Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด

ในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้น มีมากมายหลากหลายจังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งชุมชน รวมไปถึงลักษณะในการดำรงชีวิต แต่ทุกจังหวัดล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีที่สวยงาม และเป็นประเพณีที่รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติได้อีกด้วย นอกจากนี้ ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก ยังหมายถึงระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติกำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ของแต่ละประเพณีได้อีกด้วย โดยในจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้นมีถึง 7 จังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าวัฒนธรรมนอกจากจะช่วยสืบสารให้สืบต่อไปถึงเยาวชนรุ่นหลัง แล้วยังสามารถช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มารู้จักกับประเพณีของเราได้อีกด้วย โดย ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม ส่วนใหญ่นั้นมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ เพราะเป็นศาสนาหลักของคนไทย

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก บ่อเกิดของวัฒนธรรมสังคม

คนในท้องถิ่นของจังหวัดทางภาคตะวันออกมีการสร้างประเพณี และวัฒนธรรมที่มีมาอย่างช้านาน ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมทำกันภายในสังคมที่อยู่นั้นๆ และหากใครทำผิด ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก ก็จะนับว่าเป็นบุคคลที่ผิดจารีตกันเลยทีเดียว ประเพณีส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตในสังคม โดยศาสนานั้นจะมีอิทธิพลต่อประเพณีของคนไทย รวมไปถึงชาวภาคตะวันออกมากที่สุด มีมากมายหลากหลายอย่างเข้ามาผสมผสานให้เกิด  ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญ และการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของคนในชุมชนนั้นๆ

ตัวอย่าง ประเพณีที่สวยงาม อนุรักษ์ให้อยู่สืบไป

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก
  • ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี ที่ไม่มีที่ไหนในโลก มีแค่ที่จังหวัดชลเพียงที่เดียว ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม  สืบทอดมาอย่างช้านานเช่นกัน เพราะชาวบ้านในสมัยก่อนมีความเชื่อว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย หรือทำขวัญควาย จะทำให้ควายของชาวบ้านนั้นเกิดความเจ็บป่วย และล้มตาย จะทำให้เกิดผลกระทบของการทำนาทำไร่ของเกษตรกรในยุคนั้นนั่นเอง และที่สำคัญการวิ่งควายนั้นก็ถือว่ามีการพัฒนาให้มีการประกวดควายในปัจจุบัน รวมไปถึงการจัดงานต่างๆ ให้ประชาชนในพื้นที่มาร่วมสนุกสนานกันได้ด้วย
  • งานแห่บั้งไฟของ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ประเพณีเป็นของชาวลาวพวนที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทยปลายรัชกาลที่ 3 ได้ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลาน เป็นการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ อายุ 1,000 ปี  ในช่วงที่มีการไถ – หว่านนาข้าว และจะเป็นการขอฟ้าขอฝน ให้นาข้าวมีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย โดยการแห่บ้างไฟนั้นจะเป็นเพณีท้องถิ่น 1 ปีมี 2 ครั้ง คือ กลางเดือน 5 และบุญเดือน 6 เป็นงานท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ พร้อมมีมหรสพสมโภช รวมไปถึงหนังกลางแปลงในอดีต ลิเกมีชาวบ้านมานำสินค้าขายด้วย ก่อนการเริ่มจุดบั้งไฟจะมีการแห่ขบวนเกวียน  และจะมีการร่ายรำซึ่งขอฟ้าฝนนั่นเอง ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ในอำเภอนี้ สืบเชื้อสายของชาวลาวพวน จะเป็นการอนุรักษ์สืบทอดให้มี ประเพณีที่สวยงาม อารยธรรมอันดีหลากหลาย นี้ให้อยู่ต่อไปสู่คนรุ่นหลัง
  • งานประเพณีการแข่งเรือยาว เป็นงานที่จัดมาเป็นประจำหลายปีบริเวณแม่น้ำบางปะกง หรือที่เรียกกันว่าแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นกิจกรรมที่จะแสดงถึงความสามัคคีของคนในทีม หากทีมไหนเป็นผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารรี โดยงานประเพณีการแข่งเรือยาวจะจัดในช่วงเดือนกันยา หรือตุลาคมของทุกปี แล้วแต่ว่าระดับความสูงของน้ำ
ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก
  • งานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน เป็นงานที่จัดขึ้น ณ วัดสระมรกตเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี กิจกรรมจะมีการเข้าค่ายพุทธศาสนา ปลุกจิตสำนึกต่อพระพุทธทาสศาสนา ส่วนใหญ่จะมีนักเรียนนักศึกษามัธยมขึ้นไป มาร่วมกิจกรรมและ ยังมีการเวียนเทียนรอบรอยพระพุทธบาทคู่ภายในวัดอีกด้วย ประเพณีที่สวยงาม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม นับว่าเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่อยู่คู่เมืองปราจีนบุรีมากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ยังมีการสักการะพระบรมมาสารีริกธาตุ มีการจำหน่ายสินค้าชุมชนในพื้นที่ รวมไปถึงสินค้าโอทอปด้วย

ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออกในประเทศไทย ถือว่ามีประโยชน์ที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน แล้วทำให้คนในประเทศนั้นมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยังเป็นสิ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของคนในชุมชนได้อีกด้วย และภายในหลายประเพณีก็จะมีการจัดทำงานขายสินค้า แสดงนิทรรศการต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้มีเงินสะพัดเข้ามาในจังหวัด และช่วยสร้างเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้อีกด้วย เรียกว่ามีประโยชน์มากมายทั้งโดยตรงและทางอ้อม ประเพณีที่สวยงาม อนุรักษ์ให้อยู่สืบไป นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติและความภูมิใจของคนในท้องถิ่นทำ ให้เกิดความหวงแหนและการเห็นถึงคุณค่าในวัฒนธรรมต่างๆ

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีสำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com/ ไฮโลไทย ฝาก-ถอน ไม่มีขั้นต่ำ แทงไฮโลพื้นบ้าน เบทเริ่มต้น 5 บาท

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีสำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี

ประเพณีเรียกขวัญข้าว เป็นประเพณีบวงสรวงแม่โพสพ ผู้เป็นวิญญาณแห่งข้าว โดยเชื่อว่าถ้าข้าวมีขวัญสิงอยู่ประจำ ต้นข้าวก็จะงอกงามสมบูรณ์ ให้ผลสูง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หรือเฉาตาย ส่วนที่เก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางแล้ว แม้จะจำหน่ายขายหรือกินก็สิ้นเปลืองไปน้อยที่สุดประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ทำกันเกือบทุกพื้นที่ทำนาของไทย แต่อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเพณีรับขวัญแม่โพสพ ประเพณีทำขวัญข้าว สำหรับจังหวัดปราจีนบุรีเรียกประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

ประเพณีเรียกขวัญข้าว ประเพณีที่อยู่คู่เมืองไทยและความเป็นไทย

เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่ส่งออกข้าว และปลูกข้าวกันแทบทุกพื้นที่ ประเพณีเรียกขวัญข้าว จึงคู่อยู่คคนไทยมาอย่างช้านาน ประเพณีเรียกขวัญข้าว เป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา โดยส่วนใหญ่เชื่อว่า แม่โพสพเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว และเป็นผู้คุ้มครองดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ชาวนาจึงได้ให้ความเคารพนับถือกราบไหว้แม่โพสพมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นผู้หญิง ตกใจและเสียขวัญง่าย จึงมักจะมีการทำพิธีรับขวัญแม่โพสพในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับต้นข้าว ทั้งในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง หรือในช่วงที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวและนำข้าวขึ้นไปเก็บในยุ้ง เป็นต้น มักจะทำในช่วงออกพรรษาหรือ ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี และนิยมทำพิธีกันในวันศุกร์ชาวนาเชื่อว่า เมื่อทำให้แม่โพสพพึงพอใจแล้วจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีแมลงและศัตรูข้าวมารบกวนประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำนาให้กับชาวนา ได้เป็นอย่างดี ประเพณีเรียกกขวัญข้าว ทำกันทุกท้องที่ และแทบทุกครัวเรือนที่มีการทำนา ทำแล้วอุ่นใจว่าเป็นสิริมงคล ไม่ประสบภาวะอดอยาก ทำนาได้ผล มีข้าวกินตลอดปี เพราะแม่โพสพจะประทานความสมบูรณ์พูนสุขให้ ทั้งอิ่มใจที่ได้สืบทอดประเพณีของบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่สื่อความหมายให้เห็นคุณลักษณะของคนไทย ที่มีความอ่อนโยน ละเอียดอ่อน อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีพระคุณ และหาโอกาสที่จะแสดงออกถึงความสํานึกกับผู้ที่มีพระคุณ เพราะชาวนาเชื่อว่าผลผลิตที่ได้รับนั้นนอกจากแรงงานและความเพียรของตนเองแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากการดลบันดาลและการดูแลของแม่โพสพด้วย พิธีกรรมทําขวัญข้าว หรือรับขวัญข้าว ทําตามความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระแม่โพสพ เพื่อขอบคุณพระแม่โพสพที่ดูแลให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา เชื่อกันว่าเมื่อทําพิธีนี้แล้วพระแม่โพสพจะช่วยคุ้มครองข้าวในนาให้มีผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการสร้างขวัญกําลังใจในการทํานาครั้งต่อไป สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวนาว่าข้าวในนาจะปราศจากภัยธรรมชาติและจะไม่มีแมลงศัตรูพืชต่างๆ เข้ามาทําร้ายต้นกล้าในนาข้าว 

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

สำหรับสิ่งของประกอบในพิธี ด้วยตามความเชื่อแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงเชื่อว่าท่านอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง เช่นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ชาวนาจึงทำพิธีทำขวัญแม่โพสพที่แปลงนาพร้อมกันในช่วงเวลาที่ข้าวตั้งท้อง โดยจัดนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว สำหรับคนแพ้ท้อง เช่น มะยม มะเฟือง มาเป็นเครื่องเซ่นสังเวย รวมทั้งมีความรักสวยรักงามเจ้าของนาจึงได้นำเครื่องแต่งกาย เช่น สไบ สร้อยทอง รวมถึงเครื่องเสริมความงามต่าง ๆ เช่น หวี กระจก แป้งจันทร์ น้ำมันหอม มาเป็นเครื่องแต่งตัวให้กับแม่โพสพ การเรียกขวัญข้าว ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการช่วยลดหรือบรรเทาความเครียดให้กับชาวนา เนื่องมาจากการทํานาในแต่ละครั้ง ต้องลงทุนลงแรงจํานวนมาก ชาวนาจึงเกิดความไม่มั่นใจและรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจว่า การทํานาในครั้งนั้นๆ จะประสบความสําเร็จหรือไม่จึงต้องอาศัยการทําขวัญข้าวเพื่อสร้างขวัญและกําลังใจให้กับตนเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการทําขวัญข้าวค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมชาวนาไทย อาจมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้

  • การทํานาสมัยใหม่มีระบบชลประทาน มีการใช้ยาปุยเคมีและปราบศัตรูพืช ชาวนาจึงรู้สึกว่าไม่ 
    จําเป็นต้องพึ่งพิงธรรมชาติมากเหมือนแต่ก่อน การทําพิธีตามความเชื่อเพื่อให้ข้าวเจริญงอกงามปลอดโรคจึงไม่มีความจําเป็น
  • ชาวนาต้องเร่งรีบทํานาให้ได้ ๓ ครั้งต่อปีจึงไม่มีเวลาประกอบพิธีทําขวัญข้าว
  • ชาวนาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ได้มีที่นาเป็นของตนเอง ใช้วิธีเช่าที่นา ความรู้สึกผูกพันและ 
    ระลึกถึงบุญคุณแห่งผืนดินทํากินอาจไม่มากเท่าสมัยก่อน 
  • หาผู้ทําพิธีหรือหมอทําขวัญข้าวได้ยากขึ้นเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดความรู้ในการทําพิธีกรรม ฯลฯ

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

ประเพณีเรียกขวัญข้าวพึ่งพาธรรมชาติผ่านความเชื่อ                   

ประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของชาวนา  ที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เพราะการทำนาที่ได้ผลผลิตสูงย่อมนำความสุข ความมั่งคั่งมาให้ประเพณีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวนา ถือเป็นประเพณีที่สวยงามที่ผสมผสานระหวว่างความเชื่อและการพึ่งพาธรรมชาติ ซึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อสอบต่อความงดงามของประเพณีต่อไป

อ่านบทความอื่น ๆ >> วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

สนับสนุนโดย : https://hilospec.com/ ไฮโลไทย ฝาก-ถอน ไม่มีขั้นต่ำ แทงไฮโลพื้นบ้าน เบทเริ่มต้น 5 บาท

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก ร่วมสืบสานประเพณี

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก

วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ คือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตยาวมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม รวมไปถึงศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมแต่ละสถานที่ ซึ่งแน่นอนว่าประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่รักษากันไว้ วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก บางอย่างถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติเลยทีเดียว ซึ่งหากประเพณีไหนไม่เหมาะสมต่อกาลเทศะ ก็จะเปลี่ยนแปลงและแก้ไขกัน ให้สามารถอยู่ในสังคมของเรามาได้ ในประเทศไทยมีวัฒนธรรมมากมายหลายภาค ทั้ง ใต้ กลาง เหนือ รวมไปถึงวัฒนธรรมภาคตะวันออก ซึ่งมีทั้งหมด 7 จังหวัด สำหรับบุคคลที่ชื่นชอบอยากจะศึกษา วัฒนธรรมภาคตะวันออก กิจกรรมที่น่าสนใจ วันนี้เราจะพามาให้รู้จักกับวัฒนธรรมที่มีความโด่งดัง และที่สำคัญยังเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่คนรุ่นต่อๆไป 

วัฒนธรรมภาคตะวันออก ดังไกลไปทั่วโลก 

จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยมีจังหวัดมากมาย คือ จันทบุรีชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว ซึ่งแน่นอนว่าทุกจังหวัดนั้นจะมีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่วัฒนธรรมภาคตะวันออกดังไกลไปทั่วโลกจะมีอิทธิพลมาจากศาสนาเป็นหลัก รวมไปถึงความเชื่อของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ ประเพณี บางอย่างนั้นคือการกลับไหว้ผีสาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และฟ้าฝนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

วัฒนธรรมภาคตะวันออก
  • ที่จังหวัดจันทบุรีจะมีงานชักพระบาท ซึ่งจะถูกจัดขึ้นหลังจากวันสงกรานต์ 1 วัน ประมาณวันที่ 15 เมษายนของทุกปี จะมีการชักเย่อระหว่างชายและหญิง บนชักเย่อจะมีเชือกผูกไว้บนเกวียน และจะมีคนตีกลองอยู่ข้างบน หากกลองดังขึ้นจะแสดงถึงการเริ่มชักเย่อ คนตีกลองจะตีจนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้และชนะ ฝ่ายที่ชนะจะถือว่าเป็นฝ่ายที่มีความสิริมงคล สามารถแห่พระบาทไปรอบเมืองได้ แต่ในอดีตนั้นจะเป็นการที่ชาวบ้านแห่พระบาทกันรอบเมือง บนเกวียนจะตกแต่งดอกไม้ จัดสถานที่สวยงาม และมีการตีกลอง ฆ้อง โหม่งดังไปทั่วทั้งหมู่บ้าน วัฒนธรรมภาคตะวันออก ความเชื่อท้องถิ่น  ตอนนี้ในปัจจุบันเปลี่ยนมาทำการชักเย่อแทน และหลังจากวันชักเย่อรุ่งเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  ซึ่งนับว่าจะเป็นอันเสร็จพิธีประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาทจันทบุรี       
  • ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม จังหวัดฉะเชิงเทรา นับว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ประเทศลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การทำบุญเข้าหลามเป็นการทำบุญถวายเข้าหลาม ขนมจีนน้ำยาแก่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดหนองบัว วัดหนองแขน มีการจัดทำขึ้นในวัน 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี อิทธิพลของประเพณีนี้มาจากการที่เดือน 3 จะอยู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดนั้น และข้าวที่ได้เก็บเกี่ยวมาครั้งแรกเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมนำมาทำเป็นอาหารได้ ชาวบ้านจะใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นอุปกรณ์วัสดุในการเผา เพื่อจะทำให้ข้าวนั้นสุก แล้วนำไปถวายภิกษุสงฆ์ในวัดแต่ละพื้นที่ แต่ชาวบ้านจะเริ่มเผาข้าวหลามกันตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 โดยจะไปหาไม้ไผ่ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านมาทำกระบอกข้าวหลาม ชาวบ้านจะเลือกไม้ไผ่ที่ไม่สุกและแก่เกินไปและก็ที่สำคัญคือไม่มีตามด เพราะตามดนั้นจะทำให้ข้าวมีกลิ่น และไม่มีเยื่อไผ่ ทำให้ข้าวหลามในกระบอกติดขึ้นมานั่นเอง วัฒนธรรมภาคตะวันออก กิจกรรมที่น่าสนใจ วัฒนธรรมนี้ถือเป็นการผสมผสานประเพณีไทย และประเพณีของชาวลาวเวียง ที่นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดอีกหนึ่งอย่าง
  •  ประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี สืบทอดกันมาหลายอำเภอในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอำเภอชลบุรี ศรีราชา และบางละมุง รวมมาถึงพนัสนิคม ฯลฯ ซึ่งในอดีตนั้นชาวบ้านเชื่อว่าการนำข้าว สำรับอาหารคาวหวาน มารวมกัน เชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละหนึ่งครั้ง จะไม่มีผีตนใดมาทำร้ายครอบครัว และทรัพย์สินของตนเอง พิธีเส้นไหว้ชาวบ้านจะมาล้อมวงนำอาหารมารับประทานร่วมกัน รวมไปถึงมีการร้องรำทำเพลง วัฒนธรรมภาคตะวันออก การละเล่น ที่สนุกสนาน อาหารที่เหลือจากประเพณีกองข้าวจะไม่นำกลับบ้านเลย จะทิ้งไว้เป็นฐานให้แก่สัตว์ที่อยู่บริเวณนั้น ประเพณีกองข้าวจะจัดงานเมื่อสงกรานต์ผ่านไปแล้ว 3-4 วัน

