Categories
ประเพณี

งานวันระกำหวาน ประเพณีของชาวจังหวัดตราด

งานวันระกำหวาน

เนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักที่คนส่วนมากเลือกเดินทางมาจังหวัดตราดก็คือ งานวันระกำหวาน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้จังหวัดอื่น โดยเฉพาะที่มีทั้งเกาะช้าง เกาะกูด และเกาะหมาก รวมไปถึงหมู่เกาะต่าง ๆมากถึง 52 เกาะ ที่นักท่องเที่ยวต่างก็เดินทางมาสัมผัส โดยเฉพาะเกาะช้าง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมี เกาะกูด ที่มีขนาดใหญ่รองจากเกาะช้าง กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นหาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีเขียวมรกตใสสะอาด ลมทะเลบริสุทธิ์ไม่เหนียวตัว สมกับเป็นเกาะที่ได้รับสมญานามว่า “อันดามันแห่งทะเลตะวันออก” ส่วน เกาะหมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อ.เกาะกูด เป็นเกาะที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนเพื่อคลายความเครียดจากการทำงาน กิจกรรมยอดฮิตบนเกาะกูด และเกาะหมาก เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวบนฝั่ง ยังมีหาดทรายดำ ที่เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย และ 1 ใน 5 ของโลก ที่ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหาดทรายดำและป่าชายเลนอำเภอแหลมงอบ  ยิ่งไปกว่านั้น ตราด ยังมี งานวันระกำหวาน ประจำปี มีทั้งสละสุมาลี ระกำหวาน สับปะรดตราดสีทอง ทุเรียนชะนีหนามแดง ตำนานทุเรียนเกาะช้าง ที่คนรักทุเรียนจะต้องไม่พลาด

งานวันระกำหวาน  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา โดยมีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นชายแดน และอ่าวไทย  

งานวันระกำหวาน

ซึ่งมีเกาะแก่งที่สวยงามมากมาย ถึง 52 เกาะ หมู่เกาะช้างที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ประกอบด้วย เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด เกาะหวาย เกาะรัง เป็นต้น จากการที่จังหวัดตราดมีพื้นที่ติดกับอ่าวไทยตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกไม้ผล ทำให้จังหวัดตราดมี งานวันระกำหวานเป็นแหล่งที่มีผลไม้ที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพหลากหลาย ชนิด เช่น สับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง ทุเรียนเกาะช้าง เงาะ มังคุด ลองกอง ระกำ โดยเฉพาะ งานวันระกำหวานภาคตะวันออก เป็นผลไม้พื้นเมือง เป็นพืชตระกูลเดียวกับ หมาก มะพร้าว และปาล์ม ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ระกำผลอ่อนจะมีรส ฝาด ผลโตจะมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้ เมื่อผลแก่จัดและสุกงอมจะมีรสชาติหวานหอมอย่างมีเอกลักษณ์ชวนให้รับประทาน จังหวัดตราดจึงสมเป็นดินแดนสวรรค์  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ งานวันระกำหวานจังหวัดตราด ของเรานั้นจะมีผลผลิตทางการเกษตรมีผลไม้จำนวนมากออกสู่ตลาดในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม – มิถุนายน และเพื่อเป็นการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร และเผยแพร่ชื่อเสียงผลไม้ที่มีคุณภาพ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดในทุกปี จังหวัดตราดกำหนดให้มีการจัด งานวันระกำหวานประจำปี และของดีเมืองตราดเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้การจัดงานดังกล่าว จังหวัดตราด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง กำหนดจัดงาน วันระกำหวาน ผลไม้และของดีเมืองตราด ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม ณ บริเวณสวนรุกขชาติ อำเภอเมือง จังหวัดตราด กิจกรรมในการจัด  งานวันระกำหวานภาคตะวันออก  ดังกล่าว ประกอบด้วย การประกวดผลไม้ 9 ชนิด ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง, ลองกอง, เงาะพันธุ์โรงเรียน, มังคุด, ระกำหวาน, สับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง, สับปะรดพันธ์ปัตตาเวีย, กล้วยไข่ (ส่งออก) และมะพร้าวคุณภาพ การประกวดผลไม้ใหญ่ 5 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน, สับปะรด, มะพร้าว, ระกำ และปาล์มน้ำมัน การประกวดอาหารคาว ได้แก่ หมูชะมวง, แกงสับปะรดใส่หอย, ประกวดรสชาติไข่เค็มประกวดอาหารหวาน ได้แก่ อาหารหวานจากเงาะ การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอกลักษณ์ตราด และประเภทสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานเพศผู้ เพศเมีย การประกวดไก่พื้นเมือง 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทเหลืองหางขาว, ประดู่หางดำ และประเภทคละสี การประกวดไข่ไก่ใหญ่ การแข่งขันที่สนุกสนาน เช่น ตำส้มตำผลไม้ลีลา แข่งขันกรีดยางพารา, แข่งขันตำน้ำพริกระกำ, แข่งขันกินผลไม้เร็วและมากที่สุด, แข่งขันกวนทุเรียน, แข่งขันทุเรียนเชื่อม นอกจากนี้ยังจะมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของส่วนราชการและเอกชน เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยด้านพืชผักผลไม้ ด้านปศุสัตว์ อาหารทะเลสด อาหารทะเลแปรรูป จำหน่ายผลไม้คุณภาพ สินค้า OTOP ข้าวกล้องหอมนิล ข้าวหอมมะลิแดง อาหารแปรรูป จำหน่ายสินค้าราคาถูก รวมทั้งการแสดงมหรสพจากนักร้องชื่อดัง ชมฟรีตลอดงาน

งานวันระกำหวานมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลไม้ที่มีคุณภาพของจังหวัด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทางด้านการตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ผู้ผลิตสินค้าชุมชน และท้องถิ่นของจังหวัดตราด ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัด โดยการภายใน งานวันระกำหวานประจำปี มีกิจกรรมที่หลากหลายให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกเพลิดเพลินอีกด้วย จังหวัดตราดนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางบก ทางทะเล และชายแดน ประกอบกับยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารทะเลสดๆ ผลไม้หลากชนิด ที่พร้อมให้ทุกคนได้เข้ามาสัมผัส และเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี 

อ่านบทความอื่น ๆ >> ชวนทำบุญไหว้พระ ภาคตะวันออก


แวะเช็คอินบางแสน ที่เที่ยวมากมายให้ทุกท่านได้เลือกสรรตามใจชอบ

Categories
ประเพณี

ตราดรำลึกประเพณีที่คนจังหวัดตราดให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ตราดรำลึก

อันดับแรกเลยนักเดินบางทุกท่าน อาจจะยังไม่เคยมาจังตราดของเรา และยังไม่รู้ว่าจังหวัดตราดของเรานั้นที่เที่ยวตรงไหน มีประเพณีอะไรบ้างที่น่าสนใจ วันนี้เราเลยมีข้อมูลที่น่าสนใจของตราด ให้ทุกท่านได้รู้จักกับจังหวัดตราดของเรามากขึ้น จังหวัดตราดนั้น ตราดรำลึก เป็นเมืองตราดมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อุปนิสัยดั้งเดิมของคนตราด เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณาสูง เข้มแข็ง อดทน หากเราได้ศึกษาถึงชีวิต ความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งดีงามเอาไว้ ก็เท่ากับเราได้ช่วยสืบสานวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีคุณค่านี้ไว้ เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ กิริยามารยาท ประเพณีตราดรำลึก 23 มีนาคม ประเพณีที่คนในท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติ เป็นต้น และจังหวัดตราดของเรานั้นก็มีประเพณีที่น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน 

ตราดรำลึก  เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อชาวจังหวัดตราด

หากทุกท่านได้สังเกต ก็จะพบว่าไม่ว่าจะไปที่แห่งไหน ก็จะพบธงช้างเผือกโบกสะบัดปลิวไสวลู่ไปตามแรงลมทั่วทั้งสารทิศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระ เสรี เพราะวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนได้ครอบครองญวนทั้งประเทศ และเขมรส่วนนอกทั้งหมด และได้ใช้กำลังบีบบังคับไทยเพื่อจะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทย เกิดเหตุการณ์รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในเหตุการณ์นั้นไทยจำยอมต้องยกดินแดนเมืองจันทบุรีและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส และตั้งแต่นั้นมาชาวตราดถือเป็น “วันตราดรำลึก” เมื่อครั้งแผ่นดินตราดเคยสูญเสียอิสรภาพ ตกอยู่ภายใต้กาปกครองของฝรั่งเศส เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน 7 วัน”ธงช้างเผือกถูกลดลงจากยอดเสา ตราดรำลึกเพื่อชักธงชาติฝรั่งเศสขึ้นแทนที่ ตามสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนดินแดนจังหวัดจันทบุรีที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสกับดินแดนจังหวัดตราด ตราดรำลึกอิสรภาพ และเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูด ตลอดจนเมืองประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ได้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้คนที่อยู่ในพิธีนั้นได้นั่งลงกับพื้น แล้วหมอบกราบผืนแผ่นดินตราดอย่างตื้นตันใจว่า ในที่สุดเราชาวตราด ก็ได้กลับมาอยู่ใต้ร่มธงช้างเผือก และเป็นคนไทยมาจนตราบเท่าทุกวันนี้อีกครั้ง

ตราดรำลึก

วันตราดรำลึก ตราดรำลึกประเพณีที่สำคัญยิ่ง ได้มีการจัดประเพณีขึ้นมานั้น เพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญเลยก็คือ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ครั้งที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ จนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 งานวันตราดรำลึก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หน้าศาลากลางจังหวัดตราด ภายในงานมีริ้วขบวนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองตราด การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน การจำหน่ายสินค้า การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน จัดการแสดงขบวนเรือประดับไฟ และละครประวัติศาสตร์ตราดรำลึก ตราดรำลึกบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์  ท่ามกลางความสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาย

ตราดรำลึก

ทั้งนี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในส่วนของพิธีกรรมนั้น ในตอนเช้าวันที่ ๒๓ มีนาคม จะมีการตั้งเครื่องเซ่นบวงสรวงดวงพระวิญญาณของรัชกาลที่ ๕ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเตรียมการตั้งราชวัตร ฉัตรธง ศาลเพียงตาเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ราชวัตรฉัตร ๖ ชั้น ประกอบด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าวงอก เครื่องบวงสรวงประกอบด้วย ตราดรำลึกประเพณีที่สำคัญยิ่ง สุรา ไก่ต้ม บุหรี่ ข้าวสุก เป็ดต้ม กุ้งต้มยำ น้ำพริกเกลือ น้ำเปล่า หัวหมู น้ำชา น้ำอัดลมสีเขียว อย่างละ ๑ ชุด ปูดำต้ม ๑ ตัว ปลาช่อนแป๊ะซะ ๑ ที่ กุ้งทะเลตัวใหญ่ต้ม ๒ ตัว ซาแซ (หมู ๓ ชั้น ๑ ชิ้น, ปลาหมึกแห้ง ๑ ตัว, ไข่ไก่ต้ม ๒ ฟอง) เต้าเรี่ยว งาดำ งาขาว อย่างละ ๑ ชุด ข้าวตอกดอกไม้ ถั่วงา (ใช้งาขาว) ระคนกันอยู่ในพานเดียวกัน หมากพลู กุ้งพล่าปลายำ ๑ ชุด ขนมต้มขาวต้มแดง ๑ ชุด ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมถ้วยฟู ขนมเปี๊ยะ ๑ คู่ เครื่องกระยาบวช ประกอบด้วย หัวมันต้ม หัวเผือกต้ม กล้วยบวชชี ฟักทองแกงบวด หัวมันเทศแกงบวด หัวเผือกแกงบวด บายศรีหลัก ๙ ชั้น ๒ หลัก, บายศรีพรหม ๙ ชั้น ๑ คู่, บายศรีเทพ ๑๖ ชั้น ๑ คู่, บายศรี ๙ ชั้น ๑ คู่, บายศรีปากชาม ๑ คู่, พานพุ่มดอกไม้สด ๑ คู่, เครื่องบูชาที่เป็นดอกไม้ธูปเทียน ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกกุหลาบสีชมพู ๑ มัด ดอกบัวสัตตบงกช ๑ มัด เทียนสีขาว ๑ โหล เทียนเกลียว ๑ คู่ ธูปหอม ๒ ห่อ พวงมาลัยดอกมะลิ๒ พวง ตราดรำลึกงานวันตราดรำลึก ถือว่าเป็นงานประเพณีที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัด ตราดรำลึก 23 มีนาคม จัดขึ้นทุกปี ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด 

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี เอกลักษณ์ประจำจังหวัด

รวมทุกที่ท่องเที่ยวชลบุรี >> Teenaideechonburi

Categories
ประเพณี

ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี เอกลักษณ์ประจำจังหวัด

ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี

ชลบุรี เมืองแห่งการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายให้นักท่องเที่ยวได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์แห่งการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันออกไป นอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวสุดสวยหลายที่แล้ว ประเพณีของชลบุรีก็สวยงามไม่แพ้กัน ตัวอย่างเช่น ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี เนื่องจาก ประเพณีวิ่งควายชลบุรี หนึ่งเดียวในประเทศไทย เป็นประเพณีสุดแปลกของจังหวัดชลบุรี ที่ไม่มีใครเหมือน จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ประเพณีวิ่งควายชลบุรีจัดขึ้นช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน 

ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี ประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความแน่นแฟ้น ของคนในชุมชน

ประเพณีสุดแปลก เป็นเอกลักษณ์ และไม่เหมือนใครอย่าง ประเพณีวิ่งควายของชลบุรี เป็นอีกหนึ่งประเพณีสุดเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี ประเพณีวิ่งควายชลบุรี มีมายาวนานกว่า 100 ปี เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และแสดงให้เห็นถึงความแน่นแฟ้น กลมเกลียวของคนในชุมชน เนื่องจากประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์นี้จะต้องร่วมด้วยช่วยกัน ในการออกแบบ จัดงาน ให้ออกมาอย่างดีที่สุด ประเพณีวิ่งควายชลบุรี ประเพณีของชาวเกษตรกร ถือเป็นประเพณีของพี่น้องชาวไร่ ชาวสวนอย่างแท้จริง เนื่องจากภายในงานวันประเพณีจะต้องใช้พืชผลทางเกษตรในการจัดประเพณีให้สมบูรณ์ด้วย “ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักรสานดี ประเพณีวิ่งควาย” จากคำขวัญของจังหวัดชลบุรีดังที่กล่าวไป แสดงให้เห็นว่ามีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีอยู่ไม่กี่อย่าง โดยเฉพาะ ประเพณีวิ่งควาย ที่ถือเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดชลบุรี ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก ที่จัดขึ้นที่เมืองแห่งการท่องเที่ยวแห่งนี้ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีความเก่าแก่กว่า 100 ปีเลยทีเดียว โดยปกติแล้วประเพณีวิ่งควายจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ประเพณีวิ่งควายเกิดขึ้นจาก ในอดีต วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนจะต้องเดินทางมาทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะที่วัด และก่อนที่จะถึงวันออกพรรษาชาวเกษตรกรจะต้องร่วมกันเอาสินค้าในสวนหรือในไร่ของตนออกมาจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น กล้วย มะพร้าว ข้าว ข้าวเหนียว ใบตอง เป็นต้น และเนื่องจากในอดีตกาลการคมนาคมไม่ได้มีความสะดวกเหมือนกับปัจจุบัน ไม่มีรถบรรทุกสินค้า ต่างคนก็จำเป็นจะต้องหาพาหนะ เพื่อจะได้นำสินค้าที่ได้จากสวนของตัวเองออกมาจำหน่าย โดยยานพาหนะที่นิยมในสมัยนั้นก็คือ เกวียน โดยต่างคนต่างก็ใช้ควายที่ตัวเองเลี้ยงไว้ลากเกวียนมา เพื่อช่วยเบาแรง เมื่อมาถึงวัดแล้วก็จะนำควายที่ลากเกวียนมาไปผูกไว้บริเวณลานรอบๆ วัด โดยทางไปวัดจะมีตลาดแห่งหนึ่งซึ่งถือเป็นตลาดที่เป็นศูนย์กลางของเมืองชลบุรี ได้แก่ ตลาดท่าเกวียน เป็นที่พักเกวียนเพื่อถ่ายสินค้าในสมัยนั้น ระหว่างทางผู้คนก็จะพาควายเดินเล่นในตลาดท่าเกวียนแห่งนี้ จากนั้นเมื่อเกษตรกรด้วยกันได้มาพบปะพูดคุยกันก็เกิดความสนุกสนาน เมื่อทำแบบนี้เป็นประจำทุกปีก็ทำให้เกิดประเพณีวิ่งควายขึ้นมา เพื่อสีสันและความสนุกสนานในปีต่อๆ มาก็มีการเพิ่มการตกแต่งควายให้สวยงามด้วยผ้าแพรและลูกปัด เพื่อแสดงถึงความใส่ใจและการดูแลควายของตัวเองเป็นอย่างดี และถือเป็นการทำขวัญควายประจำปีไปในตัว การตกแต่งควายเพื่อความสวยงามที่ชาวบ้านนิยมทำ ได้แก่  ทำถุงสวมเขาควายตกแต่งเชือกจูงควายปฏักเฆี่ยนควายทำฉบังแต่งหน้าควายและเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตพิสดารไปตามความคิดของตน มีการพบปะ เลี้ยงดู ร่วมกับบรรดาชาวนาและเกษตรกรผู้ร่วมอาชีพ ตลอดจนประกวดความสมบูรณ์ และสีสันสวยงามของควายที่ตกแต่งมา โดยคณะกรรมการตัดสินจะเป็นทั้งชาวเกษตรกรด้วยกันเอง และ๕ณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมา  นับเป็นการสนองคุณของควายให้มีความสุขตามอัตภาพและได้พักผ่อนจากงานหนักในไร่นา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี ประเพณีวิ่งควายชลบุรี ประเพณีสำคัญของเกษตรกร ประเพณีสำคัญที่ไม่ทำไม่ได้เลย ต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีความเชื่อที่เล่ากันต่อๆ มา ว่า หากปีไหนไม่มีการจัดประเพณีวิ่งควายขึ้นปีนั้นวัวควายที่เกษตรกรเลี้ยงจะเกิดเป็นโรคระบาด และเกิดอัตราการตายมากขึ้นผิดปกติ นอกจากนี้ควายที่เป็นโรคอยู่ก่อนวันงานประเพณีจะได้รับการปัดเป่า และเจ้าของจะบนบานก่อนถึงวันงาน เพื่อที่จะให้ควายของตนได้รับการเข้าร่วมพีอันเป็นมงคลสุงสุดของชีวิตสัตว์ตัวหนึ่ง เพื่อมอบความยินดีปรีดาและเป็นการแสดงถึงความเมตตาต่อสัตว์ที่ตนเลี้ยงมากับมือ

ประเพณีวิ่งควาย ชลบุรี

ประเพณีวิ่งควายชลบุรี ประเพณีสุดโด่งดัง

เนื่องจาก ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี เป็นประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก ประเพณีสุดเก่าแก่แห่งหนึ่งจึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เห็นได้จากวันงานว่าจะมีผู้คนเข้ามาร่วมกิจกรรมมากมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างก็ให้ความสนใจประเพณีสุดแปลกนี้ เนื่องจากเป็นประเพณีที่มีความเป้นเอกลักษณ์ในตัวเอง เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์ของจังหวัดชลบุรี ที่ไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ ประเพณีวิ่งควายชลบุรี ประเพณีที่แสดงถึงความสวยงามของธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่หลายคนมองไม่เห็นความสำคัญ มีความสำคัญต่อชาวเกษตรกรเป็นอย่างมาก มาตั้งแต่ในอดีตกาล จนถึงปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญอยู่

อ่านบทความอื่น ๆ >> ชักเย่อเกวียนพระบาท สืบสานวิถีชีวิต วัฒนธรรมไทย

แนะนำที่เที่ยวในชลบุรี >> วัดสวยใกล้กรุงเทพ เอาใจสายบุญที่ชอบไปวัดไหว้พระ แวะถ่ายรูปสวยๆ

Categories
ประเพณี

ชักเย่อเกวียนพระบาท สืบสานวิถีชีวิต วัฒนธรรมไทย

ชักเย่อเกวียนพระบาท

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยหรือเทศกาลสงกรานต์ ในแต่ละจังหวัดทั่วทุกภาคของไทยนอกจากจะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีสำคัญหลายอย่างที่แต่ละชุมชนได้ร่วมกันทำซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น ชักเย่อเกวียนพระบาท รวมไปถึงการเล่นต่าง ๆ ที่จัดในช่วงเวลานี้ด้วย เช่นที่ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ที่เราแวะไปเยือนเพื่อชมประเพณีการเล่นโบราณ ที่จัดในวันที่ ๑๗ เมษายนของทุกปี การละเล่นนี้คือชักเย่อเกวียนพระบาท ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับประเพณีชักพระบาทของชาวตะปอน ถือเป็นอำเภอเก่าแก่ ในอดีตผู้คนในแถบนี้ประกอบอาชีพทำนาและประมง ต่อมาหันมาปลูกผลไม้ หากลองขับรถตระเวนดูตามเส้นทางที่เชื่อมโยงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ในเขตอำเภอขลุงจะพบชุมชนเก่าแก่หลายชุมชน สังเกตได้จากบ้านเรือนแบบโบราณที่ยังคงรักษาไว้อย่างดี

ชักเย่อเกวียนพระบาท การละเล่นพื้นบ้าน ที่สร้างความสนุกสนานแก่ชาวบ้านในพื้นที่ 

เมื่อมีชุมชนโบราณจึงไม่แปลกที่จะได้สัมผัสประเพณีวัฒนธรรมการเล่นแบบโบราณที่ปฏิบัติสืบกันมา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้าน แถบตำบลตะปอน ชักเย่อเกวียนพระบาทนอกจากจะมีการแห่พระบาท มีงานบุญที่ทำร่วมกันที่วัดแล้ว ทุกคนยังมารวมตัวกันเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทอย่างสนุกสนาน ทั้งที่วัดตะปอนน้อย และวัดตะปอนใหญ่ เกวียนพระบาทหมายถึง ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน เกวียนและผ้าพระบาท สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผ้าพระบาท เป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีความกว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๗ เมตร บนผ้าเขียนรอยพระบาทจำลองสี่รอยซ้อนกัน ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเชื่อว่ารอยพระบาทสี่รอยนี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ได้แก่ รอยด้านนอกที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นรอยของพระกกุสันโธ ถัดมาเป็นรอยของพระโกนาคม จากนั้นจึงเป็นรอยของพระกัสสปะ และรอยเล็กที่สุดเป็นรอยของพระโคตมพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั่นเอง ชักเย่อเกวียนพระบาทประเพณีดั้งเดิม และส่วนของผ้าพระบาทที่วัดตะปอนน้อยเป็นผ้าพระบาทจำลองที่อัญเชิญมาจากวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี โดยอัญเชิญมาทางเรือและขึ้นฝั่งที่บ้านคลองยายดำก่อนมาประดิษฐานที่วัดตะปอนน้อย ด้วยเหตุที่ต้นทางของผ้าพระบาทมาจากทางภาคใต้ จึงมีผู้สันนิฐานว่าประเพณีการแห่ผ้าพระบาทอาจมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ และการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทของที่นี่นั้น ปฏิบัติสืบทอดมาเป็นเวลานาน ชักเย่อเกวียนพระบาทการละเล่นพื้นบ้าน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยในวันที่ ๑๕-๑๖ เมษายน ที่วัดตะปอนน้อยจัดให้เล่นชักเย่อเกวียนพระบาทเพื่อความสนุกสนาน ส่วนที่วัดตะปอนใหญ่จัดในที่ ๑๗ เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล ถือเป็นงานใหญ่เพราะเป็นการแข่งขันชักเย่อเกวียนพระบาทแบบจริงจัง ในอดีตเชื่อว่าเมื่ออัญเชิญผ้าพระบาทขึ้นเกวียนแห่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บของผู้คนที่เกวียนพระบาทชักลากผ่านไปทุเลาและหายลง อีกทั้งจะได้รับความโชคดี ทำให้แต่ละบ้านอยากอัญเชิญผ้าพระบาทไปประดิษฐานไว้ ทำให้เกิดกิจกรรมการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาทขึ้นตามมา

ชักเย่อเกวียนพระบาท

โดยแต่ละบ้านส่งทีมมาแข่งขันกัน ทีมใดชนะก็จะได้สิทธิ์ในการนำผ้าพระบาทไปประดิษฐานไว้หนึ่งปี ต่อมาภายหลังได้ยกเลิกไป เหลือแต่แข่งขันเพื่อความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน ส่วนผ้าพระบาทผืนที่นำมาจากภาคใต้เก็บรักษาไว้ที่วัดตะปอนน้อย ผืนของวัดตะปอนใหญ่ เป็นการคัดลอกขึ้นมาเพื่ออัญเชิญ ขึ้นเกวียนในการแข่งชักเย่อที่วัดตะปอนใหญ่ สันนิษฐานว่าการเล่นชักเย่อเกวียนมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะมีหลักฐานว่ามีงานประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ชักเย่อเกวียนพระบาทวัดตะปอน ทั้งยังเกิดขึ้นในหลายท้องถิ่น มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป และในบางท้องที่บนเกวียนที่ใช้เล่นชักเย่อนั้นนำเพียงพระพุทธรูปมาตั้งไว้ แต่สำหรับตำบลตะปอน เป็นผ้าที่มีรอยพระบาทจำลองมาตั้งไว้บนเกวียน จึงเรียกว่าการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท ในอดีตเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งสิทธิ์ในการถือครองผ้าพระบาทหรือถือครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ในปัจจุบันเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งการละเล่นนี้นิยมเล่นกันในภาคตะวันออกของไทย โดยเฉพาะที่ตำบลตะปอน เป็นชุมชนที่มีการเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท สืบทอดต่อกันมายาวนานที่สุด อีกทั้งยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน 

ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท เราขอบอกเลยว่านับว่าเป็นอีกหนึ่งการเล่นแบบโบราณที่ปฏิบัติสืบกันมา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้าน แถบตำบลตะปอน ของจังหวัดจันทบุรี ชักเย่อเกวียนพระบาทประเพณีดั้งเดิม  เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสนุกสนานและเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนและทุกท่านที่ได้มาสัมผัส

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี มาอย่างยาวนาน 


วัดดังระยอง ไหว้พระขอพรต้อนรับปีใหม่ เสริมสิริมงคลให้ชีวิต

Categories
ประเพณี

ประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี มาอย่างยาวนาน 

ประเพณีกองข้าว

ประเพณีกองข้าวเป็นประเพณีท้องถิ่น ของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆ กันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป ประเพณีกองข้าว น่าสนใจ ที่ศรีราชายังคงอนุลักษณ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี 

ประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีที่ถือว่า เป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอศรีราชา

ในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชาของทุกปีชาวบ้านจะนัดหมายกันมา นำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันและเชิญภูติผีทั้งหลายมากินปีละ ครั้ง โดยเชื่อว่าภูติผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเองหลัง พิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสาน มีเกล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์ การจัดงานประเพณีกองข้าวเป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนรักษ์และประเพณีของ ท้องถิ่น ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อว่า  งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมรณรงค์ให้เด็กเยาวชน และประชาชน ได้เกิดจิตสำนึกในความเป็นคนไทยที่มีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีการ แต่งกายที่ดี ให้ดำรงสืบทอดต่อไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย

ประเพณีกองข้าว

สำหรับการจัดงานเทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประเพณีกองข้าวศรีราชา จังหวัดชลบุรีอำเภอศรีราชา สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีราชาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวศรีราชา ร่วมกันจัดกิจกรรม อาทิเช่น การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาคต่างๆ และท้องถิ่นโดยเน้นการแสดงด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายและสื่อถึงความเป็นไทยที่ อ่อนช้อยสวยงาม อาทิเช่น มวยตับจากเดิมที่เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากมีการปลูกจากเป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไป ด้วยเหตุที่ป่าจากลดน้อยลงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคือ ใบจากแห้งจำนวนมากเพื่อปูให้ทั่วพื้นเวที และเชื่อกสำหรับขึงเวที นักมวย ทั้งคู่จะผูกตาด้วยผ้า และจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการกลางอยู่บนเวที 1 คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้และต่อยกัน ประเพณีกองข้าวของชาวชลบุรี โดยจะใช้ฟังเสียงลั่นกรอบๆแกรบๆ ของใบจากที่ปูไว้ เพื่อจับทิศทางผู้ต่อสู้ของตน กติกาการต่อยคือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุด ก็จะได้คะแนนใครได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะ ชก 3 ยก ยกละ 2 นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่น่าเสียดายว่ากีฬาประเภทนี้ได้สูญหายไปแล้ว ตามกาลเวลาที่ผ่านมา ประเพณีกองข้าวศรีราชา จุดเด่นของรำวงอยู่ที่นางรำ ซึ่งเป็นจุดสนใจให้บรรดาผู้ชมซื้อตั๋วเข้ามารำวงกับคณะนางรำที่มีรูปร่าง หน้าตาดี และมีการติดตามคณะรำวงที่ตนสนใจไปตามงานต่างๆ ทำให้เกิดการเขม่นกับทางเจ้าถิ่น ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เกิดการแย่ง “นางรำ” กันขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท จนยากแก่การควบคุมทำให้ทางราชการต้องสั่งยกเลิก ห้ามมีการแสดงรำวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และก็ได้เกิดการกลับมาอีกครั้งของรำวง ด้วยกระแสตระหนักแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษณ์ความเป็นไทย เทศบาลเมืองศรีราชา จึงได้นำการแสดง รำวง กลับมาอีกครั้ง ในรูปแบบของ “รำวงย้อนยุค” ในงานประเพณีกองข้าว ปี 2541 ในรูปแบบที่เน้นเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน  อีกทั้งยังมีกิจกรรมตะกร้อลอดบ่วง เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้ อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง เป็นการอนุรักษณ์ไว้  และไม่พอเพียงเท่านั้น ประเพณีกองข้าวเป็นพระเพณีท้องถิ่น ยังมีขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง เป็นการเชิญผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาหารและขนมในชุมชนต่างๆ มาออกร้านแสดงสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้านพื้นเมืองท้องถิ่นศรีราชา เช่น ห่อหมก ทองม้วน งบปิ้ง แจงลอน ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวเกียบปากหม้อ ข้าวต้มมัด ฯลฯ บอกเลยว่าอิ่มหนำความสุขไปเลยทีเดียว

ประเพณีกองข้าวนอกจากจังวัดชลบุรีของเรานั้นจะมีคำเลื่องลือว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว แต่จังหวัดของเรายังมีดีอีกมากมาย เพราะประเพณีของจังหวัดเรานั้นก็น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่แพ้ที่อื่นเลย ประเพณีกองข้าวเป็นประเพณีท้องถิ่น  

อ่านบทความอื่น ๆ >> ชลบุรีประเพณีดัง  จังหวัดที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออกของประเทศไทย 


คาเฟ่พัทยา รับปี 2023 จุดเช็คอินสุดชิค รับปีกระต่ายทอง

Categories
ประเพณี

ชลบุรีประเพณีดัง  จังหวัดที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออกของประเทศไทย 

ชลบุรีประเพณีดัง

ทุกท่านอาจจะคุ้นหูกับคำว่าจังหวัดชลบุรีกันมาบ้างแล้ว แต่วันนี้เราจะพาเหล่านักท่องเที่ยวทุกท่าน มาทำความรู้จัก กับจังหวัดชลบุรีให้ทุกท่านได้รู้มากยิ่งไปอีก ว่าจริงๆ แล้ว จังหวัดของเรามีดีอย่างไงบ้าง ชลบุรีนั้นเป็นจังหวัด หนึ่งในภาคตะวันออก ของประเทศไทย ชลบุรีประเพณีดัง อีกทั้งยังมีชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดนั่นก็คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีของเรานั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ แถมยังมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยาอีกด้วย ชลบุรีประเพณีดัง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้ที่ท่องเที่ยวอื่นๆเลยทีเดียว เพราะจังหวัดชลบุรีนั้นมีประเพณี และวัฒนธรรมหลายอย่างที่น่าสนใจ ด้วยเหตุจึงทำไห้จังหวัดของเราเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวท่างชาติที่เดินทางกันเจ้ามาอย่างไม่ขาดสาย

ชลบุรีประเพณีดัง จังหวัดที่ใกล้กรุงเทพ อีกทั้งยังแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมากมาย

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าจังหวัดชลบุรีของเรานั้นเป็นเมืองขึ้นชื่อแห่งการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีประเพณีต่างๆ มากมายที่น่าสนใจหลายประเพณีเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละประเพณีนั้นก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป และแน่นอนว่าเมื่อใครได้มาสัมผัสต้องตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก วันนี้เราเลยอยากที่จะมาบอกต่อมนตร์เสน่ของประเพณีไทยประเพณีดั้งเดิม ของจังหวัดชลบุรีของเราให้แก่เหล่านักท่องเที่ยว ชลบุรีประเพณีดังทางภาคตะวันออก และนักเดินทางทุกท่าน

ชลบุรีประเพณีดัง
  • ประเพณีแรกเป็นกิจกรรมที่บอกเลยว่า ทุกท่านต้องได้มาสัมผัสสักครั้งให้ได้เลย เป็นกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ จะมีการเริ่มเล่นสาดน้ำกันประมาณวันที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน โดยเรียกกันว่า วันไหล สำหรับเมืองพัทยา ได้กำหนดจัดงานวันไหลในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พิธีรดน้ำดำหัว ชลบุรีประเพณีดังต้องมาลอง ขบวนแห่วันไหล การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ เป็นประณีที่ใครๆหลายคนตั้งหน้าตั้งตารอคอยเลยทีเดียว วันไหล ซึ่งแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล คือ เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติต่อๆกันมาในภาคตะวันออก และเขตภาคกลางบางจังหวัด ชาวบ้านจะนิยมก่อพระเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา 
  • ต่อมาที่ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วันนั่นเอง จุดประสงค์หลักของงานเลยก็เพื่อเป็นการทำขวัญควายและ ให้ควายได้พักผ่อนหลังจากการทำนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายนั้นยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควาย ที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยด้วย อีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านนั้นได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์ ชลบุรีประเพณีดังทางภาคตะวันออก  สนุกสนานเฮฮาด้วยกันในงานวิ่งควาย อีกทั้งภายในงานนั้นก็จะมีการนำผลผลิตของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้าน ร้าน ตลาดไปพร้อมๆ กัน ต่างคนก็จูงควายกันเข้ามาเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามนี่เอง ทำให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายเกิดขึ้นอีกด้วย พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย บอกเลยว่าเป็นประเพณีที่มีที่เดียวในไทย และที่เดียวในโลกเลย
  • และประเพณีสุดท้ายที่ขึ้นอีกหนึ่งของจังหวัดชลบุรีของเรา นั่นก็คือ ประเพณีกองข้าว อำเภอศรีราชา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรีเลยว่าได้ ซึ่งปัจจุบันได้จัดขึ้นที่อำเภอศรีราชา ที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำ วันที่ 19-21 เดือน เมษายน ของทุกปี ในส่วนของสถานที่จัด จะอยู่ที่อยู่บริเวณหน้าสำนักงาน เทศบาลตำบลศรีราชา และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชา   กิจกรรมของงานหลากหลายกิจกรรมด้วยกัน ชลบุรีประเพณีดังต้องมาลอง  ประกอบไปด้วย การจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่และหน่วยงานต่าง ๆ ที่แต่งกายด้วยชุดไทยประจำบ้านที่มีความสวยฃามเป็นเอกลักษณ์เข้าร่วมขบวนพิธีบวงสรวง และเซ่นสังเวยผี การสาธิต ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่าย ขนมพื้นบ้าน และอาหารพื้นเมืองอีกด้วย

ประเพณีดัง จังหวัดชลบุรีของเรานั้น เป็นเมืองขึ้นชื่อแห่งการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีประเพณีต่างๆ มากมายที่น่าสนใจหลายประเพณีเลยทีเดียว ชลบุรีประเพณีดังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจากข้างต้นเราได้ยกตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งของกิจกกรมมาเท่านั้น ถ้าหากทุกท่านอยากจะจะสัมผัสกับความสนุกสนานและอบอุ่น ต้องแวะมาเที่ยวที่จังหวัดชลบุรีของเรา

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวจังหวัดชลบุรี 

ปราสาทสัจธรรมชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรี

Categories
ประเพณี

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวจังหวัดชลบุรี 

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประเพณีนี้ถือได้ว่าเป็นของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริงเลย  ประเพณีวิ่งควายเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น ไม่มีหลักฐานปรากฎอย่างแน่ชัด แต่มีหลักฐานว่าการเล่นวิ่งวัว วิ่งควายนี้มีกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี โดยจัดขึ้นเพื่อเป็นการทำขวัญควาย และมีความเชื่อว่า ถ้าปีไหนไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายจำนวนมาก จึงมีการจัดประเพณีนี้สืบต่อกันมายาวนาน ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่แน่นแฟ้นระหว่างชาวนาไทย ควายไทย และอาชีพเกษตรกรรมทำนาของไทย

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประเพณีเก่าแก่ ที่มีมานานตั้งแต่อดีตกาล 

ประเพณีวิ่งควายมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเป็น 1 วันก่อนออกพรรษา แต่กำหนดการจะช้าเร็วบ้าง แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ มีงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อ ชาวไร่ ชาวสวน นำสินค้ามาจำหน่ายจะเป็นกล้วย มะพร้าว ใบตอง ข้าวเหนียว ฯลฯ บรรทุกใส่เกวียนมาจำหน่ายให้ชาวบ้าน ร้านค้า นำไปทำข้าวต้มหาง ใส่บาตรหรือบรรทุกสินค้าอื่นๆ มาก็ จะพักควายไว้ในบริเวณวัด ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และเมื่อจับจ่ายสินค้า ซื้อหาสิ่งของที่ต้องประสงค์เสร็จสิ้นแล้ว ก็ถือโอกาสที่นานทีจะได้พบปะกัน จูงควายเข้าตลาดจนกลายมาเป็นวิ่งควายรอบๆ ตลาดด้วยความ สนุกสนาน ในปีต่อๆ มาก็เพิ่มการตกแต่งควายสวยงาม เป็นการทำขวัญควายไปในตัว เช่น ทำถุงสวมเขาควาย ตกแต่งเชือกจูงควาย ปฏักเฆี่ยนควาย ทำฉบับหน้าควาย และเพิ่มการตกแต่งคนขี่ควาย ให้สวยงามวิจิตรพิสดาร ไปตามความคิดเห็นของตน จนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย ที่จะต้องแต่งตัวทั้งคนและควาย ในระยะหลังแม้ไม่ได้นำเกวียนบรรทุกสินค้าเข้าสู่ตลาด แต่เมื่อถึงเทศกาลวิ่งควายก็ยังคงนำควายเข้ามาวิ่งเป็นประจำ ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีที่เดียวในไทยและที่เดียวในโลก และนำควายมาพักตามลานวัดต่างๆ ลานวัดเกือบทุกวัดจึงเป็นลานสำหรับพักควาย ในเทศกาลวิ่งควาย และความเชื่ออีกอย่างของชาวบ้านที่นี่นั้น หากคนใดเกิดเจ็บป่วย เจ้าของควายจะบนบานศาลกล่าวด้วยการนำควายมาวิ่งแก้บน จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังรู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอีกต่างหาก นับว่าเป็นประเพณีอันดีงามของประเทศไทยเราเลยทีเดียว  ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีจัดขึ้นทุกๆ ปี  ซึ่งภายในงานนั้นก็จะประกอบด้วย กิจกรรมหลากหลาย ให้เหล่านักท่องเที่ยว นักเดินทางทุกท่านได้เข้ามาร่วมสนุกกัน  ไม่ว่าจะเป็น การแข่งวิ่งควายในรุ่นต่าง ๆ การประกวดสุขภาพควาย การประกวดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ การแข่งขันตกแต่งควายประเภทสวยงาม รวมทั้งมีการจำหน่ายสินค้า OTOP และอาหารพื้นเมืองอีกด้วย นับว่าเป็นประเพณีที่ให้ความสนุกสนามรื่นเริ่ง สร้างความปรองดองแก่ชาวบ้านอีกด้วย อีกทั้งยังเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี ที่จะทำให้ทุกท่านนั้นสนุก และได้รับความเพลิดเพลินใจไปด้วยกัน  เราขอการันตีเลยว่า เป็นประเพณีมีที่เดียวในไทยที่ท่านพลาดไม่ได้เลย และประเพณีวิ่งควายนั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย ประเพณีนี้ถือได้ว่าเป็นของชาวไร่ชาวสวน หรือเกษตรกรอย่างแท้จริง ในการที่จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์ ประกวดประชันการบำรุงเลี้ยงควายของกันและกัน ควายของใครสมบูรณ์กว่ากัน จึงถือเป็นประเพณีของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ถ้าหากให้พูดถึงความสำคัญของประเพณีวิ่งควายนั้น ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีจัดขึ้นทุกๆ ปี  จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศและในส่วนของพิธีกรรมนั้น  ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี

ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากที่ทำงานมาหนัก ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรีมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควาย ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าต่อชาวนาด้วย นอกจากนี้ก็ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มาพบปะสังสรรค์กันด้วย เพราะฉะนั้นกิจกรรมนี้ถือว่าห้ามพลาด

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีสำคัญของชาวแสนสุข

ปราสาทสัจธรรมชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรี

Categories
ประเพณี

ประเพณีสวดคฤหัสถ์ การแสดงพื้นบ้านของปราจีนบุรี

ประเพณีสวดคฤหัสถ์

ประเพณีสุดเก่าแก่ของจังหวัดปราจีนบุรีมีหลากหลายประเพณีด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ สวดพระมาลัย หรือที่เรียกว่า ประเพณีสวดคฤหัสถ์ พูดกันง่ายๆ คือเป็นการสอนเรื่องศีลธรรมในงานศพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง นรก สวรรค์ ความดี ความชั่ว เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงการทำความดีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ประเพณีสวดคฤหัสถ์ช่วยปลุกจิตสำนึก เนื่องจากประเพณีนี้เป็นการสอนเรื่องศีลธรรม นรก สวรรค์ ในงานศพประเพณีสวดคฤหัสถ์ การแสดงหน้าศพ โดยสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว มนุษย์ทุกคนย่อมกลัวความตายดัวยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นบรรยากาศของงานศพจะทำให้ผู้คนรู้สึกเกรงกลัว กลัวบาปกรรมมากกว่าการสอนโดยทั่วไป 

ประเพณีสวดคฤหัสถ์ การสอนเกี่ยวกับหลักธรรมหน้าศพ

ประเพณีสวดคฤหัสถ์

การสวดพระมาลัย หรือประเพณีสวดคฤหัสถ์ มีมาแต่ยุคโบราณ การสวดพระมาลัยคือการอ่านหนังสือพระมาลัยด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ประเพณีสวดคฤหัสถ์ การแสดงหน้าศพ จะทำหลังจากที่เสร็จพิธีสงฆ์ในรอบกลางคืนเรียบร้อยแล้ว ประเพณีโบราณนี้มุ่งเน้นในการสอนศีลธรรม ตักเตือนและอบรมจิตใจของผู้ฟัง กล่าวถึงความดี ความชั่ว การตกนรก ขึ้นสวรรค์ เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข การเชื่อว่าธรรมะจะชนะอธรรมได้ นอกจากนี้ ประเพณีสวดคฤหัสถ์ช่วยให้บรรยากาศของงานศพไม่เศร้าจนเกินไป อีกด้วย เนื่องจากการสวดคฤหัสถ์นี้จะต้องมีผู้คนหลายคนที่มานั่งฟัง อยู่รวมกัน ช่วยกันเฝ้าศพ จึงทำให้งานศพไม่เงียบเหงาและโศกเศร้าจนเกินไป ในอดีตผู้สวดคฤหัสถ์จะต้องมีความรู้เรื่องดนตรี อย่างเพลงไทยเดิม เพราะการสวดคฤหัสถ์จะใช้ดนตรีปาก หรือใช้ปากทำเสียงแทนเครื่องดนตรี ดังนั้นผู้สวดจะต้องมีเทคนิคหรือทักษะความรู้แตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่ง ต้องสอดรีบส่งกัน จึงจะทำให้การสวดนั้นเกิดความลงตัวและเพิ่มอรรถรสในการฟังด้วย แต่ต่อมามีการพัฒนา โดยการใช้ดนตรีมาช่วยเพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบการสวดจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละงาน อาจจะเป็นการใช้ทำนองสนุกสนานในการสวด แทรกธรรมะเข้าไปในมหรศพ การใช้ภาษาบาลีเดิมๆ หรืออาจจะเป็นการเทศน์แบบด่าให้สำนึก แต่ส่วนมากในช่วงดึกจะเป็นการสวดที่ถือว่ามีสีสันและความสนุกสนานมากที่สุด เนื่องจากช่วงดึกหลายคนจะรู้สึกง่วง ผู้สวดจึงนำการขับลำนำ ใช้ความตลกโปกฮา หรือใช้วิธีการหยาบโลนมาผสมผสานในการสวด เพื่อทำให้ผู้ฟังไม่ง่วงนอนและเกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ที่ได้เรียกว่าการสวดมาลัยเป็นเพราะบทสวดที่ใช้คือ บทสวดที่มากจากหนังสือมาลัย หรือที่เรียกกันว่า พระมาลัยคำสวด ที่มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย เป็นกวีนิพนธ์ร้อยกรอง ตัวหนังสือที่ใช้บันทึกเป็นอักษรขอมไทย ผสมขอมบาลี และมีภาพประกอบที่งดงาม นอกจากการสวดคฤหัสถ์แล้วยังมีการนำเพลงปรมัตถ์มาใช้เปิดในงานศพอีกด้วย เพลงปรมัตถ์ที่ว่าคือเพลงที่พูดถึงความอนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ยังมีโอกาสมีชีวิตอยู่ไม่เหมือนกับศพที่นอนอยู่ในโลง ที่ไม่มีโอกาสกลับมาแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้แล้ว ได้ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท กระทำแต่ความดีละเว้นความเชื่อ เรียกได้ว่า ประเพณีสวดคฤหัสถ์ช่วยปลุกจิตสำนึก ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ดีมาก เนื่องจากบรรยากาศของงานศพจะทำให้เรามาย้อนมองชีวิตของตัวเอง แล้วเกิดความกลัวชีวิตหลังความตายที่ไม่สามารถแก้ไขสิ่งใดๆ ได้แล้ว การได้ฟังสิ่งที่ช่วยพยุงจิตใจอย่างการสวดคฤหัสถ์นี้ ถือเป็นการทำให้เราฉุกคิดว่าการทำความดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่การที่จะไม่ทุกข์ทรมานกับชีวิตหลังความตาย ยังเป็นการที่ทำให้ผู้คนจดจำสิ่งดีๆ ที่เราได้กระทำในตอนที่เรายังมีชีวิตอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป ประเพณีสวดคฤหัสถ์ก็ไม่ได้มีการสวดเฉพาะในงานศพแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ได้มีการนำมาแสดงเป็นการละเล่นในโอกาสต่างๆ ด้วย เช่น งานวัด เป็นต้น 

ประเพณีสวดคฤหัสถ์ประเพณีอันงดงามที่เลือนหาย

ปัจจุบันประเพณีสวดคฤหัสถ์ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว เนื่องจากผู้คนสมัยใหม่ไม่นิยมนำการสวดมาลัยมาเล่นกันในงาน ส่วนมากจะนำความประสงค์ของผู้ตายมาใช้ในงานมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การเปิดเพลงที่ผู้ตายชอบฟังตอนยังมีชีวิตอยู่ การนำการแสดงสมัยใหม่มาแสดงในงานศพ ตั้งแต่การรำ การเต้นแบบสมัยใหม่ หรือการใส่เสื้อสีสันสดใส ที่ไม่ใช่สีดำ เพื่อไม่ให้งานศพมีความโศกเศร้ามากเกินไป แต่การสวดคฤหัสถ์ก็กลายมาเป็นจำอวด ละครย่อย และเป็นตลกในปัจจุบัน เพียงแต่ไม่ได้เล่นตามงานแล้ว แต่เป็นการนำความตลกโปกฮามาฉายในจอแก้ว ประเพณีสวดคฤหัสถ์ถือเป็นประเพณีสุดเก่าแก่ที่มีความงดงาม แต่ปัจจุบันถูกลืมไปแล้ว เนื่องจากทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามวัฏจักร อะไรที่เก่าแก่ก็ต้องถูกลืม และเลือนหายไปตามกาลเวลา เมื่อมีของใหม่มาของเก่าก็ต้องไป เป็นธรรมดาของโลกใบนี้ ไม่มีอะไรเที่ยงธรรมหรือคงอยู่ไปตลอดกาล เหมือนดังคำสอนหรือบทสวดคฤหัสถ์ ที่สอนว่าทุกอย่างไม่เที่ยงแท้ หากยังมีชีวิตอยู่ให้กระทำความดีให้มากๆ

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีสำคัญของชาวแสนสุข

สถานที่ขอพรเมืองพัทยา ชลบุรี เมืองสุดครึกครื้นที่เต็มไปด้วยสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

Categories
ประเพณี

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีสำคัญของชาวแสนสุข

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล

วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินของประเทศไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีการจัดงานหรือประเพณีที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ในจังหวัดชลบุรีก็มีประเพณีอันงดงามที่จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงขึ้นปีใหม่ไทย ได้แก่ ประเพณีก่อพระทรายวันไหล หรืองานทำบุญวันไหล ที่เรียกกันมาแต่โบราณ ประเพณีก่อพระทรายวันไหลเป็นประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน เป็นประเพณีที่ชาวบ้านในพื้นที่จะต้องมารวมตัวกันเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยการนิมนต์พระทุกวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์ และมีพิธีหรือการละเล่นอย่างสนุกสนานในแบบฉบับชาวบ้าน

ประเพณีก่อพระทรายวันไหล ประเพณีที่รวบรวมการละเล่นและกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย

เนื่องจากประเพณีก่อพระทรายวันไหล เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงวันปีใหม่ไทย เป็รเหมือนการเมต้นสิ่งใหม่ๆ หลังจากที่ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ มาทั้งปี ดังนั้น ประเพณีก่อพระทรายวันไหลจึงเป็นประเพณีที่รวบรวมความสนุกเอาไว้ เพื่อให้ประชาชนเริ่มต้นปีด้วยสิ่งดีๆ เริ่มต้นปีด้วยความสนุกสนาน เป็นงานที่ทางเทศบาลเมืองแสนสุข จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หลังจากงานเทศกาลสงกรานต์ผ่านพ้นไป ก็จะเริ่มต้นความสนุกกันต่อด้วยประเพณีนี้เลย  โดยจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 16-17 เมษายนของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการละเล่นพื้นบ้าน อันดีงามของชาวแสนสุขและชาวบางแสน ให้คงอยู่ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายตลอดไป ประเพณีก่อพระทรายวันไหลจัดขึ้น ณ บริเวณชายหาดบางแสน กิจกรรมในงานประกอบด้วย การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย, การทำบุญตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, การละเล่นพื้นบ้าน, รดน้ำสงกรานต์ ตลอดจนการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่นการแข่งขันชักเย่อ, การแข่งขันกินข้าวหลาม, การแข่งขันแกะหอยนางรม, การแข่งขันวิ่งเปี้ยว และการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง เนื่องจากเป็นงานวันไหล คนไทยในสมัยก่อนนิยมสร้างพระเจดีย์ไว้ภายในวัด สร้างขึ้นเพื่อให้พระเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชุมชนนั้นๆ วัดทุกวัดของไทยจึงมีพระเจดีย์อยู่ภานในวัดอย่างน้อย 1 องค์ หรือบางวัดอาจมีมากกว่านั้น โดยพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นมีทั้งขนาดองค์ใหญ่ ขนาดองค์กลาง และขนาดองค์เล็ก โดยพระเจดีย์องค์ที่ใหญ่ที่สุด นิยมสร้างไว้หลังพระอุโบสถหรือพระวิหารของวัดเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อพุทธศาสนิกชนได้ทำการนมัสการพระประธานในอุโบสถแล้วก็เท่ากับได้กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุไปด้วย ประเพณีก่อพระทรายวันไหลประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน รายละเอียดของประเพณีคือการที่ทุกคนในชุมชนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันขนทราย ช่วยกันหอบกองทรายกันเข้ามาภายในวัด เมื่อได้ทรายกองสูงตามต้องการแล้วก็จะเอาน้ำมารดกองทรายและเอาไม้มาปั้น กลึงให้เกิดเป็นรูปทรงเจดีย์ ทรงตามที่ต้องการ จากนั้นก็จะทำการปักธงต่างๆ บนยอดของกองทราย ช่วยกันตกแต่งให้กองทรายมีความวิจิตรงดงามมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องใช้ความตั้งใจ ความประณีต ความละเอียดลออ ไม่ทำแบบขอไปที เนื่องจากการก่อเจดีย์ทรายก็ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง โดยรูปแบบของเจดีย์ทราย จะบ่งบอก บอกเล่าหรือสื่อความหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธศาสนาและมักจะมีลักษณะรูปทรงเป็น พระสถูป เจดีย์ พระปรางค์ พระพุทธรูป หรือสิ่งของอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แล้วประดับตกแต่งด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดอกไม้ เปลือกหอยและธงทิวต่างๆ ประกอบด้วยผ้าป่า เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยในแต่ละปีจะมีการแข่งขันความสวยงามของพระเจดีย์ทรายของแต่ละชุมชนด้วย โดยชุมชนไหนใคร่อยากจะส่งเข้าประกวดก็สามารถร่วมแรงร่วมใจกันทำจนสุดฝีมือ และเมื่อได้รางวัลก็จะเป็นรางวัลของส่วนร่วม และถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนนั้นๆ  ชาวบ้านจะช่วยกันก่อจนกองทรายครบ 84,000 กอง เท่าจำนวนของพระธรรมขันธ์ พระเจดีย์ทรายแต่ละกองขะมีทงธิว ลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยทุกกองจะมีผ้าป่าอันสวยงามตกแต่งไว้อยู่ด้วย จากนั้นพระสงค์ก็จะพิจารณาบังสุกุล ทำบุญเลี้ยงพระ เมื่อเสร็จพิธีต่างๆ แล้วก็จะเลี้ยงคนที่ไปร่วมงาน ทางวัดก็จะได้ทรายไว้ สำหรับสร้างเสนาสนะ ปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัดต่อไป 

ประเพณีก่อพระทรายวันไหลเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรอนุรักษ์

ปัจจุบันเกิดความสะดวกขึ้นมากมายในการขนทรายเบ้าวัด ด้วยสภาพของบ้านเมืองที่เจริญขึ้นทุกวัน ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้น ทำให้ประเพณีอันงดงามค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลาหลายประเพณี หนึ่งในนั้นก็คือประเพณีก่อพระทรายวันไหล จากการบนทราย หาบทรายทีละน้อยเข้าวัดเมื่อก่อน ปัจจุบันก็เป็นการซื้อทรายทีเป็นคันรถ ทำให้งานก่อพระทรายเปลี่ยนสภาพไป ต่างจากเดิมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ประเพณีก่อพระทรายวันไหลประเพณีสำคัญที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน ก็คงยังได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยคนบางแสน ยังคงส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การละเล่นพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของบางแสนไว้ให้คงอยู่เรื่อยไป โดยนำเสนอให้คนได้รู้จักในชื่อ งานก่อพระทรายวันไหลบางแสน

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่า 100 ปี


คาเฟ่ริมทะเลบางเสร่ ร้านกาแฟริมทะเลใกล้กรุงเทพฯ

Categories
ประเพณี

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่า 100 ปี

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ฉะเชิงเทรา จังหวัดที่งดงามไปด้วยวิถีชีวิตวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่าร้อยปี โดยในปี 65 ทีผ่านมานี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปี ที่ 132 แล้ว โดยวัตถุประสงค์ของประเพณีอันงดงามนี้คือ เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยกิจกรรมภายในงานจัดขึ้นอย่างหลากหลาย เปิดให้คนเข้าชมความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธรทางน้ำ อีกทั้งร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธร โดยจุดประสงค์หลัก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิต ให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญ รอดพ้นจากภัยพาน

ประเพณี งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร งานบุญสุดยิ่งใหญ่ของฉะเชิงเทรา ที่จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่ชาวฉะเชิงเทราให้ความสำคัญ และแต่ละปีประชาชนจะตั้งหน้าตั้งตารอให้ประเพณีอันยิ่งใหญ่อลังการนี้มาถึง เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ดี เพราะในอดีตมีเรื่องเล่าว่า ในปี 2434 ได้เกิดโรคระเบิดขึ้น ผู้คนลมป่วยเป็นจำนวนมาก ข้าวยากหมากแพง ทำให้ทุกคนเผชิญกับความลำบากยากเข็ญ ชาวบ้านจึงพากันไปบนบานศาลกล่าวต่อ องค์หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เคารพบูชา การบนบานที่ทำกันบ่อย ได้แก่ การปิดทองหลังพระ การแก้บนด้วยไข่หรือสิ่งต่างๆ ไปจนถึงการบนบานด้วยการจัดแสดงมโหรสพ เช่น ฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือที่เป็นที่เลื่องลือ นายทรัพย์ชาวง้านในละแวกนั้นเป็นโรคฝีดาษ ซึ่งถือเป็นโรคระบาดในช่วงนั้น นายทรัพย์จึงบนบานต่อหลวงพ่อวา ถ้าหายจากโรคฝีดาษจะจัดการฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือให้เป็นที่สนุกสนาน ระหว่างการฉลอง จู่ๆ ก็เกิดความอัศจรรย์ เกิดฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ โรคภัยไข้เจ็บค่อยๆ จางหายไปตามสายฝน หลังจากการฉลองครั้งนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บนขึ้นทุกปีแต่นั้นมา ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยจัดขึ้นตามวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ 

งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวมทั้งสิ้น 3 วัน

งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวมทั้งสิ้น 5 วัน

งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวมทั้งสิ้น 5 วัน 

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

โดยกิจกรรมสำคัญภายในงานคือขบวนแห่หลวงพ่อโสธร ทั้งทางบกและทางน้ำ โดย ในวันขึ้น 14 ค่ำจะมีการแห่หลวงพ่อทางบก วันขึ้น 15 ค่ำ มีการแห่ทางน้ำ และวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย จะมีการจัดการเวียนเทียนและสรงน้ำพระ และครั้งสุดท้ายของปีจะจัดขึ้นในงานเทศกาลตรุษจีน จัดตามจันทรคติของจีน คือ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ปีใหม่ (ชิวอิด) ไปจนถึงวันขึ้น 5 ค่ำ (ชิวโหงว) รวมทั้งสิ้น 5 วัน 5 คืน ถ้าเทียบเป็นเดือนไทยก็คือ ราวเดือนยี่หรือเดือนสาม ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จะอัญเชิญแห่หลวงพ่อโสธรผ่าน 14 ท่าน้ำ ถือเป็นงานบุญสุดยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา เส้นทางขบวนแห่องค์หลวงพ่อโสธรทางบกแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ 


ช่วงที่ 1 จัดขึ้นในช่วงเช้า จัดขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธรองค์จำลอง ให้ประชาชนได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์และรับสายสิญจน์ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ไม่เจ็บไม่ป่วย พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ตามด้วยรถประดับตกแต่ง 
ช่วงที่ 2 จัดขึ้นในช่วงบ่าย เคลื่อนขบวนวงโยธวาทิตการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการแสดงจากภาคเอกชน ปิดท้ายด้วยขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธร สิ้นสุดบริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโสธรผ่าน ทั้งชาวบ้านและองค์กรต่างร่วมกันตั้งโต๊ะบูชาถวายเป็นพุทธบูชา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและวัน นักขัตฤกษ์ จะมีผู้เข้านมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป 

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในไม่กี่ประเพณีที่ยังจัดขึ้นจนถึงปัจจุบัน

หลายๆ ประเพณีที่มีความงดงามในอดีต ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ด้วยความที่ในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ขึ้นเยอะกว่าในอดีต ทำให้ประเพณีอีนดีงามเลือนหายไป เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์และใส่ใจจากคนรุ่นใหม่ ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีสุดเก่าแก่ที่ยังได้รับความนิยมและจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธา ต่อหลวงพ่อพุทธโสธร ทำให้ประเพณีนี้ยังคงจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสืบสาน และอนุรักษ์และเผยแพร่ให้ประชาชนได้รำลึกถึงและระลึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อพุทธโสธร และเป็นการสืบสานงานบุญสุดอลังการประจำจังหวัดฉะเชิงเทราให้คงอยู่ต่อไป

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน

ที่พักหลักร้อย ระยอง ที่พักสำหรับคนมีงบจำกัด