ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ของชาวฉะเชิงเทรา

ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีประเพณีอันดีงามอยู่มากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย หนึ่งในประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่งดงามของคนฉะเชิงเทรา ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายเป็นประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา เป็นวันที่รวบรวมการจัดแสดงนิทรรศการทางการเกษตร การแข่งขันไถนา การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ถือเป็นวันที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนาแบบฉะเชิงเทราให้คนผู้คนได้รู้ ถือเป็นการสืบสานและเผยแพร่วัฒธรรมไปในตัวด้วย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ประเพณีสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาวนา

จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา เป็นที่ราบลูกฟูกและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ด้วยภูมิประเทศดังกล่าวทำให้อาชีพหลักของคนฉะเชิงเทราคืออาชีพทำการเกษตร โดยผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของฉะเชิงเทราคือ ข้าว โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 3 แสนไร่ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด จึงเป็นที่มาของประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ประเพณีที่รำลึกถึงโดยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเดือนพฤษภาคม ช่วงวันพืชมงคล โดยในทุกปีชาวนาตำบลเทพราช เกษตรอำเภอบ้านโพธิ์และเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกันจัดประเพณีอันงดงามนี้ขึ้น ในวันงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา  มีทั้งการแข่งขันไถนาที่ท้องนา การแสดงนิทรรศการการเกษตรเพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้ที่สนใจ มีการร่วมประชุมสภาชาวนา รวมถึงการทำบุญกลางทุ่งนา และในตอนกลางคืนจะมีการแสดงโชว์ต่างๆ ขึ้น ทั้งการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ตำบลเทพราชมีด้วยกัน 6 หมู่บ้าน โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในพื้นที่ท้องนาของแต่ละหมู่บ้าน และระยะหลังงานประเพณีบุญกลางทุ่งได้มีการเพิ่มกิจกรรมทางศาสนาพุทธขึ้นมาอีกหนึ่งกิจกรรมคือการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม ถือศีลในงานประเพณีอีกด้วย ก่อนหน้านี้กิจกรรมส่วนใหญ่ในวันงานจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกร ต่อมาคณะกรรมการจัดงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของควาย เพราะควายเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าแก่ชาวนา เกษตรกร และมีความสำคัญต่อประเทศไทย จึงได้เพิ่มกิจกรรมในวันงานประเพณีขึ้นมา คือการไถ่ชีวิตควาย จากจำนวนน้อยๆ 1 ตัว 2 ตัว ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี และในบางปีสามารถไถ่ชีวิตควายได้ถึง 8 ตัวด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะมาก ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายนั้นสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ของชาวนา ให้ได้รำลึกถึงอดีต สืบสานและถ่ายทอดมรดกให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืบสานวัฒนธรรม ถือเป็นประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมและสืบทอดประสบการณ์ รวมถึงวัฒนธรรมการทำนาให้ชาวนารุ่นหลังได้ปฏิบัติสืบต่อกันไปในแต่ละรุ่นจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย

โดยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย จัดขึ้นรวมทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน ในวันแรกเกษตรกรและชาวนาจะนำพันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกมาเข้าร่วมพิธี จากนั้นนำพันธุ์ข้าวที่ได้จากการเข้าร่วมพิธีไปไถหว่านในนาของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับผืนนา ให้ได้ปลูกข้าวได้อย่างเรียบง่าย ไม่มีอุปสรรค ได้ข้าวออกเมล็ดสวย เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อให้จังหวัดต่อไป วันที่ 2 เกษตรกรและชาวนาจะร่วมกันทำบุญตักบาตร มีการไถ่ชีวิตควายซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการทำนาจากโรงฆ่าสัตว์ และในวันที่ 3 จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ต่อด้วยพิธีไถ่ชีวิตควายและมอบควายแก่เกษตรกรเพื่อการทำนา นำไปเลี้ยงและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยชาวนาที่ได้ควายจากการไถ่ชีวิตไปนั้นจะมีข้อสัญญาว่าหากได้ไปแล้ว ห้ามนำไปฆ่า ห้ามขาย และห้ามแลกควายกับคนอื่นเป็นอันขาด หากคิดว่าเลี้ยงไม่ได้หรือปฏิบัติตามข้อสัญญาไม่ได้ต้องนำมาคืนกับคณะกรรมการจัดงาน โดยในตอนเย็นทุกวันของการจัดงาน จะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตลอดทั้งการจัดการ 3 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางเกษตรอื่นๆ ด้วย เช่น การตรวจสภาพดินจากเกษตรอำเภอบ้านโพธิ์ การนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาวางขาย มีบริการอบนวดสมุนไพรของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายเป็นประเพณีอันงดงาม เป็นที่สนใจของผู้คน

ด้วยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย มีเฉพาะที่ฉะเชิงเทราเท่านั้น ทำให้ประเพณีอันดีงามนี้เป็นที่สนใจของผู้คน ในวันที่จัดพิธีขึ้นจะมีชาวบ้านในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาร่วมงานมากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา มีการจัดแสดงต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำนา มีบูธขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นประเพณีที่ส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามเกี่ยวกับชาวนา และการทำนาให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงคุณค่า ไม่มองข้ามสิ่งที่บรรพบุรุษตั้งใจจะสานต่อเพื่อเป็นมรดกทางวัฒรธรรม ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามนี้ต่อไป

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !