Categories
ประเพณี

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่า 100 ปี

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ฉะเชิงเทรา จังหวัดที่งดงามไปด้วยวิถีชีวิตวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่าร้อยปี โดยในปี 65 ทีผ่านมานี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปี ที่ 132 แล้ว โดยวัตถุประสงค์ของประเพณีอันงดงามนี้คือ เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยกิจกรรมภายในงานจัดขึ้นอย่างหลากหลาย เปิดให้คนเข้าชมความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธรทางน้ำ อีกทั้งร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธร โดยจุดประสงค์หลัก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นศิริมงคลให้แก่ชีวิต ให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญ รอดพ้นจากภัยพาน

ประเพณี งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร งานบุญสุดยิ่งใหญ่ของฉะเชิงเทรา ที่จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ประเพณีที่ชาวฉะเชิงเทราให้ความสำคัญ และแต่ละปีประชาชนจะตั้งหน้าตั้งตารอให้ประเพณีอันยิ่งใหญ่อลังการนี้มาถึง เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ดี เพราะในอดีตมีเรื่องเล่าว่า ในปี 2434 ได้เกิดโรคระเบิดขึ้น ผู้คนลมป่วยเป็นจำนวนมาก ข้าวยากหมากแพง ทำให้ทุกคนเผชิญกับความลำบากยากเข็ญ ชาวบ้านจึงพากันไปบนบานศาลกล่าวต่อ องค์หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เคารพบูชา การบนบานที่ทำกันบ่อย ได้แก่ การปิดทองหลังพระ การแก้บนด้วยไข่หรือสิ่งต่างๆ ไปจนถึงการบนบานด้วยการจัดแสดงมโหรสพ เช่น ฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือที่เป็นที่เลื่องลือ นายทรัพย์ชาวง้านในละแวกนั้นเป็นโรคฝีดาษ ซึ่งถือเป็นโรคระบาดในช่วงนั้น นายทรัพย์จึงบนบานต่อหลวงพ่อวา ถ้าหายจากโรคฝีดาษจะจัดการฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือให้เป็นที่สนุกสนาน ระหว่างการฉลอง จู่ๆ ก็เกิดความอัศจรรย์ เกิดฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ โรคภัยไข้เจ็บค่อยๆ จางหายไปตามสายฝน หลังจากการฉลองครั้งนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บนขึ้นทุกปีแต่นั้นมา ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยจัดขึ้นตามวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ 

งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวมทั้งสิ้น 3 วัน

งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวมทั้งสิ้น 5 วัน

งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวมทั้งสิ้น 5 วัน 

งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

โดยกิจกรรมสำคัญภายในงานคือขบวนแห่หลวงพ่อโสธร ทั้งทางบกและทางน้ำ โดย ในวันขึ้น 14 ค่ำจะมีการแห่หลวงพ่อทางบก วันขึ้น 15 ค่ำ มีการแห่ทางน้ำ และวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย จะมีการจัดการเวียนเทียนและสรงน้ำพระ และครั้งสุดท้ายของปีจะจัดขึ้นในงานเทศกาลตรุษจีน จัดตามจันทรคติของจีน คือ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ปีใหม่ (ชิวอิด) ไปจนถึงวันขึ้น 5 ค่ำ (ชิวโหงว) รวมทั้งสิ้น 5 วัน 5 คืน ถ้าเทียบเป็นเดือนไทยก็คือ ราวเดือนยี่หรือเดือนสาม ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร จะอัญเชิญแห่หลวงพ่อโสธรผ่าน 14 ท่าน้ำ ถือเป็นงานบุญสุดยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา เส้นทางขบวนแห่องค์หลวงพ่อโสธรทางบกแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ 


ช่วงที่ 1 จัดขึ้นในช่วงเช้า จัดขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธรองค์จำลอง ให้ประชาชนได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์และรับสายสิญจน์ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ไม่เจ็บไม่ป่วย พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ตามด้วยรถประดับตกแต่ง 
ช่วงที่ 2 จัดขึ้นในช่วงบ่าย เคลื่อนขบวนวงโยธวาทิตการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการแสดงจากภาคเอกชน ปิดท้ายด้วยขบวนรถแห่หลวงพ่อโสธร สิ้นสุดบริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยตลอดเส้นทางที่ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโสธรผ่าน ทั้งชาวบ้านและองค์กรต่างร่วมกันตั้งโต๊ะบูชาถวายเป็นพุทธบูชา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและวัน นักขัตฤกษ์ จะมีผู้เข้านมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป 

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในไม่กี่ประเพณีที่ยังจัดขึ้นจนถึงปัจจุบัน

หลายๆ ประเพณีที่มีความงดงามในอดีต ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ด้วยความที่ในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ขึ้นเยอะกว่าในอดีต ทำให้ประเพณีอีนดีงามเลือนหายไป เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์และใส่ใจจากคนรุ่นใหม่ ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร หนึ่งในประเพณีสุดเก่าแก่ที่ยังได้รับความนิยมและจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธา ต่อหลวงพ่อพุทธโสธร ทำให้ประเพณีนี้ยังคงจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสืบสาน และอนุรักษ์และเผยแพร่ให้ประชาชนได้รำลึกถึงและระลึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อพุทธโสธร และเป็นการสืบสานงานบุญสุดอลังการประจำจังหวัดฉะเชิงเทราให้คงอยู่ต่อไป

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน

ที่พักหลักร้อย ระยอง ที่พักสำหรับคนมีงบจำกัด

Categories
ประเพณี

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน

ประเพณีแห่ธงตะขาบ

ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับหัตถกรรมพื้นบ้าน นั่นคือ การทำธงกระดาษ ที่เป็นภูมิปัญญาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ โดยคนที่จะทำธงกระดาษได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทราบรายละเอียดของธงเป็นอย่างดี ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีสำคัญของชาวรามัญ เพราะเป็นประเพณีที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวรามัญ เป็นประเพณีที่นอกจากจะนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการส่งต่อภูมิปัญญาอันเก่าแก่ร่วมและร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงามของสังคม ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยาวนาน สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวรามัญ

ประเพณีแห่ธงตะขาบ

จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีคนหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ทั้งชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายมอญ ประเพณีอันงดงามที่แสดงถึงความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นประเพณีสำคัญของชาวรามัญ เป็นวัฒนธรรมของชาวรามัญที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณวัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง ประเพณีแห่ธงตะขาบถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวรามัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจาก แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างการทำธงกระดาษ ประเพณีแห่ธงตะขาบงานหัตถกรรมที่แสดงถึงความละเอียดอ่อน โดยผู้ทำธงกระดาษจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความใจและได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยตรง จากรุ่นสู่รุ่น โดยรายละเอียดของการพับจะมีตัวอย่างดังนี้ ตัวตะขาบจะมีด้วยกันทั้งหมด 9 ราวนม นมละ 14 ช่วง และนมตะขาบจะอยู่เป็นนมคู่ หากเป็นตะขาบตัวผู้จะต้องมี 2 ปาก และหากเป็นตะขาบตัวเมียจะมีเพียงปากเดียวเท่านั้น เมื่อทำตัวตะขาบเสร็จเรียบร้อยแล้วแล้วผู้ทำก็จะนำแป้ง หวี กระจก ผม 1 ปอย และผ้าเช็ดหน้าไปแขวนไว้ที่ปากตะขาบ ธงตะขาบแต่เดิมใช้เป็นธงกระดาษ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าในการทำแทน และในปัจจุบันจะใช้เชือกเส้นขอบผูกขวาง คั่นด้วยซี่ไม้ไผ่ จากนั้นใช้เสื่อผืนยาวปิดทับตรงส่วนของลำตัว ด้านของปลายไม้ที่ยื่นออกทั้งสองข้างจะประดับด้วยช้อนผูกห้อยแทนขาทุกซี่ โดยทำสลับกับการผูกพู่กระดาษเพื่อเพิ่มสีสันและความสวยงาม ส่วนหัวและหางสานจะผูกด้วยโครงไม้ปิดกระดาษสี ประเพณีแห่ธงตะขาบจัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยของทุกปี ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน ปัจจุบันประเพณีแห่ธงตะขาบ นิยมแห่ทางบกมากกว่าทางเรือ ไม่เหมือนแต่ก่อนที่การคมนาคมยังไม่ทั่วถึง ก็จะนิยมใช้เรือในการแห่ทางน้ำ โดยส่วนมากในขบวนจะใช้กำลังคนในการเดินขบวนและใช้ยาพาหนะเพียงไม่กี่คันในการแห่ ผู้คนที่ร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบพื้นเมืองอย่างสวยงาม ทั้งชายและหญิง ต่างคนก็จะถือธงตะขาบกันอย่างละหนึ่งธง และเดินรวมกันไปยังวัด เมื่อขบวนถึงวัดเรียบร้อย ชาวบ้านก็จะนำธงตะขาบที่ทำการแห่มานั้นไปผูกไว้กับต้นเสาในศาลาวัดเพิ่มเริ่มทำพิธี จากนั้นเมื่อถึงเวลาเริ่มพิธี พระสงฆ์ก็จะนำสายสิญจน์มาพันไว้รอบธง ลำดับต่อไปก็จะเป็นพิธีถวายธง โดยจะเริ่มขึ้นด้วยการกล่าวบทนมัสการคณพระศรีรัตนตรัย ตามด้วยการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ตามลำดับ หลังจากพิธีถวายธงเสร็จสิ้นลงแล้วก็จะถึงคิวของชาวบ้านที่จะต้องขึ้นไปแก้ธงตะขาบ จากนั้นนำธงตะขาบไปชักบนเสาหงส์ ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นพิธีที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ด้วยประเพณีถวายธงตะขาบนี้เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ จึงมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่า ทุกครั้งที่มีลมพัดแรงจนธงตะขาบส่าย เป็นการบอกรับบุญกุศลของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่สื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์ ถือเป็นการจบพิธีกรรมที่สมบูรณ์และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ประเพณีแห่ธงตะขาบพิธีกรรมที่มีศาสนาเป็นตัวประสานความเชื่อ

เชื่อว่าทุกสังคมมีคความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ แตกต่างกันออกไป เพราะในแต่ละพื้นที่มีผู้คนอยู่หลากหลาย ทำให้ต้องมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่ในแต่ละสังคมจะมีตัวเชื่อเพื่อจะให้ความแตกต่างเกิดเป็นความเข้าใจ อย่างประเพณีแห่ธงตะขาบของชาวรามัญ พื้นที่บางปะกง ก็มีศาสนาเป็นตัวเชื่อประสานความเชื่อ ความศรัทธา เป็นกุศโลบายที่แสดงออกถึงความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย เป็นเหมือนสิ่งที่ช่วยเตือนสติให้แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นพิธีที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ โดยการนำภูมิปัญญาที่สืบสานส่งต่อมาจากคนรุ่นก่อนมาเป็นประเพณี และใช้เป็นพิธีในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ที่สำคัญคือเป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เป็นการรวบรวมของคนภายในชุมชนมาร่วมแรงร่วมใจ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานประเพณีที่สำคัญของชุมชนออกมาอย่างบรรลุเป้าหมาย และดีที่สุด

เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของชลบุรีกว่า 20 ปี

4 จุดเช็คอินระยอง ห้ามพลาด แหล่งเช็คอินต้อนรับปี 2566

Categories
ประเพณี

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุ

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่มีความสืบเนื่องมาจากความเชื่อหนึ่งในสมัยพุทธกาล ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เกิดจากความเชื่อความศรัทธา นั่นคือความเชื่อที่ว่า ในสมัยก่อนตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีบริวารและฝูงช้างป่า ลิงป่าคอยอุปัฏฐาก โดยสัตว์พวกนี้ต่างนำอ้อยและน้ำผึ้งมาคอยถวายแก่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าอ้อยและน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต ต่อมาพระองค์จึงทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคได้ หลังจากนั้นน้ำผึ้งก็ถูกใช้เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ ใช้ในการรักษาโรค หรือใช้เป็นยาในสมัยนั้นนั่นเอง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรที่ไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ก่อนที่จังหวัดฉะเชิงเทราจะมีประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง นี้ มีที่มาที่ไปคือ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญ แต่เดิมเมื่อสมัยพุทธกาลนั้น ชาวมอญตั้งรกรากและอาศัยอยู่ทางตอนล่างของประเทศพม่า จนกระทั่งวันเวลาผันเปลี่ยนไป ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เกิดการขยายอิทธิพลของชนชาติพม่า ทำให้ชาวมอญต้องหาที่อยู่ใหม่เพื่อความอยู่รอด ทำให้ต้องอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ดินแดนกลางของไทย การมาตั้งถิ่นฐานในครั้งนี้จึงเป็นที่มาของการนำวัฒนธรรม ศิลปะ ความเชื่อความศรัทธา จารีตประเพณีของชาวมอญมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยด้วย จึงเป็นที่มาของประเพณีอันงดงามนี้ โดยทั่วไปแล้วพุทธศาสนิกชนมักนำข้าวสารอาหารแห้งมาถวายแก่พระภิกษุสามเณรในการตักบาตร แต่ที่ฉะเชิงเทราจะมีการตักบาตรที่แปลกและมีเอกลักษณ์ต่างออกไปจากที่อื่นคือการตักบาตรน้ำผึ้ง โดย ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งจะขัดขึ้นในช่วงกลางเดือน 9 ของทุกปี โดยจะจัดขึ้น ณ ศาลาวัด เป็นประเพณีถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งถือเป็นประเพณีของชาวรามัญ ณ วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเกิดจากความเชื่อความศรัทธา โดยประเพณีนี้ได้รับอิทธิพลจากชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย ความเชื่อนี้สืบเนื่องมาจากสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคเป็นยาได้ มีเรื่องเล่าถึงที่มาของการใช้น้ำผึ้งเป็นยารักษาโรคในสมัยพุทธกาลคือ ในสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกจากการบำเพ็ญทุกขกิริยาทั้งสิ้นแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระพลานามัยของพระองค์ก็ยังไม่ฟื้นคืนดังเดิม ยังคงมีโรคภัยไข้เจ็บมาแผ้วพานอยู่เรื่อยๆ  จนกระทั่งนาสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสที่ทำการหุงด้วยน้ำนมเจือน้ำผึ้ง มาถวายแก่พระองค์ หลังจากนั้นก็เกิดสิ่งน่าเหลือเชื่อขึ้น เพราะพระวรกายของเจ้าชายสิทธัตถะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติอย่างรวดเร็ว มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงในเวลาอันสั้น จนมีพระปรีชาญานตรัสรู้ได้ในที่สุด และอีกหนึ่งเหตุการณ์คือ ในช่วงเดือน 10 จะเป็นฤดูที่มีฝนตกชุก พระภิกษุที่ออกไปบิณฑบาตร่างกายชุ่มไปด้วยน้ำฝน อีกทั้งต้องเหยียบย่ำโคลนตม จนเกิดเหตุการณ์ที่พระภิกษุอาพาธพร้อมกันหลายรูป ทั้งมีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน ร่างกายซูบผอม มีอาการซึม เศ้ราหมอง พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งมาบริโภคได้  โดยถือเป็นยารักษาโรคและอาหารที่ใช้บำรุงร่างกายด้วย หลังจากนั้นมาการถวายน้ำผึ้งก่อเป็นที่นิยมของชาวบ้านทั่วไป จนเกิดเป็นประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งเป็นการถวายเภสัชทาน บำรุงสุขภาพพระภิกษุ และยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมา โดยพิธีกรรมเริ่มต้นขึ้นในก่อนวันที่จะมีประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งคือชาวบ้านจะช่วยทำข้าวต้มมัดจำนวนมากๆ เพื่อนำมาถวายพร้อมกับน้ำผึ้ง เมื่อถึงวันงานชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองก็ต่างพากันล่องเรือกันมายังวัดพิมพาวาส (ใต้) ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ชาวบ้านที่หลั่งไหลกันเข้ามาร่วมพิธีก็จะนำน้ำผึ้งใส่บาตรพร้อมกันนั้นยังใส่น้ำตาลในจานที่วางคู่กับบาตรด้วย โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่นำข้าวสารอาหารแห้งและของคาวหวานอื่นๆ มาถวาย ก็จะนำอาหารที่นอกเนือจากน้ำผึ้งไปใส่ภาชนะที่วางไว้อีกด้านหนึ่งของศาลาวัด และอาหารพิเศษที่ชาวบ้านช่วยกันจัดเตรียมในคืนก่อนถึงวันงานอย่างข้าวต้มมัด ก็จะถูกถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์เพื่อการฉันคู่กับน้ำผึ้ง โดยการนำข้าวต้มมัดจิ้มกับน้ำผึ้งและฉัน ถือเป็นอาหารมือง่ายๆ เอาไว้ฉันเวลาเร่งรีบ หรือเวลาไปในสถานที่ที่ไม่ได้สะดวกต่อการปรุงอาหารเท่าไหร่นัก

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งประเพณีที่ระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า

ที่มาของประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง นี้ มีที่มาจากการฝูงช้างป่าและลิงป่าคอยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ณ ตอนที่เสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ โดยสัตว์พวกนี้ต่างนำอ้อยและน้ำผึ้งมาคอยถวายแก่พระพุทธเจ้า จนกระทั่งพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าอ้อยและน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่ระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดรัจฉาน กล่าวคือ การที่สัตว์เดรัจฉานแสวงหาอาหารมาถวายพระพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรม แปลว่าสัตว์ยังรู้ถึงคุณค่าอันสวยงามของพระพุทธศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจะต้องนำปัจจัยในรูปแบบต่างๆ มาถวายเพื่อจุดประสงค์คือการได้ฟังเทศน์ ฟังธรรมเช่นเดียวกัน

Casablanca Resort เกาะล้าน รีสอร์ทใหม่ล่าสุดบนเกาะล้าน


ที่พัก Pet Friendly ระยอง ที่พักที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยงคู่ใจ

Categories
ประเพณี

ประเพณีแห่ดอกไม้ ประเพณีอันงดงามของจังหวัดปราจีนบุรี

ปราจีนบุรีเป็นจังหวัดที่มีประเพณีอันงดงามมากมาย และยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ประเพณีแห่ดอกไม้ หนึ่งในประเพณีสำคัญของปราจีนบุรี ประเพณีแห่ดอกไม้สร้างความกลมเกลียว และเป็นประเพณีที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในพื้นที่ได้ดี เพราะประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ทุกคนในชุมชนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ต้องใช้คนหมู่มากในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้จุดประสงค์ที่วางไว้ออกมาตามที่คาดหวังไว้ 

ประเพณีแห่ดอกไม้

ประเพณีแห่ดอกไม้ ประเพณีสำคัญในช่วงเข้าพรรษาและออกพรรษา

ประเพณีอันงดงามและมีความสำคัญต่อจังหวัดปราจีนบุรีอย่างประเพณีแห่ดอกไม้ นี้ จัดขึ้นทุกปี วันที่จัดคือก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน และในวันออกพรรษาของทุกปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแระเพณีนี้เป็นประเพณีที่ไม่ค่อยนิยมจัดกันมากนัก ที่ๆ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีคือ วัดแจ้งเมืองเก่า อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ประเพณีแห่ดอกไม้จัดใหญ่ในวันออกพรรษา แม้ว่างานใหญ่ของจังหวัดนี้จะจัดขึ้น 2 วันใน 1 ปี แต่ในวันออกพรรษา ลักษณะของการจัดงานจะมีความจริงจังและอลังการกว่ามาก จะมีประชาชนหลั่งไหลกันเข้ามาร่วมงานประเพณีนี้กันอย่างคับคั่ง ชาวบ้านในพื้นที่มีหน้าที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดงาน

ประเพณีแห่ดอกไม้

โดยประเพณีแห่ดอกไม้ เริ่มขึ้นที่วัด โดยพระสงฆ์จะเป็นเหมือนหัวเรือ เป็นผู้นำในประเพณีนี้ รวมถึงมีชาวบ้านมาชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงกัน จากนั้นก็จะจัดขบวนแห่ไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแห่ไปยังไร่นา ปลายนา แห่ไปยังป่า ป่าช้า เมื่อขบวนแห่ไปถึงป่าแล้ว ก็จะทำพิธีทางพระพุทธศาสนา คือการรับศีลจากพระสงฆ์ผู้ที่เป็นประธานของงานประเพณีนี้ หลังจากการรับศีลชาวบ้านที่รวมตัวกันแห่ขบวนก็จะแยกย้ายกันเข้าป่าเพื่อไปหาดอกไม้ตามความต้องการของแต่ละคนในป่านั้นๆ ในขณะที่ทำการหาดอกไม้ก็จะร่วมกันร้องรำทำเพลงเป็นทำนองเพลงพื้นบ้านกันอย่างสนุกสนาน หรือในบางครั้ง บางพื้นที่ก็จะส่งเสียงไชโยโห่หิ้วแทนการร้องเพลง บางครั้งฝ่ายหนุ่มๆ ก็จะหาบทเพลงที่ออกแนวเกี้ยวพาราสีสาวๆ สร้างสีสันและความสนุกและครึกครื้น ทำให้บรรยากาศของประเพณีดูไม่เป็นทางการจนเกินไป เป็นประเพณีแบบบ้านๆ มีความเรียบง่าย ซึ่งการร้องเพลงและส่งเสียงนี้จะมีความดังกึกก้องไปทั่วทั้งผืนป่าที่พากันไปหาดอกไม้ ทำให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริง ไม่เงียบเหงาแม้อยู่ในป่า หลังจากเดินหาดอกไม้กันตามความต้องการแล้ว ชาวบ้านก็จะกลับไปยังที่ประชุมรับศีลอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อรับพรจากพระสงฆ์ประธานของประเพณีนี้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากรับพรจากพระสงฆ์เสร็จเรียบร้อยก็จะพากันร้องเพลง ไชโยโห่ร้อง เพื่อให้เกิดสีสันความสนุกสนานขึ้นอีกครั้ง ขั้นตอนถัดไปคือการตั้งขบวนแห่เพื่อนำดอกไม้ที่พากันไปเก็บในป่ากลับไปไว้ยังวัดที่เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีนี้ ซึ่งจุดประสงค์ของการนำดอกไม้ที่หามาได้กลับไปยังวัดมี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนหนึ่งคือการนำดอกไม้เพื่อไปบูชาพระรัตนตรัย เพื่อเป็นศิริมงคลต่อชีวิต อีกส่วนหนึ่งคือเพื่อนำดอกไม้ไปปักประดับพระเจดีย์ทรายของแต่ละคน ซึ่งประเพณีก่อพระเจดีย์จะจัดขึ้นต่อเนื่องจากประเพณีแห่ดอกไม้นี้เลย ในตอนกลางคืนของวันออกพรรษา โดยจะจัดขึ้น ณ วัดที่มีการแห่ขบวนในตอนต้น ซึ่งกลางคืนไม่มีเพียงแต่การก่อเจดีย์ทรายเท่านั้น แต่มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันออกพรรษาอย่างใหญ่โต มีงานมหรสพสมโภช มีการเฉลิมฉลองพระเจดีย์ทราย ชาวบ้านก็จะร่วมด้วยช่วยกันเพื่อก่อเจดีย์ทรายของตัวเองให้สวยงาม ไปจนถึงการละเล่นพื้นบ้านอันเก่าแก่มากมาย โดยงานในกลางคืนจะมีผู้คนคับคั่งกว่าในตอนเช้า ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาชมความงามของเจดีย์ทราย และเข้ามาดูมหรสพสมโภชกันอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ต่างพากันมาเล่นการละเล่นพื้นบ้านกันอย่างสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะและสีสันให้กับงานประเพณีแห่ดอกไม้ได้ดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วย ประเพณีแห่ดอกไม้จัดขึ้นปีละ 2 ครั้งเท่านั้น เป็นประเพณีที่สร้างความรื่นเริง เป็นเหมือนสีสันและเอกลักษณ์ในวันออกพรรษาที่ไม่เหมือนพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งจัดขึ้นอย่างใหญ่โตและจัดขึ้นแค่ที่เดียวในประเทศไทย ทำให้ได้รับความสนใจจากชาวบ้านและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก

ประเพณีแห่ดอกไม้ประเพณีอันงดงามที่กำลังจะสูญหาย

เนื่องด้วยจังหวัดปราจีนบุรีมีประเพณีมากมาย และประเพณีแห่ดอกไม้ จัดขึ้นเพียงที่เดียว ไม่ได้จัดกันอย่างแพร่หลายเหมือนประเพณีอื่นๆ แม้ว่าจะได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับการอนุรักษ์ส่งเสริมอย่างแพร่หลายเท่าไหร่นัก จึงทำให้ประเพณีแห่ดอกไม้ กำลังจะสูญหาย ถือเป็นประเพณีสุดงดงาม มีความเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่ไม่ซ้ำกับพื้นที่อื่นๆ มีแห่งเดียวในประเทศที่คนในพื้นที่ควรช่วยกันอนุรักษ์ เพราะประเพณีนี้สร้างความสามัคคี ความกลมเกลียวกันในสังคม และสร้างสีสันความบันเทิงในวันออกพรรษาได้เป็นอย่างดี หากไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนประเพณีนี้สูญหายไปก็จะทำให้สีสัน ความสนุกสนานและเป็นเอกลักษณ์ของวันออกพรรษาในจังหวัดปราจีนบุรีสูญหายไปด้วย 

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ของชาวฉะเชิงเทรา

10 อันดับ ยางรถยนต์ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก ประจำปี 2566 ทนทาน กับทุกสภาพถนน และยึดเกาะถนนได้ดี

Categories
ประเพณี

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ของชาวฉะเชิงเทรา

ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีประเพณีอันดีงามอยู่มากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย หนึ่งในประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่งดงามของคนฉะเชิงเทรา ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายเป็นประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา เป็นวันที่รวบรวมการจัดแสดงนิทรรศการทางการเกษตร การแข่งขันไถนา การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ถือเป็นวันที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนาแบบฉะเชิงเทราให้คนผู้คนได้รู้ ถือเป็นการสืบสานและเผยแพร่วัฒธรรมไปในตัวด้วย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ประเพณีสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาวนา

จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา เป็นที่ราบลูกฟูกและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ด้วยภูมิประเทศดังกล่าวทำให้อาชีพหลักของคนฉะเชิงเทราคืออาชีพทำการเกษตร โดยผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของฉะเชิงเทราคือ ข้าว โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 3 แสนไร่ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด จึงเป็นที่มาของประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย ประเพณีที่รำลึกถึงโดยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเดือนพฤษภาคม ช่วงวันพืชมงคล โดยในทุกปีชาวนาตำบลเทพราช เกษตรอำเภอบ้านโพธิ์และเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกันจัดประเพณีอันงดงามนี้ขึ้น ในวันงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา  มีทั้งการแข่งขันไถนาที่ท้องนา การแสดงนิทรรศการการเกษตรเพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้ที่สนใจ มีการร่วมประชุมสภาชาวนา รวมถึงการทำบุญกลางทุ่งนา และในตอนกลางคืนจะมีการแสดงโชว์ต่างๆ ขึ้น ทั้งการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ตำบลเทพราชมีด้วยกัน 6 หมู่บ้าน โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในพื้นที่ท้องนาของแต่ละหมู่บ้าน และระยะหลังงานประเพณีบุญกลางทุ่งได้มีการเพิ่มกิจกรรมทางศาสนาพุทธขึ้นมาอีกหนึ่งกิจกรรมคือการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม ถือศีลในงานประเพณีอีกด้วย ก่อนหน้านี้กิจกรรมส่วนใหญ่ในวันงานจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกร ต่อมาคณะกรรมการจัดงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของควาย เพราะควายเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าแก่ชาวนา เกษตรกร และมีความสำคัญต่อประเทศไทย จึงได้เพิ่มกิจกรรมในวันงานประเพณีขึ้นมา คือการไถ่ชีวิตควาย จากจำนวนน้อยๆ 1 ตัว 2 ตัว ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี และในบางปีสามารถไถ่ชีวิตควายได้ถึง 8 ตัวด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะมาก ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายนั้นสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ของชาวนา ให้ได้รำลึกถึงอดีต สืบสานและถ่ายทอดมรดกให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืบสานวัฒนธรรม ถือเป็นประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมและสืบทอดประสบการณ์ รวมถึงวัฒนธรรมการทำนาให้ชาวนารุ่นหลังได้ปฏิบัติสืบต่อกันไปในแต่ละรุ่นจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย

โดยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย จัดขึ้นรวมทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน ในวันแรกเกษตรกรและชาวนาจะนำพันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกมาเข้าร่วมพิธี จากนั้นนำพันธุ์ข้าวที่ได้จากการเข้าร่วมพิธีไปไถหว่านในนาของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับผืนนา ให้ได้ปลูกข้าวได้อย่างเรียบง่าย ไม่มีอุปสรรค ได้ข้าวออกเมล็ดสวย เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อให้จังหวัดต่อไป วันที่ 2 เกษตรกรและชาวนาจะร่วมกันทำบุญตักบาตร มีการไถ่ชีวิตควายซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการทำนาจากโรงฆ่าสัตว์ และในวันที่ 3 จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ต่อด้วยพิธีไถ่ชีวิตควายและมอบควายแก่เกษตรกรเพื่อการทำนา นำไปเลี้ยงและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยชาวนาที่ได้ควายจากการไถ่ชีวิตไปนั้นจะมีข้อสัญญาว่าหากได้ไปแล้ว ห้ามนำไปฆ่า ห้ามขาย และห้ามแลกควายกับคนอื่นเป็นอันขาด หากคิดว่าเลี้ยงไม่ได้หรือปฏิบัติตามข้อสัญญาไม่ได้ต้องนำมาคืนกับคณะกรรมการจัดงาน โดยในตอนเย็นทุกวันของการจัดงาน จะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ตลอดทั้งการจัดการ 3 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางเกษตรอื่นๆ ด้วย เช่น การตรวจสภาพดินจากเกษตรอำเภอบ้านโพธิ์ การนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาวางขาย มีบริการอบนวดสมุนไพรของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย

ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายเป็นประเพณีอันงดงาม เป็นที่สนใจของผู้คน

ด้วยประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควาย มีเฉพาะที่ฉะเชิงเทราเท่านั้น ทำให้ประเพณีอันดีงามนี้เป็นที่สนใจของผู้คน ในวันที่จัดพิธีขึ้นจะมีชาวบ้านในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาร่วมงานมากมาย ประเพณีวันเกษตรกรทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตควายประเพณีที่รวบรวมวัฒนธรรมชาวนา มีการจัดแสดงต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำนา มีบูธขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นประเพณีที่ส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามเกี่ยวกับชาวนา และการทำนาให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงคุณค่า ไม่มองข้ามสิ่งที่บรรพบุรุษตั้งใจจะสานต่อเพื่อเป็นมรดกทางวัฒรธรรม ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามนี้ต่อไป

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !

Categories
ประเพณี

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

การสืบทอดงาน ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ของชาวลาวเวียงที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว มาอาศัยในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีมากว่าสองร้อยปีแล้ว ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีในฤดูก็บเกี่ยวข้าว ว่ากันว่าในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) พอถึงเดือนสาม ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านก็จะพร้อมใจไปกันไปทำบุญ ด้วยการนำข้าวใหม่ มีกลิ่นหอม ไปทำข้าวหลามเผาให้สุกหอม ในกระบอกไม้ไผ่สีสุก สมัยนั้นชาวบ้านนำข้าวหลามไปถวายพระที่วัดหนองบัวและวัดหนองแหน พร้อมกับถวายขนมจีนน้ำยาป่าด้วย

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ความศรัทธาในพุทธศาสนา

การมาเป็น ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม มีความสืบเนื่องมาจากความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวลาวเวียง ที่เขาดงยาง วัดสุวรรณคีรีในปัจจุบัน บนยอดเขามีรอยพระพุทธบาท ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเดินเท้าเพื่อขึ้นไปสักการะปิดทอง ซึ่งการเดินทางต้องเดินเท้าผ่านป่าระยะทาง 5-6 กิโลเมตร ชาวบ้านจึงได้ทำการเผาข้าวหลามกันในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 เพื่อนำไปถวายพระและเป็นเสบียงสำหรับการเดินทางไปทำบุญในเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา การเดินเท้าในระยะทาง 5-6 กิโลเมตร เพื่อไปทำบุญ ได้แสดงให้เห็นว่า ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา 

ปัจจุบัน ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามจัดขึ้น 2 แห่งในวันเดียวกัน คือที่วัดสุวรรณคีรี (วัดเขาดงยาง) อำเภอพนมสารคาม และที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว การจัดในอีกชุมชนนั้นมีความน่าสนใจ จากการยอมรับประเพณีของอีกชุมชนหนึ่ง เกิดมาจากว่าชาวลาวเวียงได้ใช้เส้นทางอำเภอแปลงยาวไปยังเขาดงยาง แล้วต้องผ่านชุมชนหัวสำโรง ซึ่งเป็นบ้านเรือนของชาวไทยเชื้อสายเขมร ต่อมาบุญข้าวหลามจึงเป็นประเพณีของชุมชนหัวสำโรงด้วย โดยการจัดงานใน 2 ชุมชนมีรูปแบบแตกต่างกัน งานประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามของอำเภอพนมสารคาม จัดขึ้นที่วัดสุวรรณคีรี (เขาดงยาง) ลักษณะเป็นงานวัด มีการออกร้านที่มีร้านค้าจำนวนมากนำสินค้ามาขาย หนึ่งในสินค้าเด่นคือข้าวหลาม มีการจัดเตรียมสถานที่บริเวณทางขึ้นเขาดงยางให้คนมาไหว้พระทำบุญบริจาค ถวายสังฆทาน มีการตกแต่งทำกระเช้าลอยฟ้าขนาดใหญ่ สามารถชักรอกขึ้นไปยังซุ้มประตูตรงบันไดทางขึ้นเขาที่มีรูปปั้นราหูขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า  ทางวัดเรียกกระเช้านี้ว่า ผ้าป่า ลอยฟ้า เว่ากันว่าสมัยก่อนบนเขาดงยางมีเพียงวิหารหลังเดียวเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูป เวลานั้นยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ทางขึ้นเขาเป็นดินยังไม่มีบันได ต่อมาได้เกิดไฟไหม้วิหารเดิม จึงได้ยกเอารอยพระพุทธบาทอันเดิมกับพระพุทธรูปที่คงเหลือลงมาไว้ข้างล่าง ในเวลาต่อๆมาจึงได้มีสิ่งก่อสร้างใหม่  กลายเป็นวัดสุวรรณคีรี ที่บนเขามีวิหารพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีวิหารพระพุทธชินราช มีการสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ รวมถึงมีรูปเคารพและรูปปั้นอื่นๆ

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น จากเดิมการเผาข้าวหลามคือเสบียงในการเดินเท้าของชาวบ้านที่อยู่ไกลออกไป  พอมีถนนทำให้ไม่ต้องเดินมา  จึงไม่ได้เผาข้าวหลามกันเหมือนเดิม เมื่อก่อนจากที่ต้องเดินเท้ามาวัด ต่อมาก็ได้ใช้จักรยาน มอเตอร์ไซค์ ปัจจุบันใช้รถยนต์  อีกสิ่งหนึ่งของการจัดงานที่เปลี่ยนไปคือ เมื่อก่อนเคยมีการแสดงลิเก ฉายภาพยนตร์ รำวง เนื่องจากใช้งบเยอะ กรรมการวัดต้องช่วยกันออกเงิน ประกอบกับท่านเจ้าอาวาสท่านเห็นว่า การจ้างการแสดงต้องใช้เงินทำบุญจ่ายไปด้วย ถือเป็นการสิ้นเปลืองจึงได้งดไป ส่วนการจัดงานที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง ริเริ่มการสืบสานงานประเพณีโดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านหัวสำโรง ชาวบ้านในชุมชนหัวสำโรงในปัจจุบันก็ไม่เผาข้าวหลามมาถวายพระ จากเดิมช่วงที่เผาข้าวหลามตามบ้าน จะมองเห็นควันโขมงเต็มไปหมด จุดเปลี่ยนสำคัญคือ การเกิดนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์เมื่อประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมา คนหนุ่มสาวเข้าไปทำงานโรงงาน ให้คนเฒ่าคนแก่เลี้ยงหลานอยู่บ้าน มองกันว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่กระทบกับวิถีชีวิต  ส่งผลต่อทัศนคติความคิด ความเชื่อเรื่องผิดผี การเลี้ยงผีหายไป ทัศนคติของคู่รักเปลี่ยนไป ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวอย่างซับซ้อน การสืบสานงานประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามในปัจจุบัน จึงเริ่มที่ อ.แปลงยาวจะเป็นงานใหญ่ มีขบวนแห่รถตกแต่งข้าวหลามยักษ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความอลังการกับขบวนผู้เข้าร่วม ทั้งขบวนม้า รถม้า จักรยานเสือภูเขา มอเตอร์ไซด์โบราณและชอปเปอร์ ขบวนแห่ตั้งแถวกันที่โรงเรียนวัดหัวสำโรง รอช่วงบ่ายหลังจากจบกิจกรรมในงานช่วงเช้า ขบวนจะเคลื่อนไปตามถนน ไปยังเขาดงยาง วัดสุวรรณคีรี โดยขบวนแห่ที่จะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองจะไปพร้อมกับผ้าป่าที่ไปถวายวัด สิ่งที่โดดเด่นของงานคือ การจัดให้มีการเผาข้าวหลาม โดยให้ชุมชนต่างๆเข้าร่วม นำข้าวหลามมาเผาในเตาเดียวกัน วางเรียงกันเป็นแนวยาว ตามการประชาสัมพันธ์ว่า เป็นเตาเผาข้าวหลามที่ยาวที่สุดในโลก วิธีการทำข้าวหลามเริ่มจากการหาไม้ไผ่มาทำเป็นกระบอกข้าวหลาม ต้องเลือกลำไม้ไผ่สีสุกให้พอดีไม่อ่อนไม่แก่ ไม่มีตามด  ซึ่งจะทำให้ไม่มีเยื่อไผ่  ส่งผลให้กลิ่นไม่ดีและข้าวจะติดกับกระบอกไม้ไผ่  จากนั้นนำมาเลื่อยเป็นท่อนๆด้านที่เป็นข้อต่อจะเป็นก้นกระบอก จากนั้นนำข้าวเหนียวผสมกับกะทิใส่ลงกระบอกไป แล้วเผาให้สุก

ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ประเพณีที่ชาวบ้านรอคอย

แม้ว่าประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง มากแค่ไหน แต่บรรยากาศภายในงานในทุกๆปีก็ยังคงมีความคึกคัก เนื่องจากชาวบ้านตั้งหน้าตั้งตารอคอยประเพณีอันเก่าแก่นี้ ที่จัดขึ้นเพียวปีละ 1 ครั้ง ถือเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สร้างความเพลิดเพลินและความสมัครสมานสามัคคีให้แก่คนชุมชนเป็นอย่างมาก ควรแค่แก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง

อ่านบทความอื่น ๆ >> กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทยสืบทอดจากบรรพบุรุษ

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !

Categories
ประเพณี

กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทยสืบทอดจากบรรพบุรุษ

ประเพณีส่วนใหญ่ หรือกิจกรรมที่ได้สืบต่อกันมานั้น ล้วนแต่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นชาติ และเป็นมรดกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญและมีคุณค่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้ เพราะมันจะแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชนชั้นและเผ่าพันธุ์ท้องถิ่น กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทย แสดงถึงความภาคภูมิใจและการเป็นเกียรติของคนในท้องที่ และยังแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชน ความสามัคคีความมั่นคงของชุมชนอีกด้วย โดยประเพณีของภาคตะวันออกนั้นมีความหลากหลายสัญชาติ เนื่องจากมีกลุ่มคนโยกย้ายรกรากถิ่นฐานจากประเทศอื่นมาในประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวลาว ชาวจีน รวมไปถึงชาวเขมร

กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทย มรดกของคนเฒ่าคนแก่

กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ อันดีงาม จังหวัดทางภาคตะวันออกของไทยมีความหลากหลายอย่าง ทั้งท้องถิ่น ภาษา รวมไปถึงอาชีพในการดำรงอยู่ของบุคคลทั่วไป ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอยู่เสมอ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีการยอมรับเอาสิ่งที่เผยแพร่จากสังคมอื่นๆ นำมาใช้ประกอบร่วมด้วยในชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ช่วยหล่อหลอมให้คนในชาติมีความรักกัน แล้วยังเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงาม ที่สามารถนำเป็นแบบอย่างได้ วัฒนธรรมทุกอย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่มีที่มาจากศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับฟ้าฝน ผีสาง รวมไปถึงความเชื่อของคนในท้องที่ควรที่จะเผยแพร่และสืบทอดต่อไปให้เป็นที่นิยม กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น สามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจได้อีกด้วย 

  • งานวันสุนทรภู่ จังหวัดระยองเป็นงานที่เชิดชูและเผยแพร่เกียรติคุณของกวีไทยอันโด่งดัง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นวัฒนธรรมแห่งยูเนสโกที่ได้ยกย่อง ว่าเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย โดยงานวันสุนทรภู่นั้นจะจัดทำขึ้นประมาณวันที่ 26 – 27 มิถุนายนของทุกปี บริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีการจัดทำนิทรรศการกิจกรรมต่างๆ มากมาย และยังมีการจัดทำหนังสือบทกวีสดุดีสุนทรภู่ เพื่อเป็นการเผยแพร่ และช่วยส่งเสริมการกวีของจังหวัดระยองให้ดังไกลไปทั่วโลก และยังเป็น กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระยองได้อีกหนึ่งอย่างด้วย
กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทย
  • งานวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการจัดทำงานกาชาดจังหวัดระยองประจำปี ซึ่งเป็นงานที่จะสรรเสริญถึงคุณงามความดี เชิดชูเกียรติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่มีบุญคุณใหญ่หลวงต่อแผ่นดินไทย และยังเป็นการร่วมประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ และถวายราชสักการะอีกด้วย ภายในงานกาชาดจะมีการจัดทำคอนเสิร์ตดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมไปถึงมีการค้าขาย ซื้อสินค้าชุมชนชั้นนำ โอทอป นับว่าเป็นงานประจำท้องถิ่นที่มีความโด่งดัง และส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมทั้งหารายได้คืนความสุขให้กับประชาชนในจังหวัดได้ด้วย
  • ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ ภาคตะวันออกของไทย ซึ่งเป็นการถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสงฆ์ และสามเณรที่วัดพิมพาวาส โดยประเพณีเกิดจากความเชื่อมั่นในสมัยพุทธกาลว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ป่าเลไลย มีช้างและมีลิงอุปัฏฐานมีการนำน้ำอ้อย และน้ำผึ้งมาขอถวายมากมาย ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงมีอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรนั้น สามารถรับประทานน้ำผึ้งและน้ำอ้อย เพื่อใช้เป็นยาได้นั่นเอง ตามความเชื่อมาแต่โบราณชาวบ้านจึงได้มีการจัดทำประเพณีถวายน้ำผึ้งอยู่เป็นประจำ พุทธศาสนิกชนจะนำเอาน้ำผึ้ง ข้าวต้มมัดถวาย และเมื่อตักบาตรเรียบร้อยก็จะมีการฟังธรรมะเทศนา
  • ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดสระแก้ว โดยประเพณีนี้จัดทำขึ้นช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น คนลาวนั้นยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งในบางท้องถิ่นจะเรียกประเพณีนี้ว่า บุญคูณลาน, บุญกองข้าว โดยการทำบายศรีสู่ขวัญข้าว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประเพณีที่ทำให้ผลผลิตเข้าอุดมสมบูรณ์ตลอดการทำนา นับว่าเป็นวัฒนธรรมของชาวเกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนานั่นเอง ซึ่งลักษณะของประเพณีจะมีการนำข้าวที่นวดไว้ไปเก็บในยุ้งฉ้าง แล้วจะมีการทำบุญนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้เกิดความเป็นมงคล และได้อัญเชิญรูปของพระแม่โพสพมาไว้กลางพิธี จากนั้นจะมีการจัดทำพิธีสงฆ์ และพิธีบายศรีด้วยหมอทำขวัญ และมีการละเล่นพื้นบ้าน รวมถึงการรับประทานอาหารด้วยกัน เพื่อเป็นการบูชาพระแม่โพสพ และเพื่อเป็นสิริมงคลต่อชาวนาผู้ปลูกข้าวนั้นเอง 

การรักษาขนบธรรมเนียมกิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ภาคตะวันออกของไทย ของวัฒนธรรมจังหวัดเอาไว้ จะช่วยสืบต่ออารยธรรมอันดีงาม และยังมีความสำคัญมากมายเป็น ทั้งความเป็นสิริมงคล เพราะประเพณีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาความเชื่อ ที่เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลในชุมชน และยังแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ด้วย แสดงถึงการมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ มีความอ่อนน้อม และยังเป็นสิ่งที่ทำให้คนในท้องที่นั้นอยู่ในกรอบที่ดีงาม นอกจากนี้บาง กิจกรรมแสดงเอกลักษณ์ อันดีงาม ประเพณีจะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในจังหวัด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชาวบ้านโดยรอบมีรายได้ มีการค้าขายสินค้า และยังเป็นสถานที่แลนด์มาร์คท่องเที่ยวอีกหนึ่งอย่างอีกด้วย

อ่านบทความอื่น ๆ >> พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ประเพณีอันเก่าแก่

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !

Categories
ประเพณี

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ประเพณีอันเก่าแก่

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง เป็นประเพณีที่ได้ทำสืบเนื่องมาช้านาน พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ประเพณีอันเก่าแก่ นับเป็นเวลากว่า 249 ปี สืบเนื่องจากที่ได้ย้อนอดีตเกี่ยวกับการอัญเชิญหลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ในครั้งอดีตกาลที่ชาวบ้านพบเห็นองค์หลวงพ่อพุทธโสธรลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง จึงได้ช่วยกันใช้เชือกผูกเพื่อดึงองค์หลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง แต่ไม่สามารถดึงขึ้นได้ กระทั่งไปสอบถามผู้ที่ทราบและจัดทำพิธีบวงสรวงตามประเพณี และได้นำสายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ จึงสามารถอัญเชิญองค์หลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากน้ำได้สำเร็จ ก่อนอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งการจำลองเหตุการณ์ดังกล่าว พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึงประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพุทธโสธร ยเตือนความทรงจำในอดีต ตลอดจนเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ให้เด็กเยาวชนรุ่นหลัง ได้รับทราบถึงประเพณี ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพุทธโสธร เพื่อจดจำไว้เล่าขานสืบต่อไป

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ความเชื่อความศรัทธาอันแรงกล้า 

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง เป็นการจัดงานเพื่อสมโภชวันคล้ายวันที่อาราธนาหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงและอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร การจัดงานประเพณีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง มีมูลเหตุมาจากตำนานหลวงพ่อโสธรที่กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ แปดริ้ว โดยในตำนาน กล่าวว่า หลวงพ่อโสธร ได้แสดงอภินิหารลอยน้ำมาขึ้นที่หน้าวัดหงส์หรือวัดโสธรวรารามวรวิหารในปัจจุบัน ชาวบ้านได้พยายามฉุดขึ้นฝั่งหลายครั้งหลายหนแต่ไม่สามารถอันเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงได้จนกระทั่งมีอาจารย์ผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ผู้หนึ่งได้ตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง นำสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์พระพุทธรูป และชักชวนชาวบ้านทั้งชาวไทยและจีนให้ร่วมกันจับสายสิญจน์ ชักองค์พระขึ้นมา จึงสามารถอาราธนาขึ้นฝั่งได้โดยง่าย โดยใช้คนไม่กี่คน และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วิหารวัดหงส์ หรือวัดโสธรวรารามวรวิหารในปัจจุบัน ได้เป็นผลสำเร็จตามความประสงค์ เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะอยู่ราวปี พ.ศ. 2313 อันเป็นสมัยต้นกรุงธนบุรี พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงเพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึงประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพุทธโสธร ย้อนอดีตการอันเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ – วันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันที่อัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นมาจากแม่น้ำบางปะกงแล้วนำไปประดิษฐานในพระอุโบสถ แต่เดิมการจัดงานมีความเรียบง่ายโดยวัดโสธรวรารามวรวิหารจะอัญเชิญองค์หลวงพ่อโสธรแห่ทางบกไปตามหมู่บ้านใกล้ๆ วัดเพื่อให้ประชาชนบริเวณรอบวัดได้สักการะบูชา และมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ในวัด และในวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีตักบาตร เวียนเทียน และสรงน้ำหลวงพ่อ มีมหรสพสมโภชเป็นประจำตลอด ๓ คืน ได้แก่ ละคร ลิเก และงิ้ว ต่อมา จังหวัดฉะเชิงเทราได้ร่วมกับวัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยพระธรรมมังคลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารได้ร่วมกันจัดงานประเพณีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงอย่างสร้างสรรค์ โดยจัดงานย้อนอดีตการอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง มีการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีส่วนร่วมของหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้นอย่างกว้างขวาง

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงมีแนวทางที่เรียบง่าย โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 

  • มีพิธีสงฆ์  พิธีบวงสรวงอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง มีการจัดขบวนแห่อัญเชิญหลวงพ่อโสธรไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยมีชุมชนจากอำเภอต่างๆ ทุกอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมจัดกิจกรรมรื่นเริงเฉลิมฉลองรับองค์หลวงพ่อโสธรตลอดแนวขบวนแห่ เมื่อองค์หลวงพ่อโสธรเข้าสู่พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน ๑๕๐ รูป ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์สวด “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” 
  • กิจกรรมรำถวายหลวงพ่อโสธร โดยในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 5 หลังพิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงเข้าประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารและพระสงฆ์ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เรียบร้อยแล้ว การแสดงของสตรีชาวจังหวัดฉะเชิงเทราทั่วทั้งจังหวัด กว่า 1,500 คน แต่งกายชุดไทยย้อนยุคร่วมรำบูชาถวายหลวงพ่อโสธรรอบพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารอย่างยิ่งใหญ่ สวยงาม ตระการตา โดยมีการจัดทำบทเพลงและท่ารำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประกอบการรำถวายหลวงพ่อโสธร  
  •  กิจกรรมมหรสพสมโภชในงานประเพณีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกับวัดโสธรวรารามวรวิหารจัดงานมหรสพสมโภชพิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงโดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การจัดแสดงลิเก ละครชาตรี การแสดงงิ้ว บริเวณโดยรอบพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นเวลา 3 คืน และมีการประดับไฟ แสง สีอาบพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารอย่างสวยงาม ตระการตา นอกจากนี้ ในระหว่างวันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ ทางวัดโสธรวรารามวรวิหารเปิดพระอุโบสถให้ประชาชนเข้ามาสักการะขอพรในระหว่างวันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นกรณีพิเศษ 

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธร ขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์วัฒนธรรม

พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธร ขึ้นจากแม่น้ำบางปะกง มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมพิธีทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้ยิ่งใหญ่ พิธีอัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากแม่น้ำบางปะกงประเพณีอันเก่าแก่ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาและมาเยี่ยมชมงานที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางและมีความสุข ตลอดจน เพื่อให้เด็ก เยาวชน นักเรียน และนักศึกษา เห็นคุณค่าของครอบครัว ชุมชน สังคมและวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดฉะเชิงเทรา

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้ว

สนับสนุนโดย : https://sa-game.bet/ SA-Game คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า Casino online พร้อมเปิดบริการพนันออนไลน์เต็มรูปแบบครบวงจรที่สุด ลองเลย !

Categories
ประเพณี

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้ว

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง

สระแก้วถือเป็นอีกหนึ่งเมืองเก่าแก่ของไทย มีประเพณีโบราณโบราณที่สำคัญมากมาย ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง หนึ่งในประเพณีที่คนสระแก้วให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของสระแก้ว เนื่องจากเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่ามาอย่างยาวนาน และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกให้ความเคารพนับถือ ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือช่วงวันขึ้นปีใหม่ของไทย เพื่อให้ประชาชนผู้นับถือระลึกถึงความดีและความกล้าหาญของเจ้าพ่อปรง

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีที่ระลึกถึงความกล้าหาญของเจ้าพ่อปรง

ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ศาลเจ้าพ่อพระปรงถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองของสระแก้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำบ้านหนองผูกเต่ามาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณกาล หลวงเดชาศิริ หรือ เจ้าพ่อพระปรง เป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตจังหวัดสระแก้ว เป็นที่เคารพของคนทั่วไปด้วยเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกให้ความเคารพนับถือ โดยมีศาลเจ้าพ่อพระปรงตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร ริมแควพระปรง ซึ่งเป็นลำน้ำที่กั้นเขตแดนของจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งศาลเจ้าพ่อพระปรงดังกล่าวนี้จะมีประชาชนหลั่งไหลกันเข้ามากราบไหว้สักการะไม่เว้นในแต่ละวัน โดยมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่า หากใครที่ไม่ได้ตั้งใจมาสักการะ เพียงแต่ขับรถผ่านเท่านั้น ก็จะต้องบีบแตรเพื่อเป็นการคารวะ หากไม่ปฏิบัติตามคำกล่าวก็จะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในชีวิต อาจจะประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้ว ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงประเพณีสำคัญของสระแก้ว เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญ โดย ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยประเพณีสำคัญของจังหวัดสระแก้วนี้จัดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยบรรยากาศงานจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ตอนเช้าของวันที่ 15 เมษายน  เริ่มจากการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อพระปรงลงประทับแท่นต่ำเพื่อให้เหมาะแก่การทำพิธีสรงน้ำและการปิดทองพระ หลังจากนั้นวันทีท 15-18 เมษายน ช่วงค่ำจะมีมหรสพสมโภชทุกคืน และวันที่ 19 เมษายนจะตั้งขบวนแห่รูปหล่อองค์เจ้าพ่อพระปรงออกจากศาลเจ้าพ่อปรงที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อของจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรีอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไปตามถนนสุวรรณศร ในแต่ละปี ขบวนแห่จะมีรถยนต์มารอร่วมขบวนแต่เช้าและจะมาร่วมขบวนแห่ไม่ต่ำกว่า 100 คัน โดยขบวนแห่จะแห่เรื่อยๆ ผ่านชุมชนต่างๆ จนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จากนั้นในช่วงบ่ายจะทำการเคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางของเทศบาลเมืองสระแก้วเพื่อไปยังศาลากลางจังหวัดและตลาดท่าเกษม ระหว่างทางที่ขบวนแห่ก็จะมีประชาชนที่นับถือเจ้าพ่อพระปรงเข้ามาร่วมกันสรงน้ำกันถ้วนหน้า เพื่อเสริมสิริมงคลงให้กับชีวิต และปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และเพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ของจังหวัดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้วก็จะมีการแห่องค์เจ้าพ่อกลับตามเส้นทางเดิม และจะถึงที่ตั้งศาลเวลาประมาณ 19.00 น. โดยในวันงานจะมีผู้คนในภาคตะวันออกหลั่งไหลกันเข้ามาในจังหวัดสระแก้ว บ้างก็นำรถยนต์ส่วนตัวมาร่วมขบวนแห่ บ้างก็มาร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งจะได้ภาพบรรยากาศเหมือนงานไหลในจังหวัดอื่นๆไม่เพียงแค่นี้ ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงจัดร่วมกัดประเพณีสำคัญอื่นๆ กล่าวคือ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดสระแก้ว นอกจากจะมีพิธีแห่เจ้าพ่อปรงแล้ว ยังมีอีกหลากหลายพิธีที่ทำร่วมกัน เช่น พิธีบวงสรวง พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี 

ประเพณีเก่าแก่ที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในพื้นที่

ความสามัคคีของผู้คนหมู่มากเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าประเพณีแห่เจ้าพ่อปรง ประเพณีเก่าแก่ของสระแก้วที่สร้างความสามัคคีแก่คนในพื้นที่ เพราะเป็นประเพณีต้องใช้ความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานภายในจังหวัด ตั้งแต่ขบวนแห่ ที่ต้องใช้รถยนต์หลายคันในการบรรทุกสิ่งของจำเป็นต่างๆ ไปจนถึงการจัดระเบียบการจราจรในวันงาน การจัดทำแผนงานและการดำเนินกาต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความร่วมมือจากคนในพื้นที่ทั้งสิ้น แต่ทุกอย่างเกิดจากความสมัครใจที่ทุกคนในพื้นที่มีเป้าหมายและแรงศรัทธาเดียวกันคือ การระลึกและเคารพต่อเจ้าพ่อพระปรง จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ประเพณีแห่เจ้าพ่อปรงเป็นประเพณีสำคัญของสระแก้ว นอกจากจะสร้างความสมัครสมานสามัคคีแก่คนในพื้นที่แล้วยังเป็นการระลึกถึงผู้ที่มีพระคุณและมีอิทธิพลต่อจังหวัดสระแก้วอย่าง เจ้าพ่อพระปรง ที่มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว ไม่เกรงกลัวต่อศัตรูหรือภัยอันตรายใดๆ จนถึงปัจจุบันประเพณีอันงดงามนี้ก็ยังมีการจัดขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะชาวจังหวัดสระแก้วไม่ลืมเลือนประเพณีอันดีงามนี้ และยังถือปฏิบัติอยู่เรื่อยมา เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และไม่ให้ประเพณีนี้เลือนหายไปตามกาลเวลาอย่างประเพณีเก่าแก่อื่นๆ 

อ่านบทความอื่น ๆ >> กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมพื้นบ้าน

สนับสนุนโดย: https://ufaball.bet/ เว็บพนันออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย มั่นใจซื่อตรง เปิดบริการแล้วครบจบในที่เดียว

Categories
กิจกรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมพื้นบ้าน

วัฒนธรรมพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน เพราะรูปแบบการดำรงชีวิต รวมไปถึงความเชื่อศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงอาชีพต่างๆ ก็จะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นเอกลักษณ์แต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความหลากหลายสภาพแวดล้อม ก็มีส่วนที่จะเป็นเหตุผลต่อการจัดทำ กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม ของแต่ละพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้นมีถึง 7 จังหวัด ที่ได้จำแนกแตกไปตามความเชื่อระเบียบแบบแผนของการปฏิบัติของคนในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ ของในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของจังหวัด จะถูกยึดก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงได้มีการปฏิบัติต่อยอดกันมาเป็นเวลาที่นมนาน

 กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม ส่งเสริมค่านิยมของบุคคลในชุมชน

ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีภูมิอากาศและลักษณะของพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ลุ่มแม่น้ำ ได้รับใช้การสะสมประสานของวัฒนธรรมหลากหลายพื้นที่ทั้งวัฒนธรรมไทย เขมร ลาว รวมไปถึงวัฒนธรรมของ จีนซึ่งแน่นอนว่าเกิดมาจากการอพยพมาจากอดีตตั้งแต่ละสมัยรัชกาลต้นๆ ของรัตนโกสินทร์ แน่นอนว่าการมีวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม จะช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม
  • จังหวัดระยอง จะมีงานทอดผ้าป่ากลางน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีมากกว่าอายุ 100 ปี ชาวบ้านจะนำพุ่มผ้าป่า มาประดับที่กลางแม่น้ำประแสร์ จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าป่าตามพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ส่วนประชาชนที่ร่วมพิธีก็ต้องพายเรือเข้าไปร่วมพิธีกลางลำน้ำ ซึ่งประเพณีนั้นมาจากกิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก อิทธิพลจากศาสนาพุทธ
กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงาม
  • จังหวัดสระแก้ว จะมีงานบวงสรวงศาลหลักเมือง และมีพิธีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ จะเป็นการจัดงานขึ้นเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี นอกจากจะมีกิจกรรมประจำจังหวัดแล้ว ยังมีการจัดทำออกร้านอาหาร นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างนึงได้อีกด้วย ดึงดูดทั้งคนในจังหวัดรวมถึงคนต่างชาติ คนในประเทศมาร่วมสืบต่อ
  • จังหวัดตราดจะมีงานวันวีรกรรมทหารไทยในยุทธวิธีที่เกาะช้าง จะจัดทำขึ้นในช่วงของเดือนมกราคม บริเวณสถานยุทธนาวิธีที่เกาะช้าง ฝั่งแหลมงอบจังหวัดตราด เป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณของทหารเรือที่เสียชีวิตจากการสู้รบระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองทัพเรือฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และลอยมาลาสักการะดวงวิญญาณของทหารเรือที่เสียชีวิตไปด้วย ในการจัดทำงานวันวีรกรรมมีการจัดทำนิทรรศการ รวมไปถึงการออกบูธ จัดร้าน กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ดึงดูดนักท่องเที่ยว เรียกง่ายๆ ว่าเป็นงานประจำจังหวัดอีกหนึ่งอย่างเลยก็ว่าได้
  • ประเพณีวิ่งควาย ที่เป็นประเพณีนี่หนึ่งเดียวในโลก ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยากันเลยทีเดียว เป็นการจัดทำเพื่อทำขวัญควาย ถ้าปีไหนที่ไม่มีการวิ่งควาย ชาวบ้านเชื่อว่าจะเกิดโรคระบาดต่างๆ มากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อชาวนา และอาชีพเกษตรกรไทยนั่นเอง การจัดทำพิธีวิ่งควายชาวบ้านจะจัดขึ้นวันที่ 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ซึ่งจะเป็น 1 วันก่อนวันออกพรรษา ในการจัดทำประเพณีวิ่งควายนั้นจะมีการประกวดสุขภาพควาย พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมไปถึงการตกแต่งควายให้มีความสวยงาม และที่สำคัญยังมีการจัดทำจำหน่ายสินค้า O-TOP อาหารพื้นเมืองของจังหวัดชลบุรีไว้อีกด้วย นับว่าเป็นกิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด นำเอารายได้เข้าสู่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย
  • ประเพณีงานบุญกลางบ้าน ของอำเภอพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี ซึ่งแน่นอนว่าเป็น ประเพณีที่สืบทอดมาอย่างช้านานของชาวบ้านในอำเภอ ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวลาวพวน อพยพมาจากประเทศลาวในสมัยต้นของรัตนโกสินทร์ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารมาทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ ร่วมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร และดวงวิญญาณของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  และที่สำคัญเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน ให้มีฝนตกตามฤดูกาล รวมไปถึงการทำให้พืชพรรณ มีผลผลิตนั้นอาหารสมบูรณ์ รวมไปถึงมีการสะเดาะเคราะห์ เพราะได้มีการนำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปคนให้เท่ากับจำนวนคนในบ้าน พร้อมกับสัตว์เลี้ยง และนำข้าวปลาอาหารในกระทงเล็กๆ ไปไว้ในวันทำบุญ หลังจากที่พระสวดเสร็จนั้นก็นำไปกระทงและรูปปั้น ไปไว้ที่หัวไร่ปลายนา หรือจะเป็นทางสามแพร่ง กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก อิทธิพลจากศาสนาพุทธ ในกิจกรรมงานบุญกลางบ้านนั้นมีการละเล่นพื้นบ้าน รวมไปถึงการสาธิตทำเครื่องจักสานของอำเภอพนัสนิคมอีกด้วย นับว่าเป็นเทศกาลที่แสดงถึง ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมไปถึงการอนุรักษ์ความเชื่อของบรรพบุรุษ และมีการทำบุญเกิดขึ้นด้วย           

กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออก ประเพณีอันดีงามถือว่ามีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคมของชุมชน รวมไปถึงทัศนคติที่มีต่อ ศาสนา เอกลักษณ์และค่านิยมต่างๆ ซึ่งในอดีตแน่นอนว่าชาวบ้านมีความเชื่อถึงอำนาจของดินฟ้าอากาศ รวมไปถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย การจัดทำประเพณีต่างๆ จึงมีอิทธิพลมามากจากสิ่งเหล่านี้ และเมื่อมีการสืบต่อกันมามาอย่างยาวนาน คนในรุ่นหลังจึงยึดเป็นปฏิบัติและเป็นธรรมเนียม รวมไปถึงการเป็นระเบียบแบบแผนที่ทำต่อกันมายาวนาน เป็นพิมพ์เดียวกัน จนทำให้กลายเป็นประเพณีของแต่ละชุมชนที่อยู่อาศัย และนอกจากจะเป็นประเพณีที่มีประโยชน์ต่อความเชื่อแล้ว ยังส่งเสริมเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดด้วย กิจกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะสามารถเป็นแหล่งเศรษฐี ให้มีเงินสะพัดได้ในการจัดพิธีกรรมต่างๆ

อ่านบทความอื่น ๆ >> ประเพณีที่สวยงาม ของภาคตะวันออก เอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด

สนับสนุนโดย: https://ufaball.bet/ เว็บพนันออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย มั่นใจซื่อตรง เปิดบริการแล้วครบจบในที่เดียว