น ๆ ซึ่งส่งต่อมาในรูปแบบรุ่นสู่รุ่น เป็นการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยที่บางวัฒนธรรนั้นได้เลือนรางหายไปทางยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านไป ซึ่งการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวไทย  จึงได้มีการอนุรักษณ์สืบทอดเพื่อส่งต่อถึงคนรุ่นหลัง

ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก แปลกตา มีเสน่ห์ สวยงามอย่างมีเอกลักษณ์

อย่างที่ทุกท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาคตะวันออกของไทยมีทั้งหมด 7 จังหวัดประกอบไปด้วยจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว แต่ละจังหวัดนั้นนับว่ามีประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก ที่น่าสนใจ  เช่น งานประเพณีกองข้าว ประเพณีบวงสรวงศาลหลักเมือง และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยใน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง งานแห่บั้งไฟ ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เป็นต้น วันนี้เราจึงได้รวบรวมประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก วิถีชีวิต   ดั้งเดิมของชาวไทย มาให้ทุกท่านได้ชมกัน ไปดูกันเลยว่ามีประเพณีไหน น่าสนใจบ้าง

ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก
  • มาเริ่มกันที่ประเพณีที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีขึ้นชื่อ ภาคตะวันออก วัฒนธรรม  เก่าแก่ของชาวจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วันนั่นเอง จุดประสงค์หลักของงานเลยก็เพื่อเป็นการทำขวัญควายและ ให้ควายได้พักผ่อนหลังจากการทำนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายนั้นยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควาย ที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยด้วย อีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านนั้นได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์ สนุกสนานเฮฮาด้วยกันในงานวิ่งควาย อีกทั้งภายในงานนั้นก็จะมีการนำผลผลิตของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้าน ร้าน ตลาดไปพร้อมๆ กัน ต่างคนก็จูงควายกันเข้ามาเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น 
  • ประเพณีทำบุญกลางทุ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย2อย่างด้วยกัน นั่นก็คือ การทำบุญขอฝน และทำบุญข้าวใหม่หรือทำบุญข้าวหลาม จัดขึ้นช่วงเดือนสาม หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้ว การทำบุญข้าวใหม่นั้นเป็นประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวบ้านในพื้นที่  เพื่อรับขวัญข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวเสร็จ ถือเป็นงานมงคลประจำหมู่บ้านและเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้แก่ชาวนาอีกด้วย เมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่ปะรำพิธีกลางทุ่งนา เรียกว่าสวดมนต์เย็น พอรุ่งเช้าก็จะร่วมกันทำบุญตักบาตร แล้วกลับบ้านไปเผาข้าวหลามที่ได้เตรียมกันไว้ เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นชาวบ้านจะนำอาหารและข้าวหลามมาทำบุญเพราะเชื่อว่าเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ โดยการนำข้าวปลาอาหาร ขนม และย้ำใส่ในกาบหมาก โดยสมมติว่าเป็นเรือ หลังจากพระฉันภัตตาหาร และสวดมนต์เรียบร้อยแล้ว ชาวนาก็จะนำกากหมากออกไปทิ้งไว้ข้างทางเพื่อให้ผีไม่มีญาติได้กินกัน เมื่อตกกลางคืนก็จะมีการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะแสดงลิเก ภาพยนตร์ วงดนตรี
  • และสุดท้ายประเพณีของจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว  นั่นคือ งานสืบสานประเพณีสรงน้ำและแห่เจ้าพ่อพระปรง ทุกๆ วันที่ 16 เม.ย. ของทุกปี จะมีการแห่เจ้าพ่อพระปรง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทั้งชาวจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้วให้ความเคารพนับถือ ได้จัดให้มีขบวนแห่สรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง  โดยเริ่มจากบริเวณศาลเจ้าพ่อพระปรง ม.8 มาตามถนนสุวรรณศร สระแก้ว-กบินทร์บุรี เรื่อยไปตามถนนสาย304 เข้าแยกปากท้องบ้านทุ่งแฝก สู่ตลาดเทศบาลตำบลกบินทร์  โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนรถแห่ผ่าน มีประชาชนจำนวนมากที่เคารพนับถือรอคอยสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับงานประเพณีสรงน้ำแห่เจ้าพ่อพระปรงนั้น  เป็นประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวันออก วิถีชีวิต ของชาวอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นประจำของทุกปี โดยถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองกับชาวกบินทร์มาช้านานและโดยเฉพาะมีคุณค่าทางจิตใจเป็นที่เคารพนับถือบูชาของประชาชนตลอดมา โดยเริ่มตั้งแต่ในช่วงเช้าของวันที่ 15 เมษายน จะมีการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อพระปรงลงประทับที่แท่นต่ำ เพื่อให้ประชาชนทำการปิดทองและสรงน้ำ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ประเพณีภาคตะวันออก ที่ในปัจจุบันนั้นได้รับการสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพราะส่วนใหญ่ ประเพณีขึ้นชื่อภาคตะวัน วัฒนธรรม อันโดดเด่นของไทยนั้นจะจัดงานกันอย่างยิ่งใหญ่อลังการ จนเหมือนว่าเป็นการปิดเมืองเพื่อจัดเทศกาลนั้นไปเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั้นก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดต่อกันมา มากว่าร้อยปีแล้ว

40 ที่เที่ยวชลบุรีอัพเดทใหม่ปี 2023 ปักหมุดแล้วไปเที่ยวกันเลย