วัฒนธรรมภาคตะวันออกดังไกลไปทั่วโลกนับว่าเป็นระเบียบแบบแผนรวมไปถึงการร่วมแรงร่วมใจ ประสมกลมเกลียวของคนในชุมชนเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากนั้นจุดประสงค์หลักของการจัดทำประเพณีคือการปฎิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เรียกว่าเป็นกฎหมายอย่างหนึ่งเลย ซึ่งตอนนี้อาจจะมีบางส่วนที่เสริมและถูกเติมแต่งเข้าไปให้เหมาะกับยุคและสมัย แต่สำหรับประเพณีไทยทุกอย่างส่วนมากมักมีความเชื่อมาจากพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ วัฒนธรรมภาคตะวันออกความเชื่อท้องถิ่น รวมไปถึงอิทธิพลของอาชีพชาวบ้านในพื้นที่แต่ละอย่างด้วย 

อ่านบทความอื่น ๆ >> งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของจันทบุรี

สนับสนุนโดย : https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด 

Categories
ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ ประเพณีเก่าแก่ของจันทบุรี

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของจันทบุรี

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าหากใครเข้าร่วมจะได้บุญสูง และยังช่วยฝึกจิตใจฝึกความมานะอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสสักครั้งที่จะได้ขึ้นเขามานมัสการรอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ และการได้มากราบไหว้ ขอพรรอยพระพุทธบาท เหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างความสุขความเจริญแก่ครอบครัวและชีวิต

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ เส้นทางอันยากลำบากกับความเชื่อความศรัทธาอันยิ่งใหญ่

ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ     กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริ ของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี หรือที่เรียกว่งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคล แก่ผู้นั้นตลอดไป เขาคิชฌกูฏ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย การเดินทางเริ่มต้นที่วัดพลวงไปตามถนนลูกรังที่ลาดชันและคดเคี้ยวมาก ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1.2 กิโลเมตร ระหว่างทางจะมีจุดแวะ

พักให้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทิวทัศน์บนยอดเขาคิชฌกูฏ หรือเขาพระบาทนี้เป็นปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาที่นำมาผูกกับตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศิลาเจดีย์ รอยพระพุทธบาทหลวง หินรูปบาตรคว่ำ ถ้ำฤาษี หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่าและช้างขนาดยักษ์ แม้ว่าเส้นทางไปยังเขาคิชกูฏจะลำบากยากเย็นแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถทำลายความเชื่อความเชื่อของผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้ จึงมีประเพณีที่เรียกว่า งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏขึ้นมา โดยจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 ไปจนถึงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5  ถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าใครที่เข้าร่วม งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง และยังช่วยฝึกจิตใจฝึกความมานะอดทนไม่ย่อท้อ ต่อความยากลำบาก ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสสักครั้งที่จะได้ขึ้นเขามานมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ และการได้มากราบไหว้ ขอพรรอยพระพุทธบาท เหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างความสุขแก่ครอบครัวและชีวิต จะเริ่มเปิดให้พุทธศาสนิกชน นักแสวงบุญ นักท่องเที่ยว ได้ขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏ ยอดเขาคิชฌกูฏ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาท ที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทยสูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุด ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ “รอยพระพุทธบาท” มีลักษณะเป็นรอยบนหิน แผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2  เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. 

โดยที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวที่เลื่อมใสศรัทธาเดินทางหลั่งไหลกันมาขึ้นเขาคิชฌกูฏไปนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวงในช่วงเทศกาลนับล้านคน เพื่อเข้าสักการะกราบไหว้ขอพร ท่ามกลางทิวทัศน์ความสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าเขา สร้างความอิ่มเอมใจแก่ผู้มาเยือน

โดยการเตรียมตัวในการขึ้นนมัสการรอยพระบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • ควรแต่งกายมิดชิด สบาย รองเท้าผ้าใบ เดินทางสะดวก ๆ หากมาช่วงกลางคืน แนะนำให้ติดเสื้อกันหนาวเผื่ออากาศเย็น
  • เตรียมอาหารและน้ำมาส่วนตัว ด้านบนไม่มีจำหน่าย โดยช่วยกันรักษาความสะอาด ทิ้งขยะในจุดที่อุทยานกำหนด
  • เตรียมยาประจำตัวมาด้วยสำหรับผู้มีโรคประจำตัว

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏความเชื่อความศรัทธาที่ไม่มีวันจางหาย               

เชื่อกันว่าการไปนมัสการพระบาทพลวงจะได้บุญมากประสงค์สิ่งใดมักได้ดังปรารถนา ถ้าใครได้ขึ้นไปนมัสการครบ 7  ครั้ง เปรียบเสมือนได้บวชหนึ่งครั้งหรือเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ จึงมักพบผู้คนที่มางานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ มากกว่า  1  ครั้ง นอกจากจะได้บุญสูงแล้วยังได้ประโยชน์ทางอ้อมอีกมายมาย เช่น งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏพิธีฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง การเดินเท้าขึ้นเขาระยะทางยาวไกลดังที่กล่าวไปข้างต้น ถือเป็นการฝึกความอดทนขั้นสุด เป็นประเพณีอันงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี

อ่านบทความอื่นๆ >> ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ประเพณีที่เป็นไปตามวิถีชีวิตอันเป็นสัญลักษณ์ของชาวแกลง

สนับสนุนโดย : https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด 

Categories
ข้อมูล ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ประเพณีที่เป็นไปตามวิถีชีวิตของชาวแกลง

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ประเพณีที่เป็นไปตามวิถีชีวิตอันเป็นสัญลักษณ์ของชาวแกลง

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์-

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย มีการทอดผ้าป่าและแข่งเรือยาวในเวลากลางวันและลอยกระทงในเวลากลางคืน ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ เป็นไปตามวิถีชีวิตของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ติดกับแม่น้ำ อันได้แก่ แม่น้ำประแสร์ ที่ประชาชนมีอาชีพประมง ชาวประแสร์นับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินทองก็คิดที่จะทำบุญ 

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ ประเพณีเก่าแก่ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์-

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ นั้นมีมานานแล้ว ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ หนึ่งเดียวในไทย  ในสมัยก่อนไม่มีการจดบันทึก แต่พอสันนิษฐานได้ว่า มีมาหลังจากมีการทอดกฐินและทอดผ้าป่ากลางน้ำ ที่วัดสมมติเทพฐาปนาราม หรือวัดแหลมสนที่ชาวบ้าน เพราะการไปทอดกฐิน และผ้าป่าต้องไปทางเรือ ชาวบ้านในแถบนี้มีความชำนาญทางเรืออยู่แล้ว เนื่องจากเป็นชาวประมง จึงต้องการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนาน ดูความสามารถของชาวเรือ และเพื่อช่วยประกอบให้งานทอดผ้าป่ากลางน้ำได้เด่นดังขึ้น การแข่งขันเรือยาวเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยมาตั้งแต่อดีตเมื่อสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ถือว่าเป็นราชพิธีประจำเดือนในช่วงปลายฤดูฝน การแข่งขันเรือยาว จึงได้สืบทอดมาเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย แสดงถึงวิถีชีวิตความสนุกสนาน ความสามัคคี ซึ่งเห็นได้จากที่มีการจัดให้มีประเพณีแข่งขันเรือยาวทุกภาคของไทย การแข่งขันเรือยาว ได้จัดจัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันงานทอดผ้าป่ากลางน้ำและ วันลอยกระทง ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ จะจัดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำปากน้ำประแสร์ เป็นด้านหลังบ้านของชาวตลาดปากน้ำประแสร โดยวิธีการจัดการแข่งขัน จัดโดยคณะกรรมการจัดงานผ้าป่ากลางน้ำ จะมีเรือจากหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมาร่วมแข่งขัน บางปีจะมีเรือยาวจากจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมแข่งขันด้วย ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ เป็นไปตามวิถีชีวิตของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ติดกับแม่น้ำ เรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันจะเป็นเรือประจำของวัดต่าง ๆ ในตำบลนั้น และต่างตำบล บางลำเป็นเรือของชาวบ้าน โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 09.00 น.จะมีเรือเข้าแข่งขันหลายขนาด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จำนวนผู้พายจัดจำนวนขนาดพอเหมาะกับขนาดของเรือ เรือแข่งนี้จะจัดตกแต่งให้สวยงามทั้งลำเรือ และคนพาย เรือบางลำมีผีพายเป็นชายล้วน บางลำก็เป็นหญิงทั้งหมด บางลำมีทั้งชายและหญิง ผีพายมีทั้งคนหนุ่มสาวและคนมีอายุ การแข่งขันจะเริ่มด้วยการเปรียบเทียบจำนวนคนพายเท่า ๆ กัน หรืออาจจะมากกว่ากันเล็กน้อยเมื่อแจ้งคณะกรรมการที่ได้ทำการแข่งขันแล้ว เรือเหล่านั้นจะพายเล่นไปตามลำแม่น้ำเพื่อให้ประชาชน ได้ชมและเพื่อความสนุกสนานของผีพายในเรือนั้น เรือที่จะเข้าแข่งขันจะมีทั้งประเภทสวยงาม ประเภทตกแต่งตลกขบขัน และประเภทแข่งผีพายธรรมดา เรือแต่ละลำจะมีการร้องรำทำแพลงกันอย่างครึกครื้น บ้างพายไปมา บางลำก็จอดอยู่กับที่ จะมีห่อข้าว ขนมและเครื่องดื่มแจกให้คนพายทุกคนจากคณะกรรมการจัดงาน และมีผู้ใจบุญนำมาให้ การประกวดเรือประเภทสวยงามและประเภทความคิดจะประกวดในภาคเช้า หลังจากรับประทานอาหารตอนกลางวันแล้ว เริ่มแข่งขันเรือพายคือเวลาประมาณ 13.00 น . จะแข่งคราวละ 3 – 4 ลำ ตามจำนวนเรือที่เข้าแข่งขันและจำนวนผีพาย เมื่อได้เรือชนะที่ 1 แล้ว จะให้เรือที่ชนะรอบแรก ได้เข้าแข่งขัน ในรอบชนะเลิศอีกครั้ง ในการแข่งขัน จะมีของรางวัลให้แก่เรือที่เข้าประกวดและแข่งขันทุกลำ เรือที่ชนะเลิศจะได้รับของรางวัลมากเป็นพิเศษ ส่วนมากของรางวัล เมื่อเรือแต่ละลำได้รับแล้วจะนำไปถวายวัน นอกจากการแข่งขันเรือพายแล้งยังมีการประกวดเทพีนาวา โดยจัดหาคนสวยที่นั่งในเรือแข่งมาประกวด จะประกวดหลังจากแข่งเรือแล้ว หลังงานเสร็จสิ้นลงในเวลาประมาณ 18.00 น . ผู้ชมงาน ชมเรือจะได้นั่งเรือบริการฟรีของชาวประมงประแสร์ซึ่งเสียสละบริการรับส่งให้ชมตลอดงาน มีผู้มาชมงานปีละมาก ๆ ทั้งคนในตำบล ต่างตำบล และต่างจังหวัด  ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ มีวิวัฒนาการ ดังนี้

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์-

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ มีวิวัฒนาการ ดังนี้

  • ในสมัยแรกๆ มีการแข่งขันเรือพาย และการว่ายน้ำแข่งกันเท่านั้น 
  • ในสมัยกลางๆ มีการแข่งขันเรือพาย การแข่งขันว่ายน้ำ การแจวเรือข้ามไม้ไผ่ และ การนั่งกะโล่พายแข่งกัน มวยทะเล แถกกระดี่ ดำน้ำแข่งกัน และนำเอาลิเกไปเล่นในเรือ
  • ในสมัยปัจจุบัน มีการแข่งขันเรือพาย แข่งเรือเร็ว ดำน้ำแข่งกัน การประกวดเรือพาย ประเภทสวยงาม ประกวดเทพีนาวาชักเย่อบนบก มีการจัดแต่งเรือประมง พร้อมผู้แต่งแฟนซีประกวดกัน การประกวดร้องเพลง และมีแมวมองสาว ๆ ที่มาชมงานเป็นเทพี 
ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์-

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ อนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น

ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์  มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำประแสร์ หนึ่งเดียวในไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นได้สืบทอดประเพณีการแข่งขันเรือยาว พร้อมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง ให้เป็นที่รู้จักโดยกว้างขวางยิ่งขึ้น ถือเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ต่อไป

 

 

 

สนับสนุนโดย :

https://ufaball.bet เราคือผู้ให้บริการการพนันอันไร้ขอบเขตของเหล่านักพนันที่ชื่นชอบการเดิมพัน และการเสี่ยงทายในโชคตนเอง เรามีบริการทั้ง แทงบอลออนไลน์ หรือ คาสิโนออนไลน์ ไว้บริการเต็มรูปแบบครบวงใจในที่นี้ที่เดียว

Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของได้ว่าของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริง ในการที่จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ประกวดประชันการบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ควายของใครสมบูรณ์กว่ากัน จึงถือเป็น ประเพณีของท้องถิ่นที่สือบทอดกันมาอย่างยาวนาน

ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีเก่าแก่กว่า 100 ปี

“ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักรสานดี ประเพณีวิ่งควาย”  จากคำขวัญจังหวัดชลบุรีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คงจะเห็นแล้วว่า ประเพณีวิ่งควาย ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี ถึงขั้นที่มีอยู่ในคำขวัญจังหวัดเลยทีเดียว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี ถือเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น14 ค่ำเดือน 11 และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำในทุก ๆ ปี และจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มี ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีที่สะท้อนความเป็นอยู่ของพุทธศาสนิกชน โดยเกิดจาก ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนทุกคนจะต้องเดินทางมาวัดเพื่อทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะและ เมื่อก่อนถึงวันออกพรรษาชาวไร่ชาวสวนจะนำสินค้าในสวนของตนออกมาจำหน่ายอาทิ กล้วย มะพร้าว ใบตอง ข้าวเหนียว เป็นต้น และเนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีรถที่จะใช้บรรทุกสินค้ามาขายเหมือนในปัจจุบันจึงต้องนำสินค้าเดินทางมาด้วยเกวียน โดยใช้ควายลากมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านเพื่อไปทำข้าวต้มหางและกับข้าวอื่นๆ  นำไปใส่บาตรและถวายแด่พระสงฆ์เมื่อเดินทางมาถึงก็จะนำควายของตนไปพักอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งในสมัยนั้นรอบๆ ตัวเมืองชลบุรี มีวัดติดต่อเรียงรายกันเป็นแถวกว่า 10 วัด และในแต่ละวัดจะมีลานกว้างขวางไม่มีอาคารร้านค้าในบริเวณวัด จึงทำให้เกวียนเมื่อบรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมือง จึงพักเกวียนตามลานวัดสุดแท้แต่ที่จะสะดวกและใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขายด้วย และเอกชนแห่งหนึ่งข้างวัดต้นสนและเป็นที่พักเกวียนเพื่อถ่ายสินค้าเรียกกันว่า ตลาดท่าเกวียน เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาสิ่งของที่ต้องการ จนเสร็จแล้วก็จะถือโอกาสนี้พบปะพูดคุยกันจูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายสืบมาเป็นวิ่งควายรอบๆตลาด ด้วยความสนุกสนานในปีต่อๆ มาก็เพิ่มการตกแต่งควายให้สวยงามด้วยผ้าแพรและลูกปัดอย่างสวยงาม เพื่อแสดงถึงความใส่ใจและการดูแลควายของตัวเองเป็นอย่างดี และเป็นการทำขวัญควายไปในตัว เช่น ทำถุงสวมเขาควายตกแต่งเชือกจูงควายปฏักเฆี่ยนควายทำฉบังแต่งหน้าควายและเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตพิสดารไปตามความคิดของตน มีการพบปะ เลี้ยงดู ร่วมกับบรรดาชาวนาผู้ร่วมอาชีพ ตลอดจนประกวดความสมบูรณ์ สวยงามของควายที่ตกแต่งมา นับเป็นการสนองคุณของควายให้มีความสุขตามอัตภาพและได้พักผ่อนจากงานหนักในไร่นา จนกลายเป็น ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีของชาวไร่ชาวสวน

ประเพณีวิ่งควาย

ในระยะหลังๆ แม้จะไม่ได้ใช้เกวียนในการบรรทุกสินค้ามาตลาดเหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงเทศกาลวิ่งควายก็ยังนำควายเข้ามาวิ่งเป็นประจำ นำควายมาพักตามลานวัดต่าง ๆ สุดแท้แต่จะสะดวก ลานวัดเกือบทุกวัดจึงเป็นลานสำหรับพักควายวิ่ง เชื่อกันว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายมากผิดปกติ นอกจากนี้ควายที่เจ็บป่วยระหว่างปี เจ้าของควายก็จะบนบานให้หายแล้วนามาร่วมในประเพณีนี้ด้วย คนไทยโบราณเป็นคนที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตา และมีเมตตาธรรม หลังจากได้ใช้ควายไถนาและ ทำงานในท้องนาอย่างเหน็ดเหนื่อยมาหลายเดือน จนทำให้การวิ่งควายสืบทอดมาเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันสถานที่วัดมีการก่อสร้างของอาคารบ้านเรือนจึงทำให้ลานวัดคับแคบลงทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันวิ่งควายได้ จึงได้ทำการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันวิ่งควายมาวิ่งที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรีและเทศบาลเมืองชลบุรีได้เล็งเห็นถึงประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นการจรรโลงสร้างสรรค์สืบสานและนิยมยึดถือปฏิบัตสืบเนื่องกันมาจนเป็นแบบแผนมาเท่าทุกวันนี้

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย หนึ่งความภาคภูมิใจของชาวชลบุรี 

สิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่งสำหรับ ประเพณีวิ่งควาย ของชาวชลบุรีคือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2455 ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีพระยาวิเศษฤาไชยได้จัดวิ่งควายถวายทอดพระเนตร ที่หน้าศาลากลาวงจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันดังกล่าวชาวนาจะตกแต่วงควายของตนอย่างสวยงามให้ดูแปลกตาและเป็นที่น่าสนใจ มีการจัดขบวนควายที่มีคนขี่บนหลังเป็นแถวเดินไปตามท้องถนน เป็นการแสดงให้ผู้คนได้เห็นและเกิดความสนใจ  รวมถึงมีการแข่งวิ่งควายด้วย โดยการแข่งวิ่งควายไม่ได้มุ่งแพ้ชนะเป็นสำคัญแต่การได้เข้าร่วมประเพณีและความสนุกสนานเป็นสิ่งสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด ถือว่า ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชลบุรี และถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เพราะมีประเพณีนี้ ที่เดียวในโลก

 

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

https://ufaball.bet เราคือผู้ให้บริการการพนันอันไร้ขอบเขตของเหล่านักพนันที่ชื่นชอบการเดิมพัน และการเสี่ยงทายในโชคตนเอง เรามีบริการทั้ง แทงบอลออนไลน์ หรือ คาสิโนออนไลน์ ไว้บริการเต็มรูปแบบครบวงใจในที่นี้ที่เดียว

Categories
กิจกรรม ประเพณี

ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

ประเพณีบุญกลางบ้าน พิธีอันเก่าแก่ของชลบุรี ประเพณีที่มากับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ

คติความเชื่อของ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ โดยมีหลักฐานความเชื่อเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา มาจากคติความเชื่อเรื่องผีในการขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด จึงเกิดเป็น ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีอันเก่าแก่

ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีขอบคุณภูตผี ขอบคุณผีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถ เก็บเกี่ยวได้ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ เป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและเสริมสวัสดิมงคล ความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่ง ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีที่แปลกกว่าประเพณีอื่นๆ โดยจัดนอกวัด ชาวบ้านจะเลือกเอาสถานที่จัดบริเวณลานกว้างในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานด้วยกัน เป็นการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน โดยมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็น การสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกระทงกระบานใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ ซึ่งเป็นอุบายของคนโบราณในการสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี โดย ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน  ดังนี้

  • ตั้งปะรำปูพื้น ขึงผ้าม่าน บางแห่งปูพื้นด้วยแผ่นไม้ บางแห่งใช้เสื่อโดยเลือกสถานที่ที่เป็นที่ว่าง กลางหมู่บ้านหรือกลางท้องนา 
  • การกำหนดสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น บางปีนํ้าท่วมขังก็ย้ายที่ใหม่
  • จัดที่ตั้งพระพุทธ บางแห่งอาจมีการแห่พระพุทธรูปมาประดิษฐานด้วย ที่วางบาตรนํ้ามนต์ บางสถานที่จะจัดตั้งศาลเพียงตา บางแห่งจะใช้เพียงต้นเสา 1 ต้น วางไม้พาดเป็นตัวที เรียกว่า ศาลเทวดา ไว้สำหรับไหว้บรรพบุรุษ หรือเจ้าที่ โดยส่วนใหญ่จะทำนอกปะรำพิธีสงฆ์
  •  ตอนเย็นนิมนต์พระ 9  รูป หรือมากกว่านี้มาสวดมนต์เย็นชาวบ้านจะมาฟังสวดมนต์ ในบางแห่งที่ชุมชนมีเชื้อสายไทย  จะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง หลังจากพระสวดจบ 1 บท แต่ในบางแห่ง เป็นการสวดมนต์ธรรมดาไม่มีการตีฆ้อง สำหรับการละเล่นนั้น หลังเลิกสวดมนต์แล้วบางแห่งก็มีบางแห่งก็ไม่มี การละเล่น ก็คือ หมอลำลิเก รำวง 
  •  เช้าวันรุ่งขึ้น นิมนต์พระมาฉันเช้า ชาวบ้านจะนำอาหารมารวมกันตักแบ่งถวายพระ บางแห่งอาจมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย การเตรียมอาหารแล้วศรัทธาของแต่ละบุคคลบางพื้นที่อาจตกลงกันว่าใครจะทำอะไรก็ได้ 
  • บางพื้นที่อาจะมีการทำกระทงด้วยใบตองใส่ลงไปในกระทงกาบกล้วยที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนสมาชิกในบ้านรวมไปถึง วัว ควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ด้วย บางแห่งไม่ใส่ข้าวขาว มักใส่สตางค์ลงไปด้วยแล้วจุดธูปปักลงในกระทงบางแห่งจุดดอกเดียว บางแห่งก็สุดแล้วแต่จำนวนกระทง เสร็จแล้วนำกระทงนี้ไปวางไว้ทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จแล้ว ท่านจะนำนํ้ามาองค์ละ 1 แก้ว ยืนเป็นวงกลมแล้วราดลงไปในกระทง บางแห่งอุทิศให้คนอยู่บางแห่งอุทิศให้คนตาย เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือโคก 
  • หลังเสร็จพิธี ชาวบ้านจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน โดยจะไต่ถามถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ  ซึ่งกันและกัน บางพื้นที่มีความเชื่อจะต้องรับประทานให้หมด ไม่นำกลับบ้าน เช่น ที่ชุมชนบ้านหน้าพระธาตุ แต่โดยปกติเมื่อเหลือมักตักแบ่งกันไป หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้าน การใส่บาตร จะทำที่วางบาตรไว้โดยใช้ผ้าหรือทำที่ใส่บาตรเฉพาะ โดยนำมาวางเรียงกันไว้เมื่อพระสวดพาหุง 8 ทิศ ชาวบ้านจึงเริ่มใส่บาตรได้ การกำหนดวันจะกระทำกันในราวเดือน 3-6  โดยผู้เฒ่าผู้แก่หรือชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ จะถือเอาวันว่างและสะดวก ชาวชลบุรีมีความเชื่อซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่อธิบายว่า ข้าวดำ ข้าวแดง โบราณว่า เป็นอาหารของผีกิน ข้าวดำ ใช้ข้าวผสมรวมกับก้นกระทะ ข้าวแดง ใช้ข้าวผสมกับปูนกินหมาก หรือขมิ้น ผักพร่าปลายำ ใช้นํ้าพริกอะไรก็ได้หั่นผักบุ้งละเอียด ๆ ผสมรวมกันลงไปใส่ปลาด้วย การหยาดนํ้าของพระสงฆ์ในกระทง หมายถึง เป็นการส่งผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย ขึ้นสวรรค์ ในการกรวดนํ้าพระจะสวดบท ภุมมัสสิง ทิสา ภาเค… การที่กระทำบุญในเดือน ๓ กลางเดือน โบราณว่าเป็นวัน “กบไม่มีปาก นาคไม่มีก้นขี้”หมายความว่า กบร้องที่ไหน คนก็จะตามเสียงร้องนั้นไปและไปจับมากิน พญานาคเมื่อกินอาหารแล้วไม่ถ่ายออกมาก็ไม่หิว อาหารก็จะเหลืออยู่ ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้ทำบุญเดือน 3 กลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์เหลือกินเหลือใช้

ประเพณีบุญกลางบ้าน หลากหลายเชื้อชาติหนึ่งประเพณี

ประเพณีบุญกลางบ้าน เป็นพิธีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานของชาวชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่มีชุมชนที่มาจากเชื้อชาติต่าง ๆ มาอยู่ร่วมกันทั้งคนไทย คนลาว และชาวจีนที่มาอยู่ในคราวซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ประเพณีบุญกลางบ้าน ในแต่ละแห่งจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ยังคงความเป็นประเพณีดั้งเดิมอยู่ เพราะ ประเพณีบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องผีของคนโบราณ อย่างไรก็ตาม งานบุญกลางบ้านนั้นมีมาแล้วนับร้อยปีและยังคงดำรงสืบทอดต่อๆ กันมาโดยตลอด

 

 

 

 

 

https://gclubspecial168.com/ บริการเว็บไซต์พนันออนไลน์ที่มีทั้ง คาสิโนออนไลน์ และการพนันออนไลน์ อื่นๆไว้คอยให้บริการท่านอย่างไม่ติดขัด โดยมีลูกค้าจากทั่วโลกให้ความสนใจใช้บริการเล่นพนันอย่างมากมาย ด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานระดับสากล

Categories
กิจกรรม ประเพณี เทศกาล

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวปากน้ำประแสร์

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีทอดผ้าป่าที่แปลกตา แห่งเดียวในไทย

ปากน้ำประแสร์ เป็นเมืองที่ติดชายทะเลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง มีประเพณีการทอดผ้าป่าที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สืบเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือตลอด เรือจึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา ชาวประมงเวลาอยากทำบุญบ้าน (เรือ) ให้เป็นสิริมงคล จึงได้มีการจัดทำบุญทอดผ้าป่าขึ้นในเรือ ซึ่ง ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี 

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีที่สะท้อนความศรัทธาในวิถีชีวิตแห่งสายน้ำ

เดิมชาวประแสร์ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ชายหาด ชายคลองแม่น้ำประแสร์ ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ไม่หนาแน่นนัก มีอาชีพหาปลาโดยวิธีตกเบ็ด ยกยอ ทอดแห ดักรอก เป็นต้น ใช้พาหนะเรือแจวบ้าง เรือพายบ้าง ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินมีทองก็คิดจะทำบุญ ซึ่งชาวประแสจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง เวลาบ้านใดทำบุญบ้าน งานแต่งงาน ต้องมีการทอดผ้าป่าด้วย ผู้ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลองถ้าจะทำบุญทอดผ้าป่าส่วนมากต้อง อาศัยเรือตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า ใช้ไม้ไผ่ปักไว้ด้านหัวเรือ-ท้ายเรือ แล้วนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน เวลาขากลับนิมนต์ชักผ้าป่าในเรือ แต่บางแห่งชักผ้าป่าก่อนสวดมนต์ก็มี แต่บางแห่งถึงบ้านชักผ้าป่าก่อนก็มี แต่การจัดทำบุญทุกครั้งคราว เข้าใจว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่เกิดของ ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีของชาวประแสร์

ประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ สันนิษฐานว่า ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่มีมานานกว่า 100 ปี โดยประชาชนจะนำพุ่มผ้าป่าไปปักไว้กลางแม่น้ำประแสร์ โดยพุ่มผ้าป่าจะใช้กิ่งไม้จากต้นฝาดหรือต้นโปรง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนโดยทั่วไป ประดับตกแต่งพุ่มผ้าป่าให้สวยงาม จากนั้นไปนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์ลงเรือไปยังพุ่มผ้าป่ากลางลำน้ำประแสร์ ประชาชนที่ร่วมประกอบพิธีจะพายเรือหรือแจวเรือของตนเข้าร่วมพิธีกลางลำน้ำนั้น หลังจากประกอบพิธีกรรมทอดผ้าป่ากลางน้ำแล้ว ประชาชนจะร่วมกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง โดยการจัดการละเล่นอันได้แก่ การแข่งเรือพาย แข่งพายกะโล่ แข่งพายเรือข้ามลำไม้ไผ่ แข่งชกมวยทะเล การ ทอดผ้าป่ากลางน้ำได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจะมีขบวนเรือประมงขนาดใหญ่จำนวนนับร้อยลำมาแห่พุ่มผ้าป่า ภายในเรือจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงตลอดเวลา และตามหน้าบ้านของชาวบ้านปากน้ำประแสร์จะนำพุ่มผ้าป่ามาปักไว้หน้าบ้านของตนบ้านละ 1 พุ่มตามความศรัทธา ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดตะเคียนงามมาชักพุ่มผ้าป่า

ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำได้สืบทอดกันมาระยะยาวนานแต่ได้มีการหยุดการจัดไประยะหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2484 เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน หลังจากนั้นนำมาเริ่มจัดใหม่ใน ปี พ.ศ.2487 ในช่วงแรก ๆ จะทำพุ่มผ้าป่าไว้บนเรือแล้วนิมนต์พระภิกษุไปชักพุ่มผ้าป่าบนเรือ ต่อมาคณะกรรมการฯเห็นว่าเป็นการสร้างความลำบากให้กับพระภิกษุจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำพิธีชักผ้าป่า โดยให้ชาวประมงมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ตามบ้านแล้วพระภิกษุจับสลากหมายเลขพุ่มผ้าป่า และในปัจจุบันได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการทำแพผ้าป่าไว้กลางแม่น้ำประแส พร้อมนิมนต์พระทำพิธีทอดผ้าป่าบนแพ ส่วนพุ่มผ้าป่าตามบ้านเรือนประชาชนก็คงไว้เหมือนเดิม พระภิกษุจะจับสลากหมายเลขพุ่ม แล้วเดินชักพุ่มผ้าป่าตามหมายเลข ที่จับได้และมีการจัดงานมหรสพประมาณ 3-4 วัน จัดขึ้นทุกปี โดยวัน ทอดผ้าป่ากลางน้ำ จะตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองหรือวันลอยกระทงนั่นเอง

ภายในงานนอกจากจะมีการทำบุญ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แล้ว ยังมีกิจกรรมความบันเทิง การละเล่นต่างๆ มากมาย อาทิเช่น กิจกรรมแข่งเรือพาย, มวยทะเล, แข่งขันฉีกปลา, ประกวดแม่ม่ายเทพี, กีฬาพื้นบ้าน, การแสดงของนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มประชาชนต่างๆ, การประกวดดนตรีสตริงเยาวชน ร้องเพลงไทยลูกทุ่ง, การแสดงนักเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง, การแสดงดนตรีไทย ดนตรีสากล ชุดรำกะปิ,การแสดงภาษาต่างชาติ, ประกวดกระทง, และพบกับมหกรรมอาหารสะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ทั้งอาหารทะเลและอาหารพื้นเมืองขอองจังหวัดระยองและภาคตะวันออก เช่น ปลากะพงทอดน้ำปลา ปลาหมึกเผาหรือย่าง แกงหมูชะมวง แกงแขนงสับปะรด เป็นต้น ส่วนที่สำคัญที่สุดในงานก็คือวันเปิดงาน จะมีขบวนแห่รถประดับผลไม้จากสวนศรีเมืองมายังตลาด ประกวดธิดาชาวสวนที่สวนศรีเมือง ช่วงบ่ายเป็นพิธีเปิด มีการมอบรางวัลขบวนรถประดับผลไม้ ทั้งประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลให้ธิดาชาวสวนหลังจากนั้นจะมีการแข่งขันรับประทานผลไม้ ส่วนวันอื่น ๆ ก็มีเฉพาะการออกร้านจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ

ทอดผ้าป่ากลางน้ำ ประเพณีอันเป็นเอกลัษณ์ของปากน้ำประแสร์

ประเพณีทอดผ้าป่าในจังหวัดอื่นจัดขึ้นบนบกทั่วไป แต่ในจังหวัดระยอง ชาวปากน้ำประแสร์มีประเพณีทอดผ้าป่าเช่นกัน แต่ประเพณีทอดผ้าป่านี้แตกต่างจากที่อื่นโดยสิ้นเชิง เพราะจัดขึ้นในน้ำ ทำให้ ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปากน้ำประแสร์ เป็นประเพณี ทอดผ้าป่ากลางน้ำ แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ ชาวบ้านปากน้ำประแสร์ถือเป็นประเพณีอันงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

 

 

 

สมัครบาคาร่า https://sa-game.bet/สมัครบาคาร่า888 ที่เว็บคาสิโน888 เราเป็นเว็บคาสิโนที่สมัครง่ายที่สุด เกมคาสิโน สล็อต บาคาร่าเล่นง่าย ได้เงินจริง และยังสามารถดาวน์โหลดเอาไว้เล่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้

Categories
กิจกรรม ประเพณี

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีในเทศกาลออกพรรษา

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอยพระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน ที่สำคัญ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า ประเพณีไหลเรือไฟ บางที่เรียกว่า ” ล่องเรือไฟ ” ” ลอยเรือไฟ ” หรือ”ปล่อยเรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษา ประเพณีไหลเรือไฟ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาอย่างช้านาน 

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีที่มาพร้อมกับหลากหลายความเชื่อ

ไหลเรือไฟ ประเพณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเชื่อที่หลากหลายจากคนในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกนอกจาก ประเพณีไหลเรือไฟ บูชาพระพุทธเจ้า ยังมีความเชื่ออีกมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ประเพณีไหลเรือไฟ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์  
  • ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ได้ทรงตัดพระเกศแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระอินทร์ได้นำเอาผอบมารับไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ จะได้อานิสงส์ไปเกิดร่วมพระศาสนากับพระศรีอริยะเมตไตย 
  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน

เชื่อว่า ประเพณีไหลเรือไฟจะทำให้ฝนในปีต่อไปดี เพราะการไหลเรือไฟเป็นการปล่อยไฟลงในแม่น้ำ ทำให้พญานาคที่อยู่ในน้ำได้รับความร้อนแล้วหอบน้ำหนีขึ้นไปอยู่บนฟ้า  พอถึงเดือน ๖ น้ำในโลกมนุษย์จะแห้ง ผู้คนเดือดร้อน จึงพากันจุดบั้งไฟขึ้นไป พญาแถนจะสั่งให้พญานาคนำน้ำที่หอบขึ้นมา ไปคืนให้โลกมนุษย์ โดยตกลงมาเป็นฝน

  • ด้านความเชื่อในการเอาไฟเผาความทุกข์

 เชื่อว่า เมื่อชาวบ้านมีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้น จะมีการบูชาไฟ แล้วเอาไฟเผาความทุกข์นั้นให้ลอยไปตามน้ำ และน้ำจะพาเอาความทุกข์ที่ถูกเผานั้นให้จากไปได้ การไหลเรือไฟจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาไฟด้วย   

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา  

เชื่อว่า การรู้จักบุญคุณ และการตอบแทนคุณ เป็นเครื่องหมายของคนดี ประเพณีไหลเรือไฟ  กระทำเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของน้ำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เพราะเราได้อาศัยน้ำ จากพระแม่คงคา ทั้งกินทั้งใช้มาตลอดปี ยิ่งกว่านั้นยังถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย เท่ากับขาดความคารวะแม่คงคา จึงสมควรขอขมาลาโทษต่อท่าน  

  • ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระพุทธเจ้า   

 มีตำนานเล่าขานกันว่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับลงมาสู่มนุษยโลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 คือ บันไดทอง  อยู่เบื้องขวาเป็นที่ลงแห่งเหล่าเทพยดา  บันไดเงิน เบื้องซ้ายเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม  และบันไดแก้ว ตรงกลาง เป็นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า  หัวบันไดอยู่ยอดเขาพระสิเนรุราช เชิงบันไดอยู่เมืองสังกัสสะนคร ทรงแสดงโลกนิวรณ์ปฏิหาริย์ คือ เปิดโลกโดยทอดพระเนตรไปเบื้องบนถึงพรหมโลก  เบื้องต่ำถึงอเวจีนรก  ทำให้ทิศต่าง ๆ ทั้ง 8 ทิศ ในโลกธาตุแห่งหมื่นจักรวาล  แลเห็นเป็นลานอันเดียวกัน  จึงเรียกวันนี้ว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” มนุษย์ทั้งหลายได้รับเสด็จด้วยเครื่องสักการะมโหฬาร

  • ด้านความเชื่อในการสักการะท้าวพกาพรหม เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ โดยมีนิทานชาวบ้านเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มีกาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่บนต้นไม้ป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บินจากรังไปหากิน เผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ก็บินหายไป กาตัวเมียซึ่งกำลังกกไข่อยู่ 5 ฟอง คอยผัวไม่เห็นกลับก็กระวนกระวายใจ จนอยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุใหญ่พัดรังกาพัง ฟองไข่ก็ตกลงไปในน้ำ ส่วนแม่กาถูกน้ำพัดไปทางหนึ่ง ครั้งลมสงบ  แม่กากลับมารังไม่เห็นฟองไข่ก็เสียใจ ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดใหม่ บนพรหมโลก ชื่อ ท้าวพกาพรหม ส่วนไข่ทั้ง 5  ฟอง ถูกลมพัดลอยไปตามแม่น้ำ และถูกคลื่นซัดขึ้นตลิ่งแต่ไม่แตกและไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน ครั้นแล้วฟองไข่ทั้ง 5 นี้ก็มีผู้นำไปรักษาไว้ คือ ฟองที่ 1 แม่ไก่เอาไป  ฟองที่ 2 แม่นาคเอาไป  ฟองที่ 3 แม่เต่าเอาไป  ฟองที่ 4  แม่โคเอาไป  ส่วนฟองที่ 5 แม่ราชสีห์เอาไป  ครั้งฟองไข่ทั้ง 5 ถึงกำหนดฟักแตกออกมาไม่เป็นลูกกา แต่เป็นมนุษย์ ครั้งเติบโตขึ้นและเห็นโทษของความเป็นฆราวาสและเห็นอานิสงส์แห่งบรรพชา จึงลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 ได้พบกัน จึงไต่ถามเรื่องราวของกันและกัน ฤาษีทั้ง ๕ จึงพร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา ด้วยแรงอธิษฐาน จึงร้อนไปถึงท้าวพกาพรหม ท้าวพกาพรหมเสด็จจากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือกบินมาเกาะบนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง 5  แล้วเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง แล้วกล่าวต่อไปว่า “ถ้าคิดถึงมารดา เมื่อวันเพ็ญเดือน 11 และเดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชา  ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่า “คิดถึงมารดา” บอกเสร็จ ท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป ตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็พากันลอยกระทง ไหลเรือไฟ เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม

ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีอันเก่าแก่ที่ประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่

ถึงแม้ ประเพณีไหลเรือไฟ จะเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน แต่ในปัจจุบัน ประเพณีไหลเรือไฟ มีการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่มากขึ้น วิธีทำเรือไฟมีการนำเอาเทคโนโลยีแนวใหม่ๆ  เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริงๆ  แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันดีเซล แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น โดยการประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะ ประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

สมัครบาคาร่า sa-game.bet เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เราคือ คาสิโนออนไลน์ ตัวแทนโดยตรงจาก SA gaming ในนามของ SA-Game เรามีบริการหลากหลายในเกมพนัน ไม่ว่าจะเป็น บาคาร่าออนไลน์ , เสือมังกรออนไลน์ , รูเล็ตออนไลน์ ให้ท่านได้เล่นอย่างจุใจผ่านระบบออนไลน์ Live Steam (ไลฟ์สด)

Categories
กิจกรรม ประเพณี

งานกองข้าว ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี

งานกองข้าว เอกลักษณ์ของชาวศรีราชา

งานกองข้าว ศรีราชา

งานกองข้าว ถือเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ ที่สืบต่อกันมา ตามประวัติเล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม เป็นต้น ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไป ในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป แต่ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่ง งานกองข้าว เป็นเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อเทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี

งานกองข้าว ประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน

งานกองข้าว ชลบุรี

ประเพณีกองข้าว หรือ งานกองข้าว ถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายราศีเข้าสู่ปีใหม่ ที่เรียกว่าสงกรานต์ ล่วงไปประมาณ 3-4 วัน ให้ชักชวนเพื่อนบ้าน นำลูกหลานมารวมกันในเวลาแดดร่มลมตก อาหารคาวหวานและอาหารพื้นบ้าน เช่น ฮื่อแช่ ก๋วยเตี๋ยวบก ปิ้งงบ แจงลอน ขนมเต่า ขนมก้นถั่ว ฉาบไข่แมงดา เป็นต้น ไปรวมกันที่ชายทะเล แล้วแต่ละบ้านแบ่งอาหารคนละเล็กละน้อยใส่กระทงใบตอง ไปวางรวมกันบริเวณริมหาด แล้วจุดธูปคนละ 1 ดอกแล้วกล่าวร้องเชิญภูตผีปีศาจที่สิงสถิตบริเวณหาด ผีไม่มีญาติที่หิวโหยมากินอาหารที่นำมากองไว้เชื่อว่าเมื่อภูตผีปีศาจอิ่มหมีพีมันแล้วท่านจะได้ไม่มารบกวน ทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัย และไม่เกิดภัยธรรมชาติ จึงเรียกว่า พิธีกองข้าวบวงสรวง หลังจากนั้นชาวบ้านที่มารวมกัน เซ่นไหว้ทูตผีปีศาจนั่งรอจนกว่าธูปจะหมด 1 ดอกแล้วกล่าวลาขอพรเสร็จแล้วก็จะตั้งวงรวมกันรับประทานอาหารที่เตรียมมาหากมีอาหารเหลือให้นำกองไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ ห้ามนำอาหารที่เหลือกลับบ้านเด็ดขาด งานกองข้าว เป็นเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยภายในงานเน้นการแสดงด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น 

  • มวยตับจาก

เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชลบุรี เพราะมีการปลูกจากเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคือ ใบจากแห้งจำนวนมากเพื่อปูให้ทั่วพื้นเวที และเชื่อกสำหรับขึงเวที นักมวย ทั้งคู่จะผูกตาด้วยผ้า และจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการกลางอยู่บนเวที 1 คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้และต่อยกัน โดยจะใช้ฟังเสียงลั่นกรอบๆแกรบๆ ของใบจากที่ปูไว้ เพื่อจับทิศทางผู้ต่อสู้ของตน กติกาการต่อยคือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุด ก็จะได้คะแนนใครได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะ ชก 3 ยก ยกละ 2 นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดี

  • ตะกร้อลอดบ่วง 

เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้ อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง 

  • ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง

เป็นการเชิญผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาหารและขนมในชุมชนต่างๆ มาออกร้านแสดงสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้านพื้นเมืองท้องถิ่นศรีราชา เช่น ห่อหมก ทองมัวน งบปิ้ง แจงลอน ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวเกียบปากหม้อ ข้าวต้มมัด ฯลฯ

  • การจัดพิธีกองข้าวบวงสรวง

เป็นประเพณีความเชื่อของชาวศรีราชาที่มีอาชีพด้านการประชุม ซึ่งก่อนจะออกเรือไปจับปลาต้องมีการไหว้พวกผีปีศาจ และเมื่อมีเวลาว่างประมาณเดือน 4  ชาวบ้านจะมารวมกันและนำอาหารมาไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ผีไม่มีญาติ โดยนำเอาอาหารใส่กระทงไหว้ และอาหารที่เหลือจะแบ่งกันรับประทาน โดยไม่เอากลับบ้าน ต่อมาเทศบาลเมืองศรีราชาได้จัดพิธีโดยได้เชิญพราหมณ์จากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร มาเป็นผู้ประกอบพิธี และตั้งเครื่องบวงสรวงอย่างถูกต้อง

  • การประกวดแห่รถประเพณีกองข้าว

การจัดกิจกรรมการประกวดได้เชิญหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน องค์กรต่างๆ และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา เข้าร่วมการประกวดและมีรางวัลมอบให้ผู้ชนะการประกวด 

  • การแสดงแสงสีเสียง

เป็นการแสดงระบบการใช้แสงสีที่สวยงามย้อมบริเวณสถานที่จัดงานให้เป็นบรรยากาศแบบย้อนยุค พร้อม ระบบเครื่องเสียงระบบก้องรอบทิศทาง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา โดยมีผู้บริหารหน่วยงานจังหวัด และอำเภอ มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

งานกองข้าว ในปัจจุบันชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านนำข้าวสารมากองรวมกันก่อเป็นรูปเจดีย์เรียกว่า บุญกองข้าวใหญ่  ซึ่งเป็นการแสดงถึงความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญทำบุญข้าวเปลือกเพื่อรำลึกถึงพระคุณของข้าว เป็นการขอขมาพระแม่โพสพ โดยข้าวที่แต่ละบ้านนำมากองรวมกันทั้งหมด เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะนำไปขายเพื่อนำเงินไปบริจาคให้กับทางวัดทั้งหมด นอกจากคนในพื้นที่จะได้ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามแล้ว งานกองข้าว แสดงถึงความเชื่อความศรัทธา รวมถึงเป็นการสร้างความสนุกสนานให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวอีกด้วย

งานกองข้าว

งานกองข้าว ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

งานกองข้าว ศรีราชามีพิธีกรรม ขั้นตอน การปฏิบัติที่ควรแก่การอนุรักษ์ งานกองข้าว ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ลูกหลานชาวศรีราชาเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความสามัคคีให้ทุกคนในชุมชน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์ให้กับชาวศรีราชาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและมีแห่งเดียวในประเทศไทย

 

 

 

 

สนับสนุนโดย :

sa-game.bet เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เราคือ คาสิโนออนไลน์ ตัวแทนโดยตรงจาก SA gaming ในนามของ SA-Game เรามีบริการหลากหลายในเกมพนัน ไม่ว่าจะเป็น บาคาร่าออนไลน์ , เสือมังกรออนไลน์ , รูเล็ตออนไลน์ ให้ท่านได้เล่นอย่างจุใจผ่านระบบออนไลน์ Live Steam (ไลฟ์สด